ไดอารี่ชีวิต 5


สงบ วาง ว่าง สว่าง (ให้ธรรมะแก่กันและกัน) สนธนาธรรม-นำปัญญา

 

     การทำความดีอาจจะไม่ยาก(เท่าไหร่) แต่สิ่งที่ยากยิ่งคือการที่เราจะต้องรักษาความดีให้ดีตลอดรอดฝั่ง.  หลายคนอาจจะได้ยินบ่อยๆกับคำว่าจงรักษาความดีเหมือนดั่งเช่นความเค็มของเกลือ(แต่วันนี้หลายสิ่งที่ปรากฎทำให้ข้าพเจ้าได้คิดว่าความเค็มหากปริมาณน้ำที่มากพอก็สามารถเจือจางความเค็มให้จืดได้เช่นกัน)

    แต่สิ่งที่ข้าพเจ้าได้อ่านพบคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่าจงทำใจให้หนักแน่นดั่งแผ่นดิน ที่แม้จะโดนเหยียบย่ำ เท่าไหร่ก็อดทนได้ไม่เคยปริบ่นโทษใคร. (แต่ก็ทำยากจัง) 

    ค่ำคืนที่สองของการมรณะภาพ(สวดพระพุทธมนต์)ของท่านพระครูใบฏีกาสุพล มหาหิง ด้วยความคุ้นเคยในทางเดินของจิตใจและกายตื่นขึ้นตอนเช้าบางครั้งยังคิดว่าต้องรีบไปพ่นยา!  (คงต้องใช้เวลากับการเรียบเรียงงานภายในใจตัวเองใหม่)

    จากมุมความคิดที่ข้าพเจ้าได้นำเสนอในไดอารี่ชีวิต 4 นั้นมิได้มีเจตนาแอบแฝง(อคติ)อื่นใดกับด้านการศึกษาค้นคว้า-วิจัย หลักฐานและความน่าเชื่อถือของสังคม ขององค์กร เพียงแต่ในมุมมองของคนที่อยู่ป่ามองดูข้างใน(เมือง-ความเจริญ)กับการศึกษา สร้างหลักฐานความน่าเชื่อถือในการพัฒนานำพาประเทศของคนไทยและคนยุคใหม่ๆก็ไม่เข้าใจจริงๆ จะแข่งกับใครในเมื่อเรายังมองไม่เห็นตัวเอง(แต่ผู้อื่น-นอกประเทศ)มองเห็นเราจนหมดพุง! 

    ซึ่งในความเป็นจริงทั้งด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัตินั้นก็เป็นสิ่งที่อยู่คู่กันและบางครั้งใกล้กันจนเราแทบจะแยกมันไม่ออก แต่ท้ายที่สุดแล้วก็คงให้ภาคปฏิบัติเป็นตัวนำและคำตอบกับสิ่งใดๆเหล่านั้น กับคำว่าหลักฐานความน่าเชื่อถือ (หลักฐานสร้างความจริงด้วยตัวของมันเองหรือหลักฐานที่เรากำหนดขึ้นเอาเอง ก็อีกเรื่อง)

    ในช่วงเวลาที่เหล่าปัญญาชนมารวมตัวกันได้.จากสิ่งที่ท่านพระครูสุพลกำหนดให้(ครู อาจารย์ ป.โท ป.เอก แต่เป็นลูกศิษย์ของ รศ.ดร.ประจิตร มหาหิง  ในมุมที่ข้าพเจ้าเป็นผู้น้อยได้รับฟังมุมมองผู้ใหญ่คุยกันในวงสนทนา(ทานข้าว) ได้ฟัง ดร.ท่านหนึ่งพูดออกมาเกี่ยวกับการศึกษาที่คนไทยเราเก่งมากในด้านทฤษฎี แต่เวลาทำ(ปฎิบัติ-ทำไม่ค่อยจะเป็น)เอาเข้าจริงกับต้องวิ่งไปศึกษาดูงานถึงประเทศลาว(ทั้งที่คนไทยหลายๆคนในมุมมองการมองประเทศลาวยังคิดว่าด้อยพัฒนาอยู่มากตามไม่ทันประเทศไทยที่เจริญกว่ามากมาย) แต่ในมุมคนอยู่ป่าปลูกแต่ต้นไม้กลับคิดว่าลาวเค้านำประเทศไทยเรามากกว่า เปรียบง่ายๆแค่ภาษาที่คนไทยเราต้องเสียเงินไม่น้อยกว่าจะเขียนได้-พูดได้

 ตรงกันข้ามกับลาวที่นอกเหนือจากภาษาของตัวเองแล้ว ภาษาอังกฤษ-เยอรมัน-รัสเซีย ภาษาใดๆเหล่านี้ไม่ต้องเสียเงินเรียนเพื่อรู้ แต่เค้ารู้จักเก็บเกี่ยวประโยชน์ในคราวลำบาก แตกต่างจากคนไทยที่อยู่(ใช้สอย)ความสบายจากสิ่งที่คนรุ่นก่อนทำไว้ให้....?

    ในสิ่งเหล่านี้ที่ผู้ใหญ่คุยกันก็ยิ่งเห็นธรรมะการปล่อยวางพร้อมๆกับความสงบวางว่างสว่าง จากท่านพระครูที่มอบไว้ให้ทุกๆคนได้มั่นใจนี่คือคุณค่าแห่งชีวิตที่แท้จริง แม้จะผ่านมรสุมในสังขารและความบั่นทอนภายในจิตใจมากมายเท่าไหร่แต่หยดสุดท้ายลมหายใจจริงๆท่านทำให้ทุกคนได้เห็น-ประจักษ์ (ใช่สำคัญ-อยู่ที่ใจต่างหาก สู้ไหม ยอมรับสภาพได้หรือไม่ ต่างหาก) 

หมายเลขบันทึก: 469470เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2011 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 22:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ภาษาอังกฤษ-เยอรมัน-รัสเซีย ภาษาใดๆเหล่านี้ไม่ต้องเสียเงินเรียนเพื่อรู้ แต่เค้ารู้จักเก็บเกี่ยวประโยชน์ในคราวลำบาก แตกต่างจากคนไทยที่อยู่(ใช้สอย)ความสบายจากสิ่งที่คนรุ่นก่อนทำไว้ให้

...

อ่านแล้ว ทำให้นึกถึงชาวยิว (jewish) ที่ชนชาตินี้ต้องผ่านความลำบาก โดนขับไล่ ทารุณ จึงทำให้มีเขาปลูกฝัง การคิดค้นเพื่อชีวิตที่ดีกว่า และ ให้ความสำคัญกับการสร้าง  network คะ..

ชาวยิวเป็นชนชาติที่มีความเก่งและความฉลาดอยู่ในเผ่าพันธุ์

ด้วยเหตุแห่งความโดดเด่นนั้น(เป็นภัย)จึงทำให้ถูกบีบคั้นต่างๆนานาๆ แต่เพราะว่าสิ่งที่มีดั้งเดิมในสายเลือดไม่เคยจางหาย(เปรียบได้ดั่งเหล็กกล้ายิ่งตียิ่งแข็งแกร่ง-การมองเห็นคุณค่าของตัวเอง)ความลำบากจึงถูกแปรเปลี่ยนมาเป็นพลังงานเพื่อสร้างสรรค์สิ่งต่างๆที่ดีและเป็นประโยชน์ให้คนทั้งโลกได้ประจักษ์-ได้รับเช่นทุกวันนี้(เก่งและดี "ดี"-เพราะก่อเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมทั้งโลก)

ขอบพระคุณค่ะ....!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท