กศน. แลกเปลี่ยน กรมทางหลวง ที่สุราษฎร์


ฉุกคิดอย่างไรในการที่เริ่มต้นทำ KM และ จะเริ่มต้นอย่างไรกับหน่วยงานที่เห็นว่าตนทำดีอยู่แล้ว

        วันที่  31  สิงหาคม  2549  ผม และ ครูเกษมเมืองคอน (อ.เกษม ผลกล่ำ)     มีโอกาสได้ติดสอยห้อยตาม ครูนงเมืองคอน (อ.จำนง หนูนิล)  ไปเล่าประสบการณ์การทำ KM  ให้กับเจ้าหน้าที่หน่วยงาน กรมทางหลวงที่โรงแรมไดมอนด์  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ซึ่งการประชุมอบรมการใช้กระบวนการจัดการความรู้ของหน่วยงานกรมทางหลวง ซึ่งมีแขวงการทาง ศูนย์สร้างทาง  ศูนย์สร้างสะพาน  ก็ใช้ระบบการจัดการความรู้ในองค์กร ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่วิสัยทัศน์ของกรมทางหลวง  การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ก็คือ  การเล่าประสบการณ์จัดการความรู้ของ กศน. ที่ทำกับกลุ่มเป้าหมาย  ซึ่งผู้เข้าร่วมอบรมได้จับประเด็นในการ ที่จะปรับใช้กับ หน่วยงานของกรมทางหลวง  และได้ตั้งคำถาม เพื่อแลกเปลี่ยน
         ประเด็นการแลกเปลี่ยนของวันนี้เป็นประเด็นที่น่าสนใจ โดยเป็นประเด็นของ  ผศ.ดร.ประศักดิ์   จากจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย  ได้ตั้งประเด็นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ฉุกคิดอย่างไรในการที่เริ่มต้นทำ KM  และ จะเริ่มต้นอย่างไรกับหน่วยงานที่เห็นว่าตนทำดีอยู่แล้ว  (ถามความคิดของวิทยากรทั้ง 3 ท่าน)
        ครูนงเมืองคอน  ได้แลกเปลี่ยนและขยายประเด็น โดยเริ่มจากการจัดกิจกรรมวิชาชีพของ กศน.ที่หาร่องรอยไม่ได้ และได้คิดหานวัตกรรมที่จะมาเปลี่ยนรูปแบบของการจัดกิจกรรมการศึกษาอาชีพของ กศน. จนประสบความสำเร็จ  ด้วยการใช้วิธีการจัดแบบโครงงานอาชีพ
        ผมได้แลกเปลี่ยนในเรื่องของความคุ้มค่า และผลประโยชน์ ที่ประชาชน พึงได้จากการจัดการศึกษาอาชีพซึ่งในยุคก่อน ที่จัดหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น งบประมาณส่วนใหญ่จะไปตกอยู่ที่ ค่าวิทยากร เช่น  งบประมาณกลุ่มละ 15,000.- บาท เป็นค่าวิทยากร  12,000.- บาท และเป็นค่าวัสดุให้กับผู้เรียนแค่ 3,000.- บาทซึ่งเรียกว่าเป็นการจัดกิจกรรมที่ลงไปถึงประชาชนไม่เต็มที่ และเป็นการไม่คุ้มที่บางหลักสูตรไม่ได้เป็นที่ต้องการของชาวบ้าน กลุ่มเป้าหมาย      ครูเกษมเมืองคอน  ได้เสริมต่อในเรื่อง ของการจัดกิจกรรมที่ไม่ตรงกับความต้องการของชาวบ้าน โดยได้ยกตัวอย่างเวทีชาวบ้านที่ท่าเรือ เวทีที่ 1 ต้องการทำกระดาษสาจากกาบกล้วย  แต่พอถึงเวทีที่ 4 กลับกลายเป็น การเลี้ยงโคพื้นเมือง  เหตุผลของชาวบ้านคือ  วัวมีอยู่แล้ว ต้องการเพียงความรู้ในการที่จะเลี้ยงให้ได้คุณภาพ และการเลี้ยงวัวเป็นวิถีชีวิตเดิม ๆ ของชุมชน  
        อีกตอนหนึ่งของการแลกเปลี่ยน  การจัดการความรู้ใน กลุ่มเป้าหมาย เรื่องการทำปุ๋ยหมัก ผมได้เล่าประสบการณ์ กลุ่มที่ลงไปจัดกระบวนการที่ตำบลไชยมนตรีทำแล้วได้ผล ว่าใช้กระบวนการอย่างไร  ครูเกษมเมืองคอน ก็เล่าประสบการณ์ การทำกลุ่มปุ๋ยหมักที่ล้มอย่างไม่เป็นท่าที่บ้านของครูเกษมเอง  ซึ่งครูเกษมก็ใช้วิธีและขั้นตอนเหมือนกับที่ผมทำที่ตำบลไชยมนตรี  เป็นกรณีที่จะให้คิดว่า หลักการวิธีการ ขั้นตอน  ของการทำงานของที่หนึ่ง อาจนำไปใช้กับอีกที่หนึ่งไม่ได้  คงต้องนำไปเทียบเคียงปรับใช้ให้เหมาะสม

หมายเลขบันทึก: 47562เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2006 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
คุณครูนง ได้บอกไว้ว่า ให้ตามมาต่อยอดอ่านรายละเอียดกิจกรรมได้ที่นี่ จริงๆ เลยค่ะ คุณครูราญให้รายละเอียดได้จริง ... จะติดตามอ่านต่อไปนะคะ
         ไม่ได้ลปรร กันเสียนานนะครูราญเมืองคอน ทราบว่าปีนี้มีข่าวดีมีผลงานดีเด่นต้องขอแสดงความยินดีด้วยนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท