Mirror Therapy(MT) or Mirror Visual Feedback


เทคนิคการรักษา Mirror Therapy ที่นำมาประยุกต์ใช้ทางกิจกรรมบำบัดได้

จากการที่ได้ฟังเพื่อนนำเสนอเกี่ยวกับการนำหลักการ Mirror Therapy มาใช้กับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกได้นั้นน่าสนใจ ดิฉันจึงค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ และนำมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ดังนี้ค่ะ

 

Mirror Neuron เป็นเซลล์ประสาทของสมอง ที่สามารถตอบสนองพฤติกรรมของมนุษย์ได้ เช่น การตอบสนองต่อการมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส การได้กลิ่น และการเคลื่อนไหว ผ่านการสังเกตและเลียนแบบท่าทางของผู้อื่น ซึ่งพบว่าบริเวณสมองจะถูกกระตุ้นการเคลื่อนไหว และสั่งการในระบบกล้ามเนื้อ จึงทำให้เรื่องเซลล์กระจกเงาถูกนำมาวิจัยปละประยุกต์ใช้กันมากขึ้น

 

Mirror Therapy นั้น เป็นแนวทางการควบคุมส่วนที่ไม่มีการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อโดยการใช้จินตนาการ ในครั้งแรกนั้นใช้ฟื้นฟูผู้รับบริการที่มีอาการ  Phantom limb pain ใช้กระจกเงาวางในแนวตั้งฉากกับพื้นโต๊ะระหว่างแขนสองข้าง ทำให้ภาพสะท้อนของแขนข้างปกติไปตกทับ amputate limb เกิดภาพลวงตา พบว่าผู้รับบริการมีอาการที่ดีขึ้นจากการปวด จึงต้องศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลต่อไป


สำหรับที่เพื่อนได้นำเสนอนั้น เกี่ยวกับกรณีศึกษาที่เป็นอัมพาต โดยใช้ Mirror box therapy วิธีการใช้คือ ใช้ผู้ป่วยนำมือด้านที่อ่อนแรงใส่ในกล่อง ข้างกล่องจะมีกระจกติดอยู่ แล้วใช้มือด้านมีแรงทำกิจกรรม ซึ่งการรักษานั้น ผู้รับบริการจะเห็นภาพสะท้อนของด้านที่มีแรงในการทำกิจกรรม ทำให้ด้านที่อ่อนแรงในการทำกิจกรรมเกิดการเลียนแบบการเคลื่อนไหว การมองภาพลวงตาในกระจกจะกระตุ้นการทำงานของเซลล์สมองกระจกเงา (Mirror Neuron) ช่วยให้ทั้ง motor และ sensory เกิดการฟื้นตัวกลับใกล้เคียงสภาพเดิม


การใช้เทคนิคMirror Therapy ประยุกต์ใช้ทางกิจกรรมบำบัดนั้นสามารถทำได้ โดยยกตัวอย่างกรอบอ้างอิงทางกิจกรรมบำบัด เช่น MOHO ในการใช้ผู้รับบริการเลือกใช้กิจกรรมที่ตนเองสนใจและอยากจะทำ อาจเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ซึ่งกิจกรรมนั้นต้องผ่านการวิเคราะห์และดูให้ตรงตามความสามารถและบริบทของผู้รับบริการ เช่น การทำกิจวัตรประจำวัน การรับประทานโดยใช้ช้อนตัก การยกแก้วน้ำดื่ม การหยิบจับ เป็นต้น

 

ขอขอบคุณเพื่อนที่มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และร่วมแบ่งบันประสบการณ์ของกรณีศึกษาให้สมาชิกทราบค่ะ :))

หมายเลขบันทึก: 475943เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2012 04:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 18:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท