คำที่มักเขียนผิด ๒


ผิดทั้งข้อความ

คำที่มักเขียนผิด       ตอน     ผิดทั้งข้อความ      บุญช่วย  มีจิต    

 

               ในยุคที่โลกพัฒนาไปไกลมากอย่างทุกวันนี้   ทุกอย่างต่างก็แข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตาย  ทุ่มไปที่งบโฆษณาอย่างมหาศาล  มิฉะนั้น  ก็สู้ใครเขาไม่ได้   ไม่เว้นแม้กระทั่งธุรกิจเล็ก ๆ น้อย ๆ ส่วนตัว เช่น งานฝีมือ ก็ยังต้องโฆษณาคุณภาพแข่งกัน

               ตามฟุตบาทหรือ ทางเท้าใกล้ตลาดใหญ่  ๆ ที่เจริญทั้งหลาย  เรามักจะเห็นป้ายป้ายหนึ่งเขียนไว้ว่า

               “ ที่นี่รับชุบ ทอง นาค เงิน  ฝีมือประณีต  ราคาย่อมเยาว์” 

               หลายคนเห็นแล้วก็เดินผ่านไปเฉย ๆ  และอาจจะไม่รูสึกอะไรเลยด้วยซ้ำ  แต่คนที่คลุกคลีอยู่กับภาษาไทยมานานอย่างผม  เห็นแล้วก็ไม่สบายใจ  เพราะว่าป้ายนั้นเขียนผิดทั้งข้อความ

               หลายคนอาจจะแย้งว่า  จะเอาอะไรนักหนากับพ่อค้า แม่ค้า  ซึ่งบางคนก็ไม่จบ ป. 4 ด้วยซ้ำไป 

               พูดไปมันก็ถูก  แต่อย่าลืมว่าข้างตลาดมีคนเดินผ่านวันละนับไม่ถ้วน  และป้ายโฆษณานั้นก็เป็นสื่อการสอนได้เป็นอย่างดี  เพราะคนที่พบเห็นบ่อย ๆ จนชินตา  อาจจะคิดว่าเขียนอย่างนั้นถูกแล้ว  แต่ความจริง

               “ ทอง นาค เงิน ”  ผิดที่คำว่านาค  เปล่าไม่ใช่ “ นาค ” เขียนผิด  แต่ผิดเพราะใช้ความหมายผิดต่างหาก

               “ นาค ”  เป็นคำพ้องเสียง  มีคำว่า “ นาก ” อีกคำหนึ่ง

               “ นาค” คอควายสะกด  แปลได้หลายความหมาย เช่น แปลว่า งูใหญ่มีหงอน เป็นสัตย์ในนิยาย ( นาค 1 )

แปลว่า  ผู้ประเสริฐ  ผู้ไม่ทำบาป เรียกผู้ที่ไปอยู่วัดเตรียมตัวจะบวชหรือกำลังจะบวชว่า นาค ( 5 )(พจนานุกรม 2525 หน้า 436 )

               ส่วน “ นาก” กอไก่สะกด มีสองความหมายคือ หมายถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Mustellidae กับ หมายถึง  โลหะผสมชนิดหนึ่ง โดยเอาทองคำ เงิน กับทองแดง ผสมเข้าด้วยกัน

               ดังนั้นดูตามรูปคำข้างเคียงแล้ว  นาก ในที่นี้จะต้องเป็น นาก  กอไก่สะกดอย่างแน่นอน  แต่เราคุ้นเคยกับ นาค คอควายสะกดกันมากก็เลยจำกันมาผิด ๆ

               คำที่สอง “ ฝีมือปราณีต”   ผิดตรงปราณีต  เพราะที่ถูกต้องเป็น “ ประณีต”  แต่เพราะเหตุใดไม่ทราบเรามักออกเสียงยาวเป็นปราณีต  และเขียนสระอามาตลอด ทำผิดสืบทอดกันมายาวนาน

หมายเลขบันทึก: 471025เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2011 07:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท