แก้ปัญหาวัชพืชในนาข้าวแบบไม่ใช้ยาหรือสารพิษ


การเตรียมเทือกส่วนใหญ่ยังคงเริ่มต้นด้วยการเผาฟาง ทั้งที่มีการรณรงค์ส่งเสริมแพร่หลายแต่ชาวไร่ชาวนาก็ยังไม่เข้าใจ อาจเป็นด้วยวิถีชีวิตที่เรียบง่ายแต่เร่งรีบ

 

หลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตออกจากท้องไร่ท้องนาจนเสร็จสิ้นแล้ว ชาวนาในแถบภาคกลางส่วนใหญ่ก็เร่ิมเตรียมแปลงเติมน้ำทำเทือกกันเป็นทิวแถว โดยเฉพาะหลังน้ำท่วมใหญ่ผ่านพ้นไปมีการรีบเร่งทำนาปลูกข้าวกันยกใหญ่เพราะผลจากการว่างเว้นอยู่หลายเดือน ไม่สอดคล้องสัมพันธ์กับรายได้ที่หยุดนิ่งดอกเบี้ยที่วิ่งฉิวงอกเงยเบ่งบาน กสิกรจึงเร่งรีบปลูกข้าวเป็นการใหญ่เพื่อขวนขวายหารายได้ชำระหนี้และเลี้ยงดู ใช้จ่ายในครัวเรือน
 
การเตรียมเทือกส่วนใหญ่ยังคงเริ่มต้นด้วยการเผาฟาง ทั้งที่มีการรณรงค์ส่งเสริมแพร่หลายแต่ชาวไร่ชาวนาก็ยังไม่เข้าใจ อาจเป็นด้วยวิถีชีวิตที่เรียบง่ายแต่เร่งรีบ จึงทำให้การเผาฟางมีความสะดวกสบายคล่องตัว พร้อมเพรียงทันใจต่อการปิดเปิดประตูระบายน้ำของชลประทานในหน้าแล้งที่เดี๋ยวแจ้งปิดแจ้งเปิดเป็นพักๆเป็นช่วงๆ จนชาวต้องตั้งรับเตรียมตัวให้พร้อมอยู่ตลอดเวลา จนอาจลืมไปว่าการเผาฟางทำให้สูญเสียสารอาหาร สูญเสียระบบนิเวศน์จุลินทรีย์ สูญเสียผิวหน้าดิน ทำลายบรรยากาศชั้นโอโซน ทำลายสิ่งแวดล้อม
 
อีกทั้งถ้าเปรียบเทียบแบบมองให้เห็นภาพก็เหมือนเป็นการเผาปุ๋ย16-20-0 และ0-0-60 ทิ้งไปอย่างละหนึ่งกระสอบ ถ้านี่คือวิธีการลดต้นทุนเพื่อเพิ่มกำไรก็เท่ากับว่ากำไรหดหายไปแล้วเกือบสองพัน(ตามรายงานผลการวิจัยของสถาบันข้าวนานาชาติ IRRI, Manila, Philippines (1987) ที่รายงานว่า ในฟางข้าวที่ให้ผลผลิตเมล็ดข้าวเปลือกหนึ่งร้อยถังหรือหนึ่งตันจะมีไนโตรเจน 7.6 กก., ฟอสฟอรัส 1.1 กก., และโพแทสเซียม 28.4 กก., แมกนีเซียม 2.3กก., แคลเซียม 3.8 กก. กำมะถัน 0.34 กก. เหล็ก 150 กรัม. สังกะสี 20 กรัม ทองแดง 2 กรัม โบรอน 16 กรัม. ซิลิก้า 41.9 กิโลกรัม คลอรีน 55 กิโลกรัม) มัวแต่คุยนอกเรื่องเสียเพลินเลยทำให้เรื่องการแก้ปัญหาเรื่องวัชพืชในนาข้าวไม่จบในตอนเดียว ไว้บันทึกหน้าจะมาเล่าให้ฟังใหม่นะครับ
 
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
หมายเลขบันทึก: 476454เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2012 08:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2012 01:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

การบริหารฟางหลังการเก็บเกี่ยว จะเหมาะมาก กับการใช้เทคนิค "แกล้งข้าว" ในระยะแตกกอ

ถ้าเกี่ยวเสร็จแล้ว ย่ำหรือปั่นเลย

เพราะฟางยังสดอยู่ ไม่เหนียวมาก ประหยัดพลังงาน ในการเตรียมดิน

ถ้าปล่อยน้ำแช่ขังนานๆ จะเหนียวและเตรียมดินยาก ครับ

เปียก - เเห้ง - เปียก - เเห้ง ฟางจะกรอบ และย่อยง่ายครับ

โอกาสหน้า...ต้องขอนำข้อมูลดีดีของคุณต้นกล้าไปแชร์บ้างแล้วนะครับ. ขอบคุณครับ

มาเก็บเกี่ยวข้อมูล เพราะกำลังหัดเป็นชาวนาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท