ถ่านไฟเก่า” โครงงานวิทย์ฯ ช่วยดับกลิ่นห้องน้ำ


ถ่านไฟเก่า” โครงงานวิทย์ฯ ช่วยดับกลิ่นห้องน้ำ
ผนึกกำลัง ครู-นักเรียนร่วมสร้างสุข


เมื่อถึงช่วงสิ้นปี พร้อมๆกับการย่างก้าวเข้าสู่ปีใหม่นี้ เห็นทีจะอดไม่ได้ที่ต้องบอกถึงเรื่องราวอันน่าประทับใจกันอีกสักนิด

แต่ก่อนจะเล่า พวกพี่ขอย้อนไปก่อนว่า ที่ผ่านมาเรื่องราวกิจกรรมดีๆ ซึ่งเป็นวีรกรรมและประสบการณ์สนุกๆ มากสาระ จากน้องๆเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ที่ได้เผยแพร่ผ่าน Blog นี้นั้น ส่วนใหญ่มักจะเป็นเนื้อหาจากเพื่อนๆมากฝีมือ
ซึ่งต่างเอาผลงานมาเสนอกัน ตามแต่ลักษณะโดดเด่นอิงเนื้อหาโครงการ
รวมถึงมีที่มาหลากหลายพื้นที่ ทั่วทุกภูมิภาค (จริงๆ คือทั่วประเทศนี่แหละ)

แต่เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ ออกตัวก่อนว่าอาจจะไม่โดดเด่นในเชิงผลงานเหมือนตัวอย่างอื่น แต่บรรดาแมวมองกลับประทับใจในความพยายาม ซึ่งมาจากทั้งความพยายามของตัวเยาวชนผู้ร่วมกิจกรรมเอง และตัว “ครู”ผู้สอน

โดยกิจกรรมที่เห็นพ้องต้องกันว่า “เจ๋ง” จนต้องบอกต่อ นั่นคือโครงงานวิทยาศาสตร์ ของโรงเรียนกาวิละอนุกูล จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เปิดการศึกษาแก่ที่เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและพิการซ้อน
ที่ชื่อแบบเก๋ๆ ว่า “โครงงานถ่านไฟเก่า”

เท้าความกันเล็กน้อย เรื่องมีอยู่ว่าใน 50โครงการ จาก14โรงเรียน ภาคเหนือ ที่เข้าร่วม”นิทรรศการ"โครงงาน (เชิง) วิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า" ที่เพิ่งจัดขึ้นเมื่อต้นเดือนธันวาคม ณ โรงเรียนศึกษาศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ โครงการถ่านไฟเก่าได้ถูกนำมาจัดแสดงร่วมกับโครงงานอื่นๆด้วย



และนั่นมันก็ทำให้บรรดาคณะกรรมการ และเพื่อนๆน้องๆต่างโรงเรียนรับรู้ร่วมกันว่า เด็กบกพร่องทางสติปัญญาก็มีดีกว่าที่คิดนัก!
โครงงาน “ถ่านไฟเก่า”นี้ มีที่มาจากการที่ อ.พยุงศรี ทองคำกูล
อาจารย์วิชาสุขศึกษาในโรงเรียนได้พานักเรียนชั้นม.1 ไปเดินสำรวจรอบๆโรงเรียน
และได้พบว่าจุดหนึ่งที่ถือเป็นปัญหาสำหรับสุขลักษณะและสิ่งแวดล้อมในรั้วโรงเรียนคือห้องน้ำที่มีกลิ่นเหม็น ดังนั้นทั้งชั้นเรียนจึงเห็นร่วมกันว่าเราจะต้องกำจัดปัญหาดังกล่าวนี่เสีย

“จึงเป็นที่มาของการแก้ปัญหาด้วยวิทยาศาสตร์ โดยทำโครงงานขจัดกลิ่นในห้องน้ำ ซึ่งครูก็เริ่มคัดเลือกจากเด็กที่สามารถเรียนรู้ได้ และมอบหมายกลับไปเป็นการบ้านเพื่อไปค้นหาวิธีว่านอกจากการล้างห้องน้ำแล้ว เราจะสามารถจัดการกับกลิ่นในห้องน้ำได้อย่างไรบ้าง “อ.พยุงศรีบอก
 

การบ้านในวันนั้นเกิดผลปรากฎว่า นักเรียนส่วนใหญ่ต่างเคยเห็นผู้ปกครองใช้ถ่านดูดกลิ่นในตู้เย็นของตัวเอง จึงเป็นที่มาของการบ้านลำดับต่อไปคือให้นักเรียนไปหาประโยชน์ของถ่าน ซึ่งเด็กก็ได้ค้นคว้าผ่านอินเตอร์เน็ตพร้อมกับได้คำตอบว่าคุณสมบัติของถ่านสามารถซึมซับกลิ่นได้จริง

แต่เท่านั้นยังไม่พอ อาจารย์ยังให้นักเรียนหาสมุนไพรหรือเปลือกผลไม้ที่มีกลิ่นหอมและมีคุณสมบัติช่วยดูดกลิ่นมาด้วย
 

ด.ช.อภิรัตน์ ใจม้ง (เอ็ม) นักเรียนชั้นม.1 เล่าว่า ผลไม้ที่เพื่อนๆเอามาในชั้นเรียนนั้น มีหลากหลายชนิด ทั้งตะไคร้ ผิวมะกรูด ใบเตย เปลือกทุเรียน จึงเอามาคัดเลือกอีกว่าอะไรเหมาะสมที่สุด ซึ่งเขาและเพื่อนๆก็ พบว่าใน 4 อย่างนี้ เปลือกทุเรียนคือสิ่งแรกที่ไม่เหมาะสมทั้งปวง เพราะถึงจะมีคุณสมบัติดูดกลิ่นก็จริง แต่เมื่อนำมาทำเป็นก้อนดูดกลิ่นแล้ว กลับขึ้นรา

เอ็ม อธิบายการทำขั้นตอนต่อจากนั้นว่า ได้นำผงถ่านที่ไปขอเศษเล็กๆ ตามบ้านเรือน มาตำให้ละเอียด ส่วนตะไคร้ ผิวมะกรูด และใบเตยนั้นจะถูกนำมาตากแห้งและตำให้ละเอียดเช่นกัน

“ทั้งหมดมาตำให้ละเอียดและแยกกันไว้ อย่าเอามารวมกัน จากนั้นให้นำน้ำเปล่าและแป้งมัน มาผสม ในปริมาณที่เท่าๆ กัน ใครอยากได้กลิ่นมะกรูดก็เอามะกรูดผสมเข้าไป ใครอยากได้ตะไคร้ก็ใส่ตะไคร้ขึ้นอยู่กับแต่ละชนิดพืชที่นำมาดับกลิ่น” เอ็มบอก


ขณะที่ ณัฐวุฒิ อนุศาสนันท์ (ณัฐ) เพื่อนร่วมห้องชั้นเดียวกัน
อธิบายเสริมว่า และว่า ทั้งนี้พวกเขาได้ทดลองพืชทุกชนิด โดยการจับเวลาและจดบันทึก จนทำให้พบว่ากลิ่นของมะกรูดอยู่นานที่สุด มีกลิ่นหอมที่เหมาะกับการจะไปดูดกลิ่นในห้องน้ำ ส่วนใบเตยนั้นกลิ่นหายเร็วที่สุดและยังไม่เหมาะกับจะเป็นที่ดูดกลิ่นในห้องน้ำ ด้านตะไคร้นั้นก็ถือว่าใช้ได้เช่นกัน ซ้ำคุณสมบัติของตะไคร้ยังช่วยป้องกันยุงได้


“เราจึงทำถ่านดูดกลิ่นผสมกลิ่นตะไคร้ และไปวางในห้องน้ำในโรงเรียน เพื่อนๆก็ชอบกันอาจารย์ก็ชอบ จากห้องน้ำที่เคยกลิ่นเหม็นมากก็ช่วยให้มันลดน้อยลงได้”


ประสบการณ์จากการสร้างกิจกรรมกับเด็กกลุ่มบกพร่องทางสติปัญญา
ที่มีการเรียนรู้ได้ช้ากว่าเด็กปกตินั้น อ.พยุงศรี เล่าแบบน่าสนใจว่า ก่อนหน้านี้เคยคิดจะให้เด็กทำปุ๋ยอีเอ็มเพื่อใช้กำจัดกลิ่นในห้องน้ำเช่นกัน แต่พบว่าต้องใช้การดูแลมาก และเด็กไม่สามารถทำได้เองตลอดขั้นตอนจึงเปลี่ยนมาเป็น
การทำก้อนดูดกลิ่นเพราะทำได้ง่ายกว่า และเด็กสามารถทำได้ เองทุกขั้นตอน

เมื่อเราถามถึงความยาก-ง่าย กับการฝึกทักษะการคิดแบบวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กกลุ่มดังกล่าวนี้ อ.พยุงศรี ตอบแบบสั้นๆว่า อาจจะมีรายละเอียดที่มากกว่าทั่วไป แต่ไม่อยากเกินกำลัง
 

“ยกตัวอย่างการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เราอาจจะทำการค้นคว้าก่อน จากนั้นจึงมาเขียนคำที่เราค้นใส่กระดาษให้เขาไปพิมพ์ลงในเครื่องที่เขาใช้
เพราะเด็กบางคนนั้นสามารถอ่านหนังสือได้ เราต้องบอกเป็นขั้นตอน ให้โจทย์ไปทีละนิดๆ อย่าสั่งอะไรรวดเดียว นอกจากนี้ก็อย่าไปใช้ศัพท์อะไรยากมาก
อย่างถ่านเด็กบางคนอาจจะเรียกฝืน เราก็อย่ายึดติดมาก เน้นที่ความเข้าใจ
เขาเองจะได้กลับไปเรียนรู้ ค้นคว้าได้”


ที่มาของความสำเร็จในโครงการนี้ จึงเป็นการผนวกกำลังระหว่างครูและลูกศิษย์อย่างแท้จริง

“ห้องน้ำไม่มีกลิ่นเหม็น มันก็ทำให้โรงเรียนน่าอยู่” เอ็ม-ณัฐ ตอบง่ายๆ
เมื่อถามถึงประโยชน์จากกิจกรรมที่ได้รับทว่าคำตอบสั้นๆแบบนี้เองก็มีความหมายมากกว่ามากกว่าเพียงถ้อยคำ


ก็เพราะโรงเรียนน่าอยู่ไม่ใช่หรือ ที่ทำให้เราอยากมาเรียน


หรือใครจะเถียงว่าไม่จริง ฮึ!! 
คำสำคัญ (Tags): #กระจายสุข
หมายเลขบันทึก: 473441เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2012 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2013 00:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เข้ามาชื่นชมโครงงานที่เชื่อมโยงกับชีวิตค่ะ

โครงงาน หรือ Project-based Learning ไม่เฉพาะวิชาวิทยาศาตร์ที่ได้เรียนรู้ แต่ได้ฝึกทักษะให้ศิษย์ได้มาก ทั้งทักษะคิด, เรียนรู้, การทำงานร่วมกัน ......

เพราะการเรียนรู้แบบโครงงานไม่ได้จบแค่ในวิทยาศาสตร์ แต่สามารถใช้ได้ในทุกวิชา พร้อมครูและศิษย์ จะก้าวพร้อมกันไปสู่ 21st Century Learning ค่ะ

ทำได้ดีมาก

ไมโครซอฟ

เก่งมากๆครับ เป็นเรื่องใกล้ตัวมาก จนคนส่วนใหญ่มองข้ามมันไป ซึ่งก็เป็นปัญหาอย่างชัดเจน คนอื่นๆอาจจะพยายามคิดเรื่องใหม่ เรื่องเด่น และไม่ตรงกับปัญหา น้องๆเป็นเด็กเก่งจริงๆครับ นับถือๆ 

ได้อ่านข้อมูลของน้องๆช่วยให้มีไอเดียร์ดีๆมาทำโครงงานส่งครูขอบคุณมากเลยฮ่ะที่ช่วยให้มีแรงบัลดาลใจ 

ดีมากๆ เลยยย  จะลองเอาไปทำดูนะ  เจ๋งงงงง

ช่วยคิดหน่อยสิว่าจะเอาโครงงานไรดีอ่ะ พอดีครูสั่งไห้ทำโครงงาน

สุดยอดมากเลยอ่ะ อิอิ

คริคริ

อ่ะอ่ะ

การทำคือการนำถ่านผสมกับทุกกลิ่นใช่ไม๊

เรียนคุณ นิรามัย ชอบกลิ่นไหน ใส่กลิ่นที่ชอบลงในถ่านแต่ละก้อนค่ะ ถ้านำกลิ่นมาผสมกันหมดกลิ่นจะผสมรวมกันเกินไปอาจไม่หอมอย่างที่ใจอยากจะให้เป็นนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท