OPPP015 - ความเข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการให้รหัสโรค


ระยะนี้ผมเห็นมีการสอบถามเกี่ยว?กับการให้รหัสการวินิจฉัยโรคว่า? รหัสนี้ทำไมไม่ผ่าน รหัสนั้นทำไมไม่ผ่าน
คิดคม สเลลานนท์, 14 ธันวาคม 2554 เวลา 10:28:22 น. (จาก Webboard op.nhso.go.th/op) 
ระยะนี้ผมเห็นมีการสอบถามเกี่ยว?กับการให้รหัสการวินิจฉัยโรคว่า? รหัสนี้ทำไมไม่ผ่าน รหัสนั้นทำไมไม่ผ่าน ซึ่งคิดว่าอาจมีความเข้าใจไม่ถู?กต้องเกี่ยวกับการให้รหัสโรค ผมจึงขอสรุปเกี่ยวกับการให้รหัส?การวินิจฉัยโรค ดังนี้ครับ 1) การให้รหัสการวินิจฉัยในส่วนของ? OP/?PP สามารถให้ได้ทั้งหมด หากรหัสนั้นมีอยู่ใน ICD 10 (WHO), ICD 10 TM และ รหัส U ของแพทย์แผนไทย ซึ่งในปัจจุบันการให้รหัสการวินิจฉั?ยโรคในส่วนของ OP/?PP ยังไม่มีการตรวจ VALID CODE ทั้งนี้อย่าไปสับสนกับการตรวจ VALID CODE ของรหัสหัตถการ ที่เริ่มตรวจในปีงบประมาณณี้ ดังนั้น จากการที่มีหลายท่านบอกว่ารหัสนี้ไม?่ผ่าน รหัสนั้นไม่ผ่านเพราะ VALID = F นั้นจึงไม่ถูกต้อง 2) หากรหัสที่ให้ไม่มีใน ICD 10 (WHO), ICD 10 TM และ รหัส U ของแพทย์แผนไทย จะติด Error Code OP9230 และในแฟ้ม DIAG ข้อมูลเรคคอร์ดนั้นจะติด DX9230 ซึ่งต่างจากกรณีส่งข้อมูล SERVICE เข้ามาแต่ไม่มีข้อมูล DIAG กรณีนี้จะหาข้อมูลในแฟ้ม DIAG ไม่เจอ 3) รหัสที่ให้บางรหัส (เน้นนะครับว่าบางรหัส) จะมีการตรวจสอบเรื่องความสัมพัน?ธ์ของรหัสกับผู้ป่วย เช่น เพศ อายุ ซึ่งบางส่วนอาจไม่ผ่าน ซึ่งทำให้ข้อมูลในแฟ้ม SERVICE ติด Error Code OP9230 เช่นเดียวกัน เพราะข้อมูล DIAG เสียไป ทำให้ข้อมูล SERVICE หา DIAG ไม่เจอ แต่ต่างตรงที่ข้อมูล DIAG จะติด Error Code อื่นเป็น DX9231 หรือ DX9232 เป็นต้น
4) การที่ข้อมูล SERVICE ติด Error OP9230 อาจมีสาเหตุได้ดังนี้ 4.1) ไม่มีข้อมูล DIAG ส่งมา 4.2) มีข้อมูล DIAG แต่ข้อมูล DIAG นั้นไม่ผ่านทั้งหมด ต้องไม่ผ่านทั้งหมดนะครับ เพราะหากมีผ่านแค่ 1 รหัส ข้อมูล SERVICE ก็จะผ่าน
4.3) มีข้อมูล DIAG แต่ข้อมูล SERVICE ไม่ผ่าน จะทำให้ข้อมูล DIAG ที่ส่งมาทั้งชุด Error เพราะระบบจะหา SERVICE ที่จับคู่ไม่เจอ เนื่องจาก SERVICE นั้นไม่ผ่าน ขณะเดียวกันก็ทำให้ SERVICE นั้นหา DIAG ไม่เจอเช่นเดียวกัน เป็นผลกระทบแบบ ไป-กลับ ตรงนี้แหละครับที่มักมีคนไปเข้า?ใจผิดว่า รหัสนั้นให้ได้ รหัสนี้ให้ไม่ได้
สรุปว่าในข้อเท็จจริงการตรวจเรื?่องให้รหัสการวินิจฉัยโรค ที่ผ่านมาไม่ได้มีอะไรซับซ้อนคร?ับ ไม่ได้มีการห้ามใช้รหัสใดๆ ทั้งนี้อาจใช้โปรแกรมตรวจสอบเบื?้องต้นช่วยหาคำตอบได้ โดยไปที่เมนู "ตารางที่เกี่ยวข้อง" และ "ตารางรหัสการวินิจฉัยโรค" และลองค้นรหัสที่สงสัยดู หากปรากฏว่ามี เบื้องต้นสามารถใช้ได้แน่นอน หากดูให้ละเอียดในตารางจะมีบอกว?่าใช้กับเพศใดได้บ้าง อายุเท่าใดใช้ได้บ้าง ซึ่งน่าจะมีประโยชน์บ้างไม่มากกก็น้อยครับ หากมีข้อสงสัยอื่นๆ สามารถสอบถามได้นะครับ
คำสำคัญ (Tags): #oppp
หมายเลขบันทึก: 476813เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2012 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 23:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท