ปลูกผักปลอดสารพิษ เสริมสร้างชีวิต สู่ความพอเพียงและสันติสุข


เด็กบางส่วนไม่ชอบกีฬา ครูวุฒิจึงชวนมาปลูกผัก-ปลูกต้นไม้

ห้วงช่วงเพลาระหว่างนี้

โรงเรียนใดๆ ใน สพป.ศก.๓ ก็หายใจเข้าออกเป็นกีล้า...กีฬา...

และเอาจริงกับการแข่งขันทักษะทางวิชาการ

เนื่องในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ ๖๑

ณ จังหวัดมหาสารคาม

ดังนั้น...

ครูส่วนใหญ่จึงทุ่มเทเวลาและโอกาสไปที่เด็กเก่งกีฬา-เด็กๆหัวกระทิ และเด็กที่มีความสามารถพิเศษ

ในขณะเดียวกันก็ทิ้ง.....ทิ้ง...ๆ ไม่ใยดี...(ยังดีที่ไม่ใช้เท้าขยี้...เหมือเพลงคุณยอดรัก สลักใจ)

เด็กหัวอ่อน หัวปานกลาง(ก็...เขาเอาแต่หัวดีๆ นี่นา....)

และเด็กที่ไม่ชอบทั้งกีฬา-วิชาการ เพราะมีพื้นฐานการคิดและทัศนคติที่แตกต่าง

โคกเพชรก็เช่นเดียวกัน มีเด็กส่วนหนึ่งที่แทบจะหายไปจากความสนใจของครู

พวกเขาจึงเล่นสบายๆไปตามวัยวุฒิ (และชอบเป็นพิเศษ) เพราะไม่ต้องทำตามคำสั่งครูใดๆเหมือนเช่นเคย

,,,,,,,,,,

แต่ครูวุฒิเห็นเป็นโอกาส

โอกาสที่จะได้พูดคุยกับเด็กอย่างเป็นธรรมชาติ

และในแบบกันเองสบายๆ

ดังนั้น....

ครูวุฒิจึงชวนเขามาพูดคุยถึงแนวคิด ทัศนคติ ตลอดถึงพื้นฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

และสุดท้าย

ก็มิลืมเป้าหมายที่จะต้องชวนเขาสร้างสรรค์ ในแบบที่พวกเขาต้องการและอยากทำ

(และโดยต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นไปได้)

ซึ่งก็มีหลากหลาย ตามความถนัดและสนใจของแต่ละคน

แต่สุดท้าย

ทุกคนก็อยากมีประสบการณ์และรายได้จากการทำการเกษตรแบบง่ายๆที่ใครๆก็ทำเป็น

ในแบบที่ครูใหญ่ (ผอ.) เคยทำมาเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก

ดังนั้น......

จึงเป็นที่มาของกิจกรรม

"ปลูกผักปลอดสารพิษ เสริมโอกาสชีวิต สู่ความพอเพียงและสันติสุข"

ซึ่งทั้งหลายทั้งสิ้น

เป็นกระบวนการของ "การศึกษาหนึ่งเดียวกับชีวิต"

หรือ "การศึกษาที่เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง"

ที่ "ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง" นั่นเอง

++++++++++++

หมายเลขบันทึก: 470846เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2011 19:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 23:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท