องค์กรพยาบาล-ศูนย์8
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8

การฟื้นฟูความรู้และทักษะการเตรียมรับอุบัติเหตุหมู่


    โดย...เตือนใจ แก้วสารพัดนึก,วารุณี พู่พิสุทธิ์,บุษรา ใจแสน

    โครงการฟื้นฟูความรู้และทักษะการเตรียมรับอุบัติเหตุหมู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ นครสวรรค์ปีงบประมาณ 2554    มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรมีความรู้และทักษะในการเตรียมรับอุบัติเหตุหมู่และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการซ้อมแผนปฏิบัติการรับอุบัติเหตุหมู่ระดับหน่วยงาน ทำให้บุคลากรสามารถปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการรับอุบัติเหตุหมู่ได้อย่างถูกต้องบรรลุตามเป้าประสงค์ของโครงการ  โดยมีผู้รับผิดชอบหลักคือ งานคัดกรอง   ฉุกเฉิน     และตรวจโรคเด็ก   งานห้องคลอด และงานวิสัญญี

              โครงการนี้ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมที่ 1   การจัดอบรมโครงการฟื้นฟูความรู้และทักษะการรับอุบัติภัยหมู่ ในเรื่องการคัดกรองผู้ป่วยอุบัติเหตุหมู่ การช่วยฟื้นคืนชีพ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การเคลื่อนย้าย และการบันทึกทางเวชระเบียน ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ บุคลากรฃองโรงพยาบาลทุกแผนกและบุคลากรฝ่ายบริหาร มีจำนวน   300  คน มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 288  คน คิดเป็นร้อยละ 96.00 (เป้าหมายร้อยละ 85 ) ผ่านเกณฑ์การประเมินเฉลี่ยร้อยละ 85  และผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในภาพรวมในทุกหัวข้อการประเมินเฉลี่ยร้อยละ  79.37  

กิจกรรมที่ 2 การติดตามประเมินผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การฝึกซ้อมแผนรับอุบัติเหตุหมู่ระดับหน่วยงาน โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับหน่วยงานซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดจำนวน 30 หน่วยงาน ผลการดำเนินงานพบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินตามเป้าหมายร้อยละ 70 จำนวน 30  หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 100 นอกจากนี้ได้มีการจัดทำโปสเตอร์แผนย่อยตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานให้เป็นมาตรฐานหลังแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับหน่วยงานครอบคลุมทุกหน่วยงาน

กิจกรรมที่ 3 การซ้อมแผนปฏิบัติการรับอุบัติเหตุหมู่ของโรงพยาบาล     โดยการจัดประชุมซักซ้อมแผนรับอุบัติเหตุหมู่บนโต๊ะ 30 หน่วยงาน และดำเนินการซ้อมแผนปฏิบัติการรับอุบัติเหตุหมู่ ผลการดำเนินงานพบว่า มีหน่วยงานเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน  30 หน่วยงานคิดเป็นร้อยละ 100  และจากสรุปผลการประเมินภาพรวมของการซ้อมแผนพบว่าบุคลากรสามารถปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการรับอุบัติเหตุหมู่ ผ่านเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ  85.89 ( เป้าหมายร้อยละ 85 )

    จากการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าว ทำให้บุคลากรทุกระดับที่เกี่ยวข้องได้รับการฟื้นฟูความรู้และทักษะสามารถนำไปปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการรับอุบัติเหตุหมู่ได้ถูกต้องตามบริบทของโรงพยาบาล และจากข้อเสนอแนะของบุคลากรส่วนใหญ่เสนอให้แยกหลักสูตรการอบรมบุคลากรทางการแพทย์และบุคลากรทั่วไปออกจากกันโดยไม่ลดระยะเวลาในการอบรมและฝึกทักษะเหลือเพียงครึ่งวัน รวมถึงมีการซ้อมแผนปฏิบัติการให้บ่อยขึ้นและใกล้เคียงกับระยะเวลาหลังฝึกอบรมจะทำให้การดำเนินโครงการฯมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 475030เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2012 09:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท