Learning doesn't converge III


การนำเสนอ Case study ครั้งที่ 1 ของนักศึกษากิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 21-30

1.  นักกิจกรรมบำบัดสามารถให้การฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีความบกพร่องด้านสติปัญญาโดยเน้นการทำกิจกรรมอย่างเป็นขั้นตอน และให้สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้


2.  การให้การฟื้นฟูผู้สูงอายุ ทางกิจกรรมบำบัดจำเป็นต้องคำนึงถึงการยอมรับตนเองก่อน เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในผู้สูงอายุก่อนการพัฒนาความสามารถในด้านอื่น ๆ ต่อไป


3.  ผู้ป่วยที่เอ็นบาดเจ็บหรือฉีกขาด จำเป็นต้องได้รีบการฟื้นฟู ที่จำเป็นที่สุด คือ ต้องฟื้นฟูการเคลื่อนไหวในท่าทางที่ผู้ป่วยต้องใช้ทำงานจริงด้วย


4.  เด็กที่มีสมาธิสั้น จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การปรับสิ่งแวดล้ม, การวางเงื่อนไงเพื่อให้เด็กหยุดนิ่งขณะทำกิจกรรม, การทำกิจกรรมกลุ่ม เพื่อฝึกการควบคุมตนเอง


5.  ผู้รับบริการที่ได้รับบาดเจ็บที่สมอง (Traumatic Brain Injury) ซึ่งอาจมีปัญหาในด้านความรู้สึกตัว นักกิจกรรมบำบัดควรจะคำนึงเป็นลำดับแรกก่อนการให้การฟื้นฟูผู้ป่วย


6.  Schizencephaly เป็นโรคที่เกิดขึ้นในเด็กที่พบได้น้อย เกิดจากสมองของเด็กเติบโตไม่สมบูรณ์ ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กในทุก ๆด้านล่าช้ากว่าวัย นักกิจกรรมบำบัดสามารถกระตุ้นพัฒนาการของเด็กได้โดยการกระตุ้นปฏิกิริยาการสะท้อนกลับที่ผลปกติ ให้เด็กสามารถพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่ใช้ในการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้น หลักการสำคัญ คือ ต้องมองถึง Sensorimotor integration ของเด็ก


7.  Group activity และ Group Dynamic มีความแตกต่างกัน ดังนี้ ...

         Group activity คือ กิจกรรมที่ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยสนใจในส่วนของผลงานที่ได้ออกมา แต่ไม่เน้นการปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่ม  

         Group Dynamic คือ กิจกรรมที่ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยจะให้ความสำคัญของกระบวนการกลุ่มทุกขั้นตอนตั้งแต่เปิดกลุ่มจนถึงสรุปความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่ม และปิดกลุ่ม อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการมีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน


8.  Sensory impairment หรือ Sensory loss เป็นอาการที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง นักกิจกรรมบำบัดจะให้การฟื้นฟูโดยใช้วิธี Compensate คือ วิธีการชดเชยความรู้สึกที่สูญเสียไป โดยใช้ร่างกายในส่วนที่รับความรู้สึกได้ปกติในการสัมผัส หรือ ใช้สายตามองก่อนการเปลี่ยนแปลงท่าทางขณะทำกิจกรรมเสมอ ๆ  หรือใช้เทคนิค Sensory Re-training หรือ Sensory Re-education ในผู้ป่วยที่อยู่ในระยะเฉียบพลัน ซึ่งเป็นการฝึกที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเรียนรู้การรับความรู้สึก ให้ความรู้สึกนั้น ๆ กลับมาเหมือนเดิมหรือใกล้เคียงมากที่สุด

 

 

หมายเลขบันทึก: 477490เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2012 01:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 02:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท