CQI กับพัฒนาบันทึกทางการพยาบาล ที่หนองจิก


ย้อนรอย

CQI กับพัฒนาบันทึกทางกาพรยาบาล  ที่หนองจิก

กระบวนการพยาบาล กับ บันทึกทางการพยาบาล  ที่หนองจิก

เป็นเรื่องเล่า ผ่านวิชาชีพ ที่เกิดขึ้นมายาวนาน  เท่ากับ โอกาสของเราที่เกิดมาเป็น พยาบาลชุดสีขาว

พัฒนากันมา แบบไม่มีจุดหมายมากนัก จวบจน ปี ๒๕๔๗

ได้ถอดบทเรียน ความต้องการ ของการเติมเต็มในการพัฒนาบันทึกทางการพยาล

ที่สื่อให้เห็นถึงการใช้กระบวนการพยาบาล  ในการปฏิบัติการพยาบาล  พบว่า

๑. ขาดอัตรากำลังในการ ปฏิบัติงาน ทำให้ใม่มีเวลาในการบันทึก

ปัจจุบัน สามารถ จัดอัตรากำลังได้เต็มระบบแล้วคะ ๒๒ คน   ตามความต้องการ ของอัตรากำลัง

จากเกณฑ์สภาการพยาบาล และสำนัการพยาบาล ขอขอบคูณโครงการผลิตพยาบาลเพิ่ม ฯ

๒. ไม่รู้จะบันทึกอะไร  ไม่มีตัวอย่างในการบันทึก

๓  ไม่มีความชัดเจนในเรื่องของระดับความรุนแรงของผู้ป่วย 

๔. ไม่เห็นประโยชน์ของการบันทึก

 อันนี้ต้องใช้กำลัง กันหน่อย ขอเวลาอีกนิด (สัก ๑๔ ปี  พอดีเกษณียน )

๕  บันทึกไปแล้ว ไม่มีใครอยากอ่าน เพราะอ่านแล้ว อ่านไม่ออก

ขอเป็นแผนปี ๕๕  ขอซื้อคอมพิวเตอร์ไปแล้ว ๔ ตัว   จะทำอะไร ยังไม่รู้เหมือนกัน 

 

เริ่มต้น เรื่องราว ที่น่าสนใจเหล่านั้น ด้วยแนวทางของทีม ฯ ในหลายปีที่ผ่านมา  ดังนี้

๑  พัฒนา ตัวอย่างบันทึก ทางการพยาบาล  ในโรคที่พบบ่อยในตึกผู้ป่วยใน

 โรงพยาบาล หนองจิก จำนวน ๑๘  โรค 

( ตัวอย่างบันทึก ๑๘ โรค จะใส่ไว้ให้อ่าน ในลิงค์เร็วๆนี้คะ  )

๒.ทบทวนการแบ่งระดับการดูแลแลผู้ป่วย ให้เป้นรูปธรรม

( คะแนนเกณฑ์แบ่งระดับผู้ป่วย มาในลิงค์ เร็วๆนี้คะ )

๓. สร้างเครื่องมือนการตรวจสอบบันทึกทางการพยาบาล 

๔. เวทีนำเสนอ การตรวจสอบบันทึกทางการพยาบาล

๕ . วิจัย บันทึกทางการพยาบาล กับการใช้กระบวนการพยาบาล

๖.  กิจกรรม การแจกดาว

 

เรื่องราวมากมายเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา ๘ ปี  ผลการตรวจสอบการเขียนบันทึกทางการพยาบาลที่สื่อให้เห็นถึงการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาล ไม่มีความยั่งยืน มากนัก 

บันทึกทางการพยาบาลดูเหมือน จะดูดี ในช่วงที่ใส่กิจกรรม หรือ มีโปรแกรม ของตรวจสอบ ที่เข็มงวดและหย่อนยานลงเมื่อทีมพัฒนาออ่นตัวลงเช่นกัน

ความน่าสนใจที่คงไว้ ของการบันทีก ฯ

๑. ความยั่งยืนที่เกิดขึ้นในจิต  และวิญญาณ ของผู้บันทึก

๒. บันทึกแล้ว ต้องอ่านออก

๓. บันทึกแล้ว ต้องเอาไปใช้ประโยน์ ต่อการดูแลผู้ป่วย ทั่งในวิชาชีพ และ สหวิชาชีพ

๔. บันทึกแล่ว ต้อง สื่อให้เห็น ถึงการทำงานที่มีวงล้อ ของ PDCA , APIE

๕. ที่สำคัญ ต้องเป็นบันทึกที่มีชีวิต

ถอดบทเรียน อีกครั้ง  เพื่อสานเรื่องราวในการพํฒนาบันทึกในปี  ๒๕๕๖    ต่อไป อย่างไร

ได้ข้อมูล  แล้ว เดินหน้าต่อ  

๑. ติดตามระบบงาน และการวัดสมรรถนะ  กับการตรวจสอบ โดย ใช้แบบ ๓๖๐ องศา  อันนี้ ไม่น่าจะถี่มากนัก

๑.๑ เป็นหนึ่งในกิจกรรม เข้าฐานเพื่อวัสมรรถนะ

๑.๒ ผลการวัดจะออกมา แบบ Two Way

๑.๓ แบบฟอร์ม เดิม เครื่องมือเดิม

๑.๔ เวทีร่วม คือการวางแผนการจำหน่ายในกลุ่มโรคเรื้อรังกับการพัฒนาบันทึกในกลุ่มโรคเรื้อัรัง

ก็ลองดูกันอีก สักรอบ นะ  เพราะที่ผ่านก็หลายวงล้อไปแล้ว ก็ยัง  

เหมือนตอนที่ยังไม่ได้ทำอะไร   คงเพราะยังไม่เห็นฝัน ที่อยากได้เลย เศร้านะ เนี่ยะ

 สุดท้าย  อยากพัฒนาระบบบันทีกการพยาบาลที่ข้างเตียงผู้ป่วยด้วยคอมพิวเตอร์   ไม่รู้จะทำได้เมื่อไร 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ย้อนรอย
หมายเลขบันทึก: 469434เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2011 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2013 22:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท