ภาษาไทยเป็นหัวใจของทุกวิชา (๒)


คำที่มักเขียนผิด ๑

ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน [1]

คำที่มักเขียนผิด ( 1 ) ตอน ภาษาไทยเป็นหัวใจของทุกวิชา

 

ภาษาไทยนั้น  นับว่าเป็นวิชาที่สำคัญที่สุดในการเรียนหนังสือ  เพราะถ้าหากอ่อนภาษาไทยแล้ว  ก็พลอยทำให้วิชาอื่น อ่อนไปด้วย  โดยเฉพาะนักเรียนระดับต้น แล้ว  พ่อแม่ผู้ปกครองมักจะตรวจสอบการเรียนภาษาไทยของบุตรหลานของตัวเองเท่านั้น  ถ้าหากเรียนภาษาไทยได้สวยอ่านได้คล่องไม่ติดขัดแล้ว  ก็มักจะพอใจว่าบุตรหลานของตนเรียนเก่ง  ดังนั้นเวลาสอนนักเรียน  ผู้เขียนจึงให้เด็กเขียนสโลแกนตัวใหญ่ ที่หน้าปกในของสมุดแบบฝึกหัดภาษาไทยว่า

 “ ภาษาไทย  เป็นหัวใจของทุกวิชา

ความจริงแล้ว ในการเรียนภาษาไทยนั้น  เราไม่ได้เรียนเฉพาะวิชาภาษาไทยอย่างเดียว 

ลำพังภาษาไทยแท้ นั้น ไม่ได้เรียนยากเย็นอย่างที่นักเรียนทั้งหลายร้องโอดโอยกันอยู่นี้เลย   ที่ว่าภาษาไทยเรียนยาก  เข้าใจยากนั้น  เพราะมีภาษาอื่น ปะปนเข้ามาอยู่จำนวนมาก  ว่าเฉพาะอักษรย่อในวงเล็บที่บอกที่มาของคำในพจนานุกรมฉบับราช-บัณฑิตยสถาน .. 2525 ( หน้า 9 ) ก็มีถึง 14  ภาษา  คือ

 

อักษรย่อ

ภาษา

ข.

เขมร

จ.

จีน

ช.

ชวา

ญ.

ญวน

ญิ.

ญี่ปุ่น

ต.

ตะเลง

บ.

เบงกอหลี

ป.

ปาลี (บาลี)

ฝ.

ฝรั่งเศส

ม.

มลายู

ล.

ละติน

ส.

สันสกฤต

อ.

อังกฤษ

ฮ.

ฮินดี

 

 

 

 

 

ทั้งนี้  ยังไม่นับภาษาอื่น ที่พึ่งจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรา เช่น เกาหลี รัสเซีย อาหรับ เยอรมัน ฯลฯ 

ดังนั้น  ผู้ที่จะเก่งภาษาไทย  จะต้องรู้จักภาษาอื่น ๆ อย่างน้อย  ๔  ภาษาเป็นอย่างดี

คือ บาลี สันสกฤต อังกฤษ และเขมร 

เพราะ    ภาษานี้เข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยมาก  มากจนบางครั้งบางคนแยกไม่ออกว่า  นี่เป็นภาษาไทย  หรือ  ภาษาอะไรกันแน่  ที่เราเขียนกันผิด ก็เพราะแยกแยะกันไม่ออก  ไม่รู้รากศัพท์เดิมของคำ  เพราะบางคำเป็นศัพท์เฉพาะ  บางคำเขียนทับศัพท์  บางคำเปลี่ยนแปลงไปบ้าง

คำว่า  “แบงก์”  ที่แปลว่าธนาคารนั้น  มีเขียนกันไปต่าง ๆ นานา เช่น แบ๊งค์  บ้าง  แบ็งก์  บ้าง  แบ้งค์  บ้าง  ที่ถูกต้องนั้น คือ  แบงก์  ไม่มีวรรณยุกต์อะไรทั้งสิ้นและใช้ “ ก ” การันต์

แท็งก์น้ำ   ก็มักจะเขียนกันผิด ๆ อยู่ประจำ  เป็น  แท๊งค์ บ้าง  “ แท้งค์  บ้าง  ซึ่งก็เหมือนกับคำว่า          “ แก๊ง   ที่มักเขียนผิดเป็น “ แก๊งค์,แก้งค์,แก็งค์  

คำสองคำนี้เป็นภาษาอังกฤษ  สะกดคนละอย่างคือ  “ แท็งก์ ” (Tank)  แก๊ง ( Gang )

“ วอลเลย์บอล ”  ซึ่งเป็นกีฬายอดฮิตติดอันดับอีกประเภทของไทย  ก็ใช้กันไปคนละทางสองทาง  ยิ่งการรายงานข่าวหน้าหนังสือพิมพ์  ซึ่งใกล้ชิดกับประชาชนและเยาวชนมากที่สุด ก็ไม่เหมือนกันสักฉบับ

บ้างเขียน วอลเล่บอล,วอลเล่ย์บอล,วอลเลบอล  พจนานุกรมให้ใช้คำว่า 

“ วอลเลย์บอล ”

“ แท็กซี่ ” ก็เป็นอีกคำหนึ่ง  ที่ใช้กันไม่ค่อยถูกต้องนัก  มักเขียนเป็น 

“ แท็กซี่  ”  บ้าง  “ แท้กซี่ บ้าง

“ วัคซีน ”  ก็มักสะกดเป็น  “ วัคซิน ”

กงสุล (ส)  ก็เขียนผิดเป็น  กงสุล ( ศ)

 คงจะเทียบกับ  “ ศุลกากร   กระมัง 

แม้แต่คำว่า  “ ฝรั่งเศส ”  ก็เผลอเขียน  “ ฝรั่งเศส ”  เพราะติดเชื้อมาจาก  “ เศษ ”  เช่นกัน

ปาร์เกต์ ”  ก็มีคนเขียนผิดเป็น  “ ปาร์เก้ ” และ “ ปาเก้ต์ ”  อยู่บ่อย ๆ

คำว่า “ ปลาสเตอร์ ” ก็เขียนเป็น “  ปล้าสเตอร์ ” บ้าง  “ ปลาสเต้อร์ ” บ้าง “ พลาสเต้อร์ ” บ้าง

พลาสติก ”  ก็ยังเขียนเป็น  “  ปล้าสติก ”  “ พลาสติค ” “ ปลาสติค ” 

               คำที่มาจากภาษาอังกฤษนี้  ยังมีอีกมากมาย โดยเฉพาะศัพท์ทางวิทยาศาสตร์  ศัพท์ทางกีฬา  ที่เรารับมาสแล้วเขียนทับศัพท์ 

ดังนั้น  ผู้ที่จะเก่งภาษาไทย  ใช้ได้ถูกต้อง  นอกจากจะรู้รากศัพท์เดิมของคำนั้น  ๆ  แล้ว  ยังจะต้องรู้จักหลักการถอดอักษรโรมันเป็นอักษรไทย  รู้จักหลักการถอดีคำอังกฤษเป็นไทย  หรือ รู้หลักการเขียนทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถาน  เป็นอย่างดีอีกด้วย

คำว่า “ สังเกต ”  ก็เขียนผิดเป็น  สังเกต  อยู่เนือง ๆ  คงเทียบกับคำว่า  เหตุ  หรือ เกตุ ( ธง )  ดอกกระมัง

“ ประมง ”   ก็กลายเป็นประมงค์(มี ค การันต์)  คงเพราะนำคำว่า อุโมงค์  มาเทียบ

คำว่า “ อนุญาต ”  เป็นคำพื้น  ๆ  แต่ก็ยังเขียนเป็น  “  อนุญาติ ”  อยู่บ่อย  ๆ 

เห็นจะคุ้นเคยกับคำว่า “ ญาติ ”  นั่นเอง  จริงอยู่  สองคำนี้เป็นภาษาบาลีทั้งคู่  แต่ก็มาคนละตระกูลกัน

“ ญาติ”   ( อ่านว่า ยาด)   เป็นคำนาม  มาจากคำว่า “ ญา - ติ”

ส่วนคำว่า “ อนุญาต ”  เป็นคำกริยา(กิตถ์)  มาจากคำว่า “ อนุ + ญาต ” ( คำว่า ญาต  แปลงมาจาก ชา ธาตุ ด้วยอำนาจของ  ต  ปัจจัย  ในกริยากฤต อีกครั้งหนึ่ง จึงกลาย  ญาต  ไป )

คำว่า “ ประณีต ”  ก็มักเขียนผิดเป็น  ประณีต  อยู่ประจำ  คำนี้มาจากภาษาสันสกฤต ประณีต  และ บาลี ปณีต

จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะไป ทีฆะ อะ เป็น อา ดังที่อาจารย์บางท่านอธิบาย

               คำ “ โล่ ”  ก็เขียนเป็น  “ โล่ห์ ”  “ สิงโต” ก็เขียนเป็น “ สิงโตห์ ”   คงเพราะไม่รู้รากคำเดิม  เห็นแต่ สิงห์ เลยนึกว่า  เป็นพวกเดียวกัน

               อีกคำหนึ่งที่เห็นกันอยู่บ่อย  ๆ  ตามร้านค้าทั่วไป  คือ  “ ที่นี่จำหน่ายสินค้าราคาย่อมเยาว์ ”    

               รับบริการทำ .... “ ด้วยฝีมือปราณีต  ราคาย่อมเยว์ ”   

               คำว่า “ ย่อมเยา ” ( ไม่มี ว การันต์)  ก็กลายเป็น  “ ย่อมเยาว์ ”   ( มี ว์ ) ไปเสียฉิบ  เพราะนำไปเทียบกับคำว่า

               ผู้เยาว์  ยังเยาว์  อายุเยาว์ 



[1] เป็นบทความเชิงวิชาการ  เขียนลงวารสารข่าวการศึกษาของ สำนักการศึกษา เป็นตอน ๆ  ประมาณ  14  ตอน  และได้รวบรวมเป็นเล่ม  ทำผลงานอาจารย์ 3 ระดับ 8 รอบแรก แต่ไม่ผ่าน  ตอนที่นำมาลง ณ ที่นี้   เป็นตอนที่ 8  ลงพิมพ์ในวารสารข่าวการศึกษา  ปักษ์หลัง ปีที่ 11 ฉบับที่ 278 ตุลาคม  2532 ็น็

หมายเลขบันทึก: 471027เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2011 08:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท