ให้ข้อมูลแก่คณะผู้ประเมิน สคส. : 1. การก่อเกิด สคส.


         สคส. ขอให้ สสส. ดำเนินการประเมิน สคส. ที่ได้ดำเนินการมาเกือบ 4 ปี   ยังเหลือเวลาทำงานตามสัญญาให้ทุนสนับสนุนจาก สสส. อีกปีเศษ   วัตถุประสงค์ของการประเมินจากมุมของ สคส. คือ   ต้องการให้ สสส. ตัดสินใจเสียแต่เนิ่น ๆ ว่า  เมื่อครบเวลาตามสัญญาการสนับสนุน 5 ปีแล้วจะยุติการสนับสนุนหรือจะสนับสนุนต่ออีกสัก 5 ปี

         โดยที่เงินที่ สสส. commit ไว้นั้น   เดิมให้ไว้สำหรับการทำงาน 3 ปี   แต่ สคส. ขอต่อเป็น 5 ปีภายใต้เงินเท่าเดิม   แต่เมื่อทำงานมาจนถึงบัดนี้   เราคิดว่าเงินจำนวนนั้นจะช่วยให้ สคส. ทำงานตามสไตล์ปัจจุบัน (ขับเคลื่อนเครือข่าย  ไม่ใช่ให้ทุน) ไปได้ถึง 10 ปี

คณะผู้ประเมินที่ สสส. ตั้งขึ้นได้แก่
1. ศ. (พิเศษ) ไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ
2. ศ. ดร. ทวีทอง  หงษ์วิวัฒน์
3. ดร. วรภัทร์  ภู่เจริญ
4. นพ. วิพุธ  พูลเจริญ
5. นพ. มงคล  ณ สงขลา
6. รศ. นีโลบล  นิ่มกิ่งรัตน์
7. นพ. มานิตย์  ประพันธ์ศิลป์

         โดยโครงการประเมินนี้มีคุณเบญจมาภรณ์  จันทรพัฒน์  และคุณมนชยา  พลอยเลื่อมแสง แห่ง สสส. เป็นผู้ประสานงาน

ผมขอให้ข้อมูลกำเนิดของ สคส. ดังนี้
1. ผู้ให้กำเนิด สคส. น่าจะมี 3 คนคือ  ศ. นพ. ประเวศ  วะสี,  นพ. สุภกร  บัวสาย,  และ ศ. นพ. วิจารณ์  พานิช  
2. ศ. นพ. ประเวศ  วะสี  เป็นผู้มาบอก ศ. นพ. วิจารณ์ เมื่อ ศ. นพ. วิจารณ์ จะหมดวาระที่ 2 ของหน้าที่ ผอ.สกว. ในเดือนพฤษภาคม 2544  ว่ายังไม่ควรหยุดทำงาน   เนื่องจากได้สั่งสมทักษะการทำงานที่หาได้ยาก   จึงควรหางานที่จะสร้างคุณประโยชน์กว้างขวางแก่สังคม   ศ. นพ. วิจารณ์ เลือกทำเรื่องการจัดการความรู้
3. นพ. สุภกร บัวสาย  ในฐานะผู้จัดการ สสส. มีหน้าที่ส่งเสริมกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ   และเห็นว่าการขับเคลื่อนสังคมสู่สังคมเรียนรู้และสังคมที่มีความรู้เป็นฐาน  เป็นพื้นฐานการสร้าง "สุขภาวะ" ของสังคม   จึงหาทางดำเนินการเพื่อให้ ศ. นพ. วิจารณ์ ตั้งโครงการขึ้นริเริ่มงานด้านนี้   โดยที่ในช่วงเริ่มต้นยังไม่มีความชัดเจนว่าการจัดการความรู้คืออะไร    ควรมีวิธีการดำเนินการส่งเสริมการจัดการความรู้ในสังคมไทยอย่างไร   แต่เชื่อในความตั้งใจจริงและความสามารถของ ศ. นพ. วิจารณ์ ในการทำงานแบบนี้ให้ได้ผลลุล่วง   ที่เรียกว่าทำงานแบบ chaordic  มีความชัดเจนที่เป้าประสงค์และชัดเจนที่กระบวนการแต่ไม่กำหนดแผนปฏิบัติการตายตัว  คือใช้กระบวนการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงในการทำงาน
4. ขอนำรายงานสรุปการประชุมปฏิบัติการเพื่อยกร่างโครงการนำร่อง เครือข่ายการจัดการความรู้  เมื่อวันที่ 26 -27 ก.ค.45  มาลงไว้เป็นเอกสารประวัติศาสตร์  สำหรับผู้สนใจ สคส. ช่วง "ตั้งครรภ์"  จะเห็นว่าชื่อที่คิดกันในช่วงแรกก็ยังไม่ลงตัว   และแนวความคิดการทำงานของ สคส. ในช่วงนั้นยังฉีกแนวออกมาจาก สกว. ไม่มาก   ยังคิดจะให้ทุนสนับสนุนอยู่

         อ่านรายงานสรุปการประชุมดังกล่าวได้ที่นี่ (click)

วิจารณ์  พานิช
 1 ก.ย.49

หมายเลขบันทึก: 47551เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2006 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • เป็นบันทึกประวัติศาสตร์จริงๆ ครับ
  • ได้ทราบจุดกำเนิดหรือ Origin ของสคส.เลย
  • ในความเห็นส่วนตัว น่าจะต่ออายุให้สคส.เพิ่มอีก 5 ปี เพื่อขับเคลื่อนสังคมต่อไป โดยที่ใช้งบประมาณเดิม เพราะว่าสคส.สามารถหารายได้เลี้ยงตัวเองได้
  • ในหัวข้อ "หน่วยงานที่เลี้ยงตัวเองได้" นี้น่าสนใจมากครับ น่าจะถอดบทเรียนออกมาเป็นเอกสาร (ขายได้)
ได้ทราบประวัติศาสตร์ของKMค่ะ

  ขอบพระคุณครับ

  • เห็นด้วยกับท่าน beeman ครับ
  • โดนใจพิเศษตรงที่ ... " เห็นว่าการขับเคลื่อนสังคมสู่สังคมเรียนรู้และสังคมที่มีความรู้เป็นฐาน  เป็นพื้นฐานการสร้าง "สุขภาวะ" ของสังคม " ทะลุทะลวงถึงแก่นอย่างแท้จริงเลยครับ
  • เชื่อว่านักการเมือง บ้าเงินและเมาอำนาจ  ไม่มีทางมองเห็นเรื่องแบบนี้ด้วยตนเองได้เลย
ดีมากเลยครับ ที่ได้มีโอกาสรับทราบเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของ สคส
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท