ทำโรงเรียนเล็ก (ในป่า) ให้น่าอยู่


ในภาวะที่ขาดแคลนไปเกือบทุกอย่าง

  <p align="right"></p> <p align="justify">ครั้งหนึ่งในชีวิตข้าราชการครู ดิฉันเคยสอนที่โรงเรียนขนาดเล็กที่สุดในจังหวัดศรีสะเกษ ในภาวะที่ขาดแคลนไปเกือบทุกอย่าง มีนักเรียน 31 คน มีอาคารเรียนที่ปลวกยังไม่กิน 1 หลัง เปิดสอน 4 ชั้นคือ ป.1 ป.2 ป.3 และ ป.4 ณ ช่วงเวลาหนึ่งมีครู 3 คน ครูใหญ่ 1 คน อยู่มาไม่นาน โรงเรียนถูกยุบ ครูใหญ่ย้ายไปอยู่โรงเรียนอื่นแต่ต่อมาไม่นานนัก ครู 2 คนก็ได้รับพิจารณาให้ย้าย เหลือดิฉันอยู่โรงเรียนนั้นเพียงคนเดียว</p> <p align="justify">ชุมชนรอบโรงเรียนมีอาชีพทำนาทุกหลังคาเรือน และเป็นชุมชนชาวเขมร ที่ผู้เฒ่าผู้แก่บางคน ยังพูดภาษาไทยไม่ได้ ในเวลานั้นไม่มีไฟฟ้า และน้ำบาดาล น้ำประปา มีเพียงเทียนไข น้ำบ่อ และน้ำฝน เด็กนักเรียนของดิฉันมีรองเท้าใส่ไม่ถึง 10 คน มีชุดนักเรียนมากกว่า 1 ชุด คงน้อยกว่า 5 คน</p> <p align="justify">ดิฉันมองไปที่โรงเรียนขนาดกลางและใหญ่ ที่อยู่ในละแวกใกล้กันพบว่า ฐานะทางเศรษฐกิจของชุมชนก็ไม่แตกต่างกับโรงเรียนที่ดิฉันสอนมากนัก แต่เพราะปริมาณนักเรียนที่มีมากกว่า อาคารเรียนดูมีหลักฐานมั่นคงกว่า สวัสดิการของครูในโรงเรียนดีกว่า เพราะมีบ้านพักครู มีไฟฟ้า น้ำประปาใช้ ได้รับการเอาใจใส่ดูแลจาก สปอ. ดีกว่า เช่น หากมีการอบรมสัมมนา ครูที่จะได้รับเลือกไปเข้าร่วมอบรม ทั้งระดับอำเภอ จังหวัด หรือให้มาถึงกรุงเทพฯ ก็ตาม เป็นครูจากโรงเรียนใหญ่ทั้งสิ้น การจัดสรรงบประมาณรายหัวที่บอกว่า ให้ตามรายหัวนักเรียนเท่ากันทุกคน เป็นการให้ที่เท่ากันแต่ไม่เท่ากัน การจัดสรรให้ความดีความชอบเป็นกรณีพิเศษก็เช่นกัน จะได้กับครูโรงเรียนใหญ่ มีอัตราส่วนครูมากกว่า โรงเรียนเล็กเสียงจึงค่อย ยังมีอีกหลายเหตุผลที่ ครูหลายคนพยายามย้ายเข้าไปอยู่โรงเรียนขนาดใหญ่กว่าโรงเรียนเดิมขึ้นเรื่อยๆ แล้วเด็กและเยาวชน ที่อยู่ในโรงเรียนเล็กใครจะเหลียวแล</p> <p align="justify">มาถึง ณ เวลานี้ ปัญหาขาดแคลนครูทวีความรุนแรงมากขึ้น จากผลโครงการเกษียณก่อนกำหนด ครูที่เหลืออยู่ในโรงเรียนแล้วไม่คิดจะเข้าโครงการฯ ในปีแรก ก็ต้องเปลี่ยนใจในปีต่อมา เพราะรับภาระเพิ่มจากที่มีมากอยู่แล้วไม่ไหว แม้รัฐบาลจะพยายามจัดสรรครูอัตราจ้างให้ ก็ยังไม่เท่าที่ครูขอเกษียณก่อนกำหนดออกไป อีกประการหนึ่งที่ขาดแคลน ก็เป็นผลมาจากคิดอัตราส่วนครู : นักเรียน ไม่สมดุลกับความเป็นจริง ยังมีโรงเรียนขนาดเล็กอีกนับหมื่นโรงเรียนที่มีจำนวน </p> <p align="justify">ชั้นเรียนมาก แต่จำนวนนักเรียนน้อย ถ้าคิดอัตราส่วนครู : นักเรียน 1 : 25 จะพบว่ามีครูเกิน(แต่ไม่เกิน) อยู่ตามโรงเรียนเล็กๆ นับพันโรงเรียน ที่กล่าวมาเป็นเหตุผลที่ทำให้ครูพยายามย้ายตัวเองไปอยู่โรงเรียนใหญ่ขึ้นใหญ่ขึ้น</p> <p align="justify"> </p> <p align="justify">ในปีการศึกษา 2546 และปีต่อๆ ไป จะมีนักเรียนที่จะเรียนระดับมัธยมศึกษาเพิ่มขึ้น เพราะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนไทยในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย แล้วถ้าจำนวนครูยังคงมีใกล้เคียงกับทุกวันนี้ จะให้ใครสอนนักเรียนเหล่านั้น โดยเฉพาะวิชาหลัก เช่น ไทย คณิต อังกฤษ วิทย์ คอมพิวเตอร์ </p><p align="justify">หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เสนอข่าวที่ไม่ตรงกับข้อมูลกระทรวงศึกษาธิการ เช่น เสนอว่ากระทรวงศึกษาธิการมีครูเกินเกือบแสนคน และว่าการแก้ปัญหาครูไม่พอในโรงเรียน ไม่ใช่บรรจุครูเพิ่ม แต่ให้ส่งครูช่วยราชการกลับต้นสังกัด จัดการบริหารเกลี่ยครูจากโรงเรียนครูเกิน ไปโรงเรียนที่ขาดครู ใช้หลักการบริหารจัดการ ใช้ทรัพยากรครูร่วมกัน (โดยเฉพาะวิชาที่ขาดแคลนครู เช่น วิทย์ คณิต อังกฤษ คอมพิวเตอร์)</p> <p align="justify">คงมีอีกหลายวิธี ที่กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานอื่นๆ ได้พยายามเสนอแนะ แต่เวลาปฏิบัติจริง โดยเฉพาะเกลี่ยครูจากโรงเรียนครูเกิน(ซึ่งมักจะเป็นโรงเรียนใหญ่)ไปโรงเรียนที่ขาดครู เป็นเรื่องที่ทำได้ยากยิ่งนัก</p><p align="justify">ที่ดิฉันเล่าประวัติตัวเองเมื่อครั้งที่เป็นครูในโรงเรียนขนาดเล็กก็เพื่อจะบอกว่า การทำให้ครูย้ายไปอยู่ในโรงเรียนเล็กเองโดยสมัครใจ หรือการตรึงครูโรงเรียนเล็กไม่ให้ขอย้ายออก น่าจะเป็นหนทางการเกลี่ยครูที่ดี มากกว่าเป็นคำสั่งราชการ</p><p align="justify">จากประสบการณ์ที่เล่ามา ดิฉันจึงเห็นว่าหากทำโรงเรียนเล็ก(ในป่า)ให้น่าอยู่ ก็จะเป็นแรงจูงใจได้ไม่น้อย เช่น</p><blockquote> 1. ปรับปรุงโรงเรียนที่มักจะเป็นอาคารเก่าๆ ไม้ผุๆ เก้าอี้ - โต๊ะของนักเรียนโยกเยก ผุพัง บานหน้าต่างชำรุด ขอสับหน้าต่างไม่มี ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ควรปรับปรุงให้ทั้งนักเรียนและครู ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สวยงาม โรงเรียนสะอาด สีสันสดใส เครื่องใช้ โต๊ะ - เก้าอี้ กระดานดำ น่าใช้น่าเรียน ขอเสนอนี้ มิใช่อยากจะให้ครู - นักเรียนติดบ่วงวัตถุภายนอกร่างกาย แต่คงไม่ปฏิเสธว่าใครได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีย่อมมีจิตใจสดใส ทำงานมีความสุข </blockquote>

       

      2.จัดสร้าง หรือปรับปรุง บ้านพักครูให้น่าอยู่ มีการทาสีบ้านพักครูให้ดูใหม่ สดใส จัดสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ไฟฟ้า น้ำบาดาลที่จะใช้ตลอดปี หรือจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องปั่นไฟ ให้เป็นพิเศษ เมื่อครูมีที่พักอาศัยน่าอยู่ไม่ลำบาก กันดาร สมเกียรติศักดิ์ศรีความเป็นครู ก็จะเป็นแรงจูงใจสำคัญ

           

          3. คิดอัตราส่วน ครูสายสนับสนุนการสอนให้เป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้มีผู้ช่วยครูทำงาน
          ธุระการ รวมทั้งงานนักการภารโรง ครูจะได้มีเวลากับการสอนนักเรียนมากขึ้น แต่ถ้าคิดอัตราส่วนตามจำนวนนักเรียน โรงเรียนขนาดเล็กอาจไม่ได้รับจัดสรรอัตรา ครูต้องการทำงานธุระการและงานภารโรงเอง ใครจะอยากย้ายมาอยู่โรงเรียนเล็ก หรือครูที่อยู่โรงเรียนเล็กคงขอย้ายออกจากโรงเรียนเมื่อมีโอกาส

            4. จัดสรรเงินรายหัวให้โรงเรียนขนาดเล็กเป็นกรณีพิเศษ เพราะอย่างที่เล่าแต่ต้นว่าโรงเรียนขนาดเล็กได้รับเงินรายหัวเท่ากับโรงเรียนขนาดใหญ่ แต่เมื่อรวมจำนวนเงินแล้วเป็นงบประมาณที่ไม่มากนัก ซื้อสื่อ - วัสดุอุปกรณ์ คุณภาพดีราคาสูงนักไม่ได้ ทำให้ต้องซื้อใหม่บ่อยครั้งจึงเปรียบเหมือนได้รับจัดสรรเท่ากันแต่ไม่เท่ากัน หากโรงเรียนเล็กได้รับจัดสรรเป็นกรณีพิเศษได้ จะเป็นแรงจูงใจให้กับครูนอกเหนือจากคุณภาพชีวิตส่วนตัวแล้ว ยังเป็นแรงจูงใจในด้านวิชาชีพด้วย เนื่องจากได้ใช้สื่อ-อุปกรณ์การสอนคุณภาพดี ทันสมัย ส่วนจะจัดให้ใครเป็นกรณีพิเศษอย่างไร คงต้องคิดในรายละเอียดต่อไป

            5. จัดสวัสดิการพิเศษอื่นๆ แก่ครูในโรงเรียนเล็กและห่างไกล กันดาร เช่น มีงบประมาณค่าน้ำมันรถ จัดสวัสดิการอาหารกลางวัน ให้โอกาสก่อนในการที่จะได้รับการอบรมสัมมนาเพื่อพัฒนาด้านวิชาการของครูในโรงเรียนขนาดเล็ก หรือถ้าจะให้เป็นคูปองสำหรับอบรม ก็ควรได้รับคูปองมูลค่ามากกว่า

            ข้อเสนอเหล่านี้ เป็นการประมวลจากประสบการณ์ครูโรงเรียนขนาดเล็กที่สุด ถ้าผู้บริหารเหลียวมามองและหาทางช่วยเหลือแก้ไขกฎระเบียบเพื่อจูงใจครูให้อยากอยู่ในโรงเรียนเล็กต่อไป หรือถึงขั้นเป็นแรงจูงใจให้ย้ายไปอยู่โรงเรียนเล็ก ก็คงเป็นอานิสงส์ไม่น้อย การเกลี่ยครูที่ใช้ทั้งวิธีขอร้อง บังคับ ขู่เข็ญ คงจะลดลงได้ ส่วนครูดีมีอุดมการณ์อยากพัฒนาโรงเรียนเล็กๆ ให้ก้าวหน้าด้วยความมุ่งมั่น จะได้มีกำลังใจไม่ย้ายหนีออกจากโรงเรียนเหมือนอย่างทุกวันนี้

    </font></font></font></font></strong></font></font></font>

    คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
    หมายเลขบันทึก: 4768เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2005 22:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท