ช่วยเด็กสมาธิสั้น( ADD)ในห้องเรียนโดยผศ.นพ.ปราโมทย์ สุคนิชย์


เคล้ด 50 อย่างช่วยเด็กสมาธิสั้น

เคล็ด 50 อย่างในการช่วยเด็กสมาธิสั้น( ADD) ในห้องเรียน

    Add ย่อมาจาก attention disorder หมายถึง โรคสมาธิสั้น  ครูอาจารย์รู้หลายอย่างที่แพทย์ ไม่รู้ นั่นก็คือ อาการของ ADD ปรากฏได้หลายแบบมาก ซ้ำยังเกิดร่วมกับความผิดปกติอื่นๆ อีกเช่น learning disabilites หรือปัญหาทางอารมณ์ ราวกับว่าปัญหาของ ADD เปลี่ยนสภาพอากาศไม่แน่นอน คาดการณ์ไม่ได้ แม้วิธีการรักษา ADD จะมีปรากฏในหนังสือมากมาย แต่ก็ยังคงเป็นงานยาก และหนักกับผู้ปฏิบัติเสมอ


   ไม่มีทางออกง่ายๆ สำหรับการแก้ปัญหาของADDในห้องเรียน หรือที่บ้าน ความสำเร็จของการรักษาในโรงเรียนขึ้นอยู่กับความรู้ และความหนักแน่น สม่ำเสมอของครู และโรงเรียนเป็นอย่างมาก


    ต่อไปนี้เป็นเคล็ด บางประการในการช่วยเด็ก ADD ในโรงเรียน โดยมุ่งให้ครูอาจารย์ช่วยเด็กในทุกวัย แต่ครูอาจเห็นว่า บางข้อเหมาะสำหรับเด็กบางวัยมากกกว่า อย่างไรก็ตาม หลักการเรื่อง การมีกรอบ การให้ความรู้และการชักจูง สนับสนุนยังคงเป็นแนวคิดหลักเสมอ


1. ข้อแรก คือท่านต้องมั่นใจว่าท่านกำลังช่วยเด็กADD มิใช่เป็นปัญหาของการได้ยิน-การมองเห็น


2. หาผู้สนับสนุนท่าน คือ โรงเรียน และผู้ปกครอง การมีเด็ก ADD อยู่ในชั้น 2-3 คนก็เป็นเรื่องเหนื่อยมากอยู่แล้ว หาผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาได้เช่น นักการศึกษาพิเศษ จิตแพทย์เด็ก นักจิตวิทยา ประจำโรงเรียน หรือกุมารแพทย์ หาความร่วมมือจากผู้ปกครอง และหาเพื่อนครูมาช่วย


3.  จงรู้จักของตนเอง อย่ากลัวที่จะขอความร่วมมือ ครูคงไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง ADD


4.  ถามเด็กว่า จะให้ช่วยอย่างไร เด็กเหล่านี้มักบอกได้ว่า อยากให้ท่านช่วยอย่างไร เมื่อถูกถาม อย่าอายที่จะถามเด็ก พยายามหาเวลาคุยกับเด็กตามลำพังและถามเขา คนที่ตอบได้ดีที่สุดเสมอ คือ ตัวเด็กเอง ซึ่งเรามักละเลยมองข้ามไม่ถามจากเขา ในเด็กโตควรช่วยให้เด็กเข้าใจด้วยว่า ADD คืออะไร ซึ่งจะช่วยท่านได้มาก


5.  ระลึกเสมอว่า การมีกรอบจะช่วยเด็ก ADD กรอบคือ สิ่งรอบตัวที่ช่วยควบคุมตัวเขา เพราะเขาคุมตนเองไม่ได้ การมีตารางเวลาหรือรายการสิ่งที่ต้องทำช่วยเด็ก ADD ที่หลงออกไปเข้ากรอบได้ พวกเขาต้องการสิ่งเตือน  ต้องการแนะ ต้องการย้ำ ต้องการคำสั่ง ต้องการคนให้ขีดจำกัด และจ้องการกรอบที่ชัดเจนแน่นอน


6.  อย่าลืมการเรียน กับ ความรู้สึกเด็กเหล่านี้ต้องการห้องเรียนที่สนุก รู้สึกว่าเขาทำได้ไม่ใช่ล้มเหลว ต้องการความตื่นเต้นมากกว่าความเบื่อหรือความกลัว ควรให้ความสนใจกับเรื่องความรู้สึกคู่ไปกับการเรียนเสมอ


7.   ให้เด็กเขียนกฎ ข้อตกลง แล้วติดในที่ที่มองเห็นได้ เป็นการแสดงให้เขารู้ว่า เขาควรทำอะไรบ้าง


8.   ย้ำคำสั่ง เขียน พูดคำสั่งหลายๆครั้ง คนที่เป็น ADD ต้องการให้คนพูดย้ำหลายๆครั้ง


9.  พยายามสบตาเด็กบ่อยๆ ซึ่งจะเป็นวิธีดึงเด็กกลับมาจาก ความคิดวอกแวก ทั้งเป็นการให้ขั้นตอนเด็กว่าถามได้ หรือแสดงว่าท่านสนใจเขาอยู่


10.  ให้เด็กนั่งใกล้โต๊ะ หรือ ที่ที่ท่านยืนอยู่มากที่สุด

 

 

11.   ให้ขอบเขต และข้อจำกัด โดยวิธีละมุนละม่อม ไม่ใช่ลงโทษ ทำอย่างสม่ำเสมอทุกครั้ง ทันท่วงทีและง่ายๆ ไม่ต้องเข้าไปถกเถียงกับเด็กมากมาย เหมือนทนายทำในศาล การพูดยิ่งยาวยิ่งไม่ได้ผล


12.   ทำตารางเวลาให้สม่ำเสมอที่สุดที่ทำได้ ติดตารางบนโต๊ะเด็กหรือ กระดาน ชี้ให้เด็กเห็นบ่อยๆ ถ้าท่านจะเปลี่ยนตาราง ควรเตือนให้เด็กทราบก่อนหลายครั้ง การเปลี่ยนโดยไม่บอกล่วงหน้าทำให้เด็กปฏิบัติด้วยยาก จนเหมือนไม่ร่วมมือ


13.   พยายามให้เด็กจัดตารางเวลาหลังเลิกเรียนของตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่เกิดขึ้นมากของเด็ก ADD คือการผัดผ่อน


14.   พยายามลดการทดลองย่อยๆกับเด็กเหล่านี้ เพราะไม่สามารถวัดความรู้จากเด็กADD ด้วยวิธีนี้ได้


15.   ปล่อยให้เด็กมีอิสระบ้าง เช่น ให้ออกนอกห้องเป็นครั้งคราว ดีกว่าจำกัดไว้แล้วเด็กหนีหายไปเลย เขียนไว้เป็นกฎ แล้วให้เด็กหัดควบคุมตนเอง


16.   ให้การบ้านที่มีคุณภาพมากกว่าปริมาณ เด็กADD อาจทำไม่ได้มากเท่าคนอื่น ควรสอนวิธีคิดให้เด็กในระยะเวลาเรียนเท่าเดิม  แต่ไม่ให้งานมากจนเด็กทำไม่ได้


17.   ติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิด และช่วยเตือนให้เด็กอยู่กับร่องกับรอย เขาจะรู้ว่าเขาควรทำอะไร และหากทำตามเป้าหมายได้ จะเป็นสิ่งที่ให้กำลังใจเด็กอย่างมาก


18.  ย่อยงานใหญ่ๆให้เป็นงานย่อยๆ ถือเป็นหัวใจหลักในการที่ครูจะสอนลูกศิษย์ ADDได้ เด็กADD เมื่อเผชิญกับงานใหญ่มากๆ จะท้อก่อนทำว่า  ฉันมีทางทำได้  จะช่วยให้เขามั่นใจขึ้น โดยทั่วไปเด็กมีความสามารถที่จะทำงานได้มากกว่าที่เขาคิดเองอยู่แล้ว แต่การย่อยงานให้เขาทำจะช่วยพิสูจน์สิ่งนี้แก่เขา ในเด็กเล็กวิธีช่วยให้เด็กหงุดหงิดอาละวาดลดลงได้มาก แต่เด็กโตความรู้สึกเป็นคนแพ้จะลดลง ท่านควรทำเช่นนี้เป็นประจำ


19.   ทำตัวให้รื่นเริง ง่ายๆ มีอารมณ์ขัน หาสิ่งแปลกใหม่ๆเรื่อยๆ เพื่อทำให้เด็กกระตือรื้อร้น และคงความสนใจ เด็กเหล่านี้มีชีวิตชีวา ชอบเล่น เกลียดสิ่งน่าเบื่อ จงลองทำตัวสนุกๆเป็นครั้งคราวจะช่วยได้มาก


20.  ป้องกันการเกิดสิ่งเร้าที่มากเกินไป เด็ก ADD เหมือนหม้อตั้งไฟ มีโอกาสเดือดล้น ได้ตลอดเวลา หากเห็นห้องไม่มีระเบียบ จัดการเสียตั้งแต่ต้น อย่ารอให้เป็นจลาจล


 

 

21.  หาสิ่งสำเร็จเล็กๆน้อยๆในตัวเขาเสมอ เด็กเหล่านี้เคยพบแต่ความล้มเหลวและเขาต้องการคนให้กำลังใจ แต่อย่าทำจนเกินไป เด็กต้องการและได้ประโยชน์จากคำชม การให้กำลังใจเหมือนให้น้ำกับคนกระหาย หากมีน้ำก็รอดและเติบโต หากขาดน้ำมีแต่จะแย่ลง บ่อยครั้งที่ความเสียหายจาก ADD เองไม่รุนแรงเท่าความเสียหายจากความไม่มีความมั่นใจในตนเอง ให้น้ำแต่พอดีแล้วเด็กจะสำเร็จ


22.   เด็กเหล่านี้ มักมีปัญหาความจำ ช่วยเด็กโดยแนะเคล็ดการช่วยจำ เช่น  การย่อ ทำรหัส ผูกเป็นโคลง ทำสัญลักษณ์ หาเสียงคล้ายกัน จะช่วยเด็กได้มาก


23.  สอนเด็กในการจำหัวข้อ ขีดเส้นใต้ ซึ่งเด็ก ADD มักไม่ทำ ถือเป็นการช่วยเตือนสติเด็กให้เรียนได้ขณะกำลังเรียนอยู่จริง ซึ่งสำคัญที่สุดกว่าการให้ไปเรียนพิเศษเพิ่มที่หลัง


24.  บอกเด็กก่อนว่าจะพูดถึงเรื่องอะไร ต่อไป บอกหัวข้อ แล้วค่อยตามด้วยเนื้อเรื่อง เด็ก ADD มัดเรียนจากการมองเห็นได้มากกว่าการฟัง ท่านอาจพูดไปเขียนไป หมือนช่วยเติมการให้ความจำ


25. ใช้คำสั่งง่ายๆยิ่งง่ายยิ่งเข้าใจได้ดี ใช้ภาษาให้น่าสนใจ เหมือนมีสีสัน จะช่วยดึงความสนใจ


26. เตือนให้เด็กรู้จักสังเกตตนเอง ซึ่งเด็กเหล่านี้มักไม่สามารถติดตามได้ว่านตนเองกำลังคิดหรือทำอะไร การเตือนควรใช้คำถามที่สร้างสรรค์ เช่น เมื่อกี้ หนูเพิ่งทำอะไร   ถ้าให้ลองพูดอีกครั้ง หนูจะพูดได้ไหมว่าอะไร ทำไมหนูถึงว่าเด็กคนนั้นหน้าเสียตอนหนูพูดอย่างนั้น คำถามเหล่านี้จะช่วยให้เขาสังเกตนเองเป็น


27.  ทำลิ่งที่คาดหวังจากเด็กให้ชัดเจน


28.   การให้สะสมคะแนนเอารางวัล เป็นส่วนช่วยในการควบคุมพฤติกรรม เด็กADD ตอบสนองดีกับการให้การจูงใจและรางวัล เขาชอบการท้าทาย


29.  ถ้าเด็กเข้าใจภาษากาย เช่น ท่าทาง น้ำเสียง หรือกาลเทศะ ได้ ควรช่วยเด็กให้เข้าสังคมได้ง่ายขึ้น เช่น สอน ก่อนที่หนูจะเล่าเรื่องให้คนอื่นฟัง ถามว่าเขาอยากเล่าอะไรก่อน มองหน้าคนอื่นด้วยเวลาพูด เด็ก ADD มักถูกมองว่า หยิ่ง เห็นแก่ตัว ซึ่งที่จริงเขาไม่รู้วิธีเข้าสังคม ทักษะพวกนี้แม้ไม่ได้ติดตัวมาแต่เกิด แต่ก็สอนได้


30.  สอนวิธีการทำข้อสอบให้เด็ก

 

 

31.  ทำการเรียนให้เหมือนเล่นเกม การสร้างแรงจูงใจ เด็กADD ได้มาก


32.  แยกเด็ก ADD ออกจากกันไม่ให้เป็นคู่หรือกลุ่ม เพราะมักทำให้เด็กแย่ลง


33.  ให้ความสนใจในการมีส่วนร่วม เด็กเหล่านี้อยากเข้าร่วมและมีปฏิสัมพันธ์ ตราบใดที่เด็กอยู่ในภาวะที่มีส่วนร่วม เด็กจะอยากทำและไม่วอกแวก


34. มอบความรับผิดชอบให้เด็กทำเองเสมอเมื่อเป็นไปได้


35.  ลองทำบันทึกจากบ้าน โรงเรียน บ้าน ทุกวัน เพื่อช่วยให้ครูและผู้ปกครองเข้าใจกัน และช่วยให้เด็กได้รับสิ่งที่ต้องการ


36.  ลองทำรายงานประจำวัน


37.  ช่วยเด็กให้ทำรายงาน และให้เด็กสังเกตตนเอง แล้วพบอาจารย์หลังเลิกเรียนทุกวัน


38.  จัดเวลาพักสบายให้เด็กไว้ โดยให้เด็กทราบล่วงหน้าเพื่อเด็กจะได้เตรียมใจ การให้เวลาพัก ให้กำลังใจ  การให้เวลาพักโดยเด็กไม่ได้คาด จะทำให้เด็กตื่นเต้นและถูกกระตุ้นมากเกินไป


39.  พึงชมเชยให้กำลังใจ ยอมรับ ทำให้เด็กรู้สึกมีคุณค่าเสมอ


40.  สำหรับเด็กโต ให้เด็กจดคำถามี่เกิดขึ้นระหว่างฟังไว้ นอกเหนือจากจดสิ่งที่ครูพูดให้ฟัง จะช่วยให้เด็กเรียนได้ดีขึ้น

 

 

41.   ลายมือเด็กเหล่านี้อาจไม่ดีนัก ให้เด็กหัดใช้แป้นพิมพ์ หรือตอบคำถามปากเปล่าบ้าง


42. ทำตัวเหมือนผู้ควบคุมวงดนตรี ทำให้ลูกวงสนใจก่อนเริ่มเล่น โดยอาจทำตัวเงียบ เคาะโต๊ะ แบ่งเวลาให้แต่ละคนในห้อง โดยอาจชี้ให้เด็กช่วยตอบ


43.  จัดคู่หู เพื่อนช่วยเรียน และให้เบอร์โทรศัพท์ติดต่อไว้


44.  ช่วยอธิบาย ทำให้การรักษาดูเป็นเรื่องธรรมดา เพื่อลดความอายของเด็ก


45.  พบผู้ปกครองบ่อยๆ ไม่ใช่พบแต่เมื่อเกิดปัญหา


46.   ให้อ่านออกเสียงที่บ้านและในห้องเรียนเท่าที่เป็นไปได้ อาจให้อ่าน นิทาน จะช่วยให้เด็กมีทักษะในการคงความสนใจอยู่กับเรื่องเดียวได้


47.   พูดย้ำ ย้ำ และย้ำ


48.  การออกกำลังกาย ช่วย ADD ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะการออกกำลังกายหนักๆ เพราะช่วยทำลายพลังงานส่วนเกิน ช่วยให้มีสมาธิ และเป็นการกระตุ้นสารต่างๆในร่างกายซึ่งเป็นประโยชน์และสนุก และเขาจะทำตลอดไป


49.  สำหรับเด็กโต ช่วยเตรียมตัวเรียนสำหรับวันรุ่งขึ้น โดยคุยกับเด็กว่าเขาจะเตรียมตัวอย่างไร


50.   มองหาส่วนดีที่ปรากฏขึ้นในเด็กเสมอ เด็กเหล่านี้มักฉลาดกว่าที่เราเห็น มีความสร้างสรรค์ ขี้เล่นและเป็นกันเอง เขาพยายามจะ กลับ มาสู้เสมอ เขาต้องการกำลังใจและดีใจที่มีคนช่วย จำไว้ว่าต้องมีทำนองก่อนจะเขียนโน้ตประสานเสียงเสมอ

 

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ คอลัมน์ พบหมอรามา โดย ผศ.นพ.ปราโมทย์ สุคนิชย์
ด้วยความปรารถนาดี   กานดา แสนมณี
 

 

 ขอบคุณภาพ โดเรม่อนน่ารักๆ จากอินเตอร์เน็ต

 

หมายเลขบันทึก: 469397เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2011 07:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 07:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นบทความที่ยอดเยี่ยมมากครับ

ปี้ดาเจ้า

มีประโยชน์มากๆ เลยค่ะ ที่รร. มีเด็กประมาณนี้เยอะ ขอนำไปบอกต่อ

ช่วงนี้ไม่ค่อยได้จับภาพน้องฟ้ากะนายเมฆเลยค่ะ แต่ได้มองภาพของปี้ดาก็ชื่นใจ

สบายดีนะเจ้า

สวัสดีค่ะ

คุณบีเวอร์  Ico48

ขอบคุณมากค่ะ ฝากบอกต่อกับโรงเรียนต่างๆที่รู้จักด้วยนะคะ อย่างน้อยได้เป็นแนวทางให้ครู และผู้ปกครอง ฯว่า ควรทำอย่างไรได้บ้างเพื่อเด็กๆที่เป็น ADD ซึ่งหากดูแลได้ดี ก็ลดความวิตกกังวลในใจของผู้ดูแลได้มาก เมื่อตั้งใจเต็มใจพร้อมจะดูแล ด้วยใจ เด็กๆก็มีความสุขได้นะคะ

น้องpoo

  ดีเลยค่ะ พี่ดาฝากไปบอกกล่าวกับครูและผู้ปกครอง ฝากถ่ายเอกสารให้ผู้ปกครองด้วยนะคะ  เพราะบางข้อปฏิบัติที่บ้านก็ได้ เวลาชมเมฆ หรือมองดอย เราส่งฝากความคิดถึงไปกับนายเมฆและน้องฟ้ากันเสมอนะคะ พี่ดาสบายดี ขอบคุณมากค่ะ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท