กวดขันการจัดให้มีการเล่น"จับฉลากด้วยวิธีใดๆ"


          ด้วยปัจจุบัน ในหมู่บ้าน/ชุมชุม ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ มีการตั้งวางฉลากเสี่ยงโชค ที่ได้ของรางวัลเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  หรือธนบัตรรัฐบาล ให้ประชาชน ชาวบ้าน ได้เล่นกันอย่างเปิดเผย โดยมีกลุ่มบุคคลมาติดต่อวางแผงฉลากเสี่ยงโชคฝากขายตามร้านขายของชำ โดยจะให้ค่าตอบแทนเจ้าของร้านของชำเป็นค่าวางหน้าร้านร้อยละ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ และเป็นที่นิยมเล่นของกลุ่มเด็กและเยาวชนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการจัดให้มีการเล่นฉลากดังกล่าว เข้าข่ายเป็นการพนันประเภท "จับสลากโดยวิธีใด ๆ” ตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.๒๔๗๘ อยู่ใน "บัญชี ข. หมายเลข ๙” ซึ่งการจะจัดให้มีการเล่นการพนันดังกล่าวได้ จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน คือ นายอำเภอ ซึ่งได้รับอนุมัติให้ออกใบอนุญาตจัดให้มีการเล่นการพนันจากผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะผู้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แล้ว ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๗ (พ.ศ. ๒๕๐๓) ข้อ ๔ ค. (๖) และคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๒๕/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๙ ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย มีนโยบายอนุมัติให้มีการเล่นการพนันประเภทดังกล่าว เฉพาะกรณีที่จัดขึ้นเนื่องในงานกาชาดหรืองานประจำปีของจังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้มอบให้กาชาดไว้ใช้จ่ายในกิจการสาธารณกุศลต่างๆ และสถานที่เล่นจะต้องไม่อยู่ในบริเวณโรงเรียนหรือวัด และห้ามให้รางวัลเป็นเงินสดโดยเด็ดขาด ดังนั้น หากผู้ใดจัดให้มีการเล่นการพนันจับสลากดังกล่าว โดยมิได้รับอนุญาตจากนายอำเภอ ซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดก่อน ผู้นั้นมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. ๒๔๗๘   

คำสำคัญ (Tags): #การพนันจับฉลาก
หมายเลขบันทึก: 475949เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2012 06:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท