การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา 19 แห่ง


คณะกรรมการการอาชีวศึกษาหรือที่เรียกว่า บอร์ดของ สอศ. ได้พิจารณาคัดเลือกสถานศึกษา โดยประเมินศักยภาพจำนวน 156 แห่ง จาก 415 แห่งทั่วประเทศ หลอมรวมเข้าเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา 19 แห่ง เพื่อให้สามารถเปิดสอนได้ในระดับปริญญาตรี และปฏิบัติงานได้ตาม พรบ.การอาชีวศึกษา 2551

คณะกรรมการการอาชีวศึกษาหรือที่เรียกว่า บอร์ดของ สอศ.  ได้พิจารณาคัดเลือกสถานศึกษา โดยประเมินศักยภาพจำนวน 156 แห่ง จาก 415 แห่งทั่วประเทศ หลอมรวมเข้าเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา 19 แห่ง เพื่อให้สามารถเปิดสอนได้ในระดับปริญญาตรี และปฏิบัติงานได้ตาม พรบ.การอาชีวศึกษา 2551 เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของการอาชีวศึกษาอันเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ.2551 ที่ผ่านเป็นกฎหมายมาหลายปี   แต่ยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ อันเกิดผลความเสียหายในหลายประการเช่น

1. การไม่จัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา  ทำให้ไม่สามารถอาชีวศึกษาไม่สามารถเปิดสอนระดับปริญญาตรีในสถาบันที่มีความพร้อมได้

2. นักศึกษาที่สำเร็จระดับ ปวส.ไม่สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีต่อเนื่องสองปี ได้  เนื่องจาก สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) เห็นว่าทางอาชีวศึกษาจะเปิดระดับปริญญาตรีเอง  จึงได้ให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งยกเลิกการรับ ปวส. และหลักสูตรปริญญาตรีสองปีหลัง  นับแต่ปี พ.ศ.2553

3. นักศึกษาระดับ ปวส. มีจำนวนลดลง  เนื่องจากค่านิยมการเรียนระดับปริญญาตรี  เมื่อนักศึกษาเห็นว่าไม่สามารถเรียนต่อระดับปริญญาตรี  จึงไม่สนใจเรียนในระดับ ปวส. และเมื่อจบ ปวช. ก็ไปเรียนต่อในระดับปริญญาตรี   ทำให้เกิดความสูญเปล่าทางการศึกษา   เพราะถ้าผู้เรียนจะเรียนในระดับปริญญาตรี 4 ปี  ก็ควรไปเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  ไม่ใช่ในระดับ ปวช. ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงกว่า ม.ปลาย

4. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ไม่สามารถปรับปรุงหลักสูตร ปวช.,ปวส. ที่มีการใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 ซึ่งถือว่าล้าสมัยมาก   เนื่องจากการปรับปรุงหรือจัดทำหลักสูตรใด ๆ จะได้ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาสถาบันการอาชีวศึกษา  และเสนอต่อ สอศ.  เมื่อไม่มีสถาบันการอาชีวศึกษา  ก็ไม่มีสภาสถาบัน  อันส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับหลักสูตรได้

5. การตรวจประเมินผลงานเพื่อการเลื่อนวิทยฐานะของครู  ยังคงเป็นการตรวจประเมินแบบรวมศูนย์ที่ส่วนกลาง  เพราะไม่มีสถาบันในการกระจายอำนาจการตรวจประเมินผลงาน   ซึ่งต่างกับครู สพฐ. ที่ตรวจประเมินผลงานในเขตพื้นที่การศึกษา    ผลทำให้ครูอาชีวศึกษาจำนวนมาก   เสียเวลาและเสียโอกาสในการเลื่อนวิทยฐานะและใช้เวลาในการตรวจประเมินเป็นเวลานาน

6. พรบ.การอาชีวศึกษา มีหลักการกระจายอำนาจไปยังสถาบันการอาชีวศึกษาเพื่อให้บริหารจัดการและพัฒนาการศึกษาได้เอง   มีความคล่องตัวและดำเนินการพัฒนาวิชาการ พัฒนาครูและบุคลากร พัฒนาผู้เรียนได้ตรงตามความต้องการของท้องถิ่นและสถานประกอบการ   เมื่อไม่มีการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา  จึงไม่มีการดำเนินการกระจายอำนาจลงสู่สถานศึกษา

7. พรบ.การอาชีวศึกษา กำหนดให้มีสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ  ที่ทำหน้าที่ในการดำเนินการให้มีมาตรฐาน สมรรถนะวิชาชีพ และคุณวุฒิวิชาชีพของผู้สำเร็จการศึกษาในอาชีพต่าง ๆ  เชื่อมโยงกับสถาบันการอาชีวศึกษา   ทำให้ไม่สามารถดำเนินการตามนโยบายที่จะเปลี่ยนจากการรับค่าตอบแทนตามวุฒิการศึกษา  เป็นการรับค่าตอบแทนตามคุณวุฒิวิชาชีพ   อันเป็นการเสียโอกาสของผู้สำเร็จการศึกษา

ปัญหาของการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ดำเนินมานับแต่มีแนวคิดจัดตั้งสถาบันตั้งแต่ปี พ.ศ.2535  นับถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 20 ปี  เป็นการเสียโอกาสของประเทศ และพัฒนาการด้านการอาชีวศึกษา  หวังว่าการเสนอจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาครั้งนี้จะประสบความสำเร็จ   หลังจากมีความพยายามเช่นนี้มาหลายครั้งหลายครา

...........................................................................................................

 

เดลินิวส์

บอร์ด กอศ.ผ่าน19สถาบันอาชีวะ 

วันอังคาร ที่ 22 พฤศจิกายน 2554 เวลา 8:43 น

 

 

ศ.ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ ประธานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (บอร์ด กอศ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมบอร์ด กอศ.ครั้งที่ 12/2554 เมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ประชุมได้มีการวิเคราะห์ความพร้อมและความเหมาะสมของสถานศึกษาอาชีวศึกษาที่จะรวมกันเพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาแบบกลุ่มจังหวัด 19 สถาบัน ตามที่คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจประเมินความพร้อมในการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ที่มี รศ.ดร.ศักดิ์ กองสุวรรณ เป็นประธานได้ประเมินความพร้อมสถานศึกษาและนำเสนอต่อบอร์ด กอศ.จำนวน 156 สถานศึกษา ซึ่งหลังจากที่บอร์ดกอศ.ได้วิเคราะห์ความพร้อมและความเหมาะสมของสถานศึกษาทั้ง 156 แห่งแล้วได้มีมติเห็นชอบให้คณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย ที่มีนายเฉลิมศักดิ์ นามเชียงใต้ เป็นประธาน ไปจัดทำร่างกฎกระทรวงการรวมสถานศึกษาเพื่อการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อนำกลับมาเสนอบอร์ด กอศ.ในวันที่ 7 ธ.ค.54 ก่อนเสนอนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.ศึกษาธิการ เพื่อนำเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.)ต่อไป พร้อมกันนี้ที่ประชุมได้มอบหมายให้เลขาธิการ กอศ.รายงานผลการดำเนินงานต่อ นายวรวัจน์ เพื่อรับทราบทุกขั้นตอนด้วย เนื่องจากเป็นนโยบายของนายวรวัจน์ที่จะผลักดันให้เกิดสถาบันการอาชีวศึกษาได้ทันปีการศึกษา 2555
    
สำหรับสถานศึกษาที่ผ่านการประเมินความพร้อมเพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันการอาชีวศึกษา 19 สถาบัน ได้แก่ 1. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิค(วท.)นนทบุรี วท.ปทุมธานี วท.ธัญบุรี วิทยาลัยอาชีว ศึกษา (วอศ.) ปทุมธานี วท.สระบุรี วอศ.สระบุรี วท.พระนครศรีอยุธยา วท.อุตสาหกรรมยานยนต์ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา และวอศ.พระนครศรีอยุธยา 2. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2 ประกอบด้วย วท.ชัยนาท วท.ลพบุรี วอศ.ลพบุรี วท.สิงห์บุรี วท.สิงห์บุรี แห่งที่ 2 วอศ.สิงห์บุรี และ วท.อ่างทอง 3. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3 ประกอบด้วย วท.ฉะเชิงเทรา วท.จุฬาภรณ์ (ลาดขวาง) วอศ.ฉะเชิงเทรา วท.สมุทรปราการ วท.นครนายก วอศ.นครนายก วท.ปราจีนบุรี วท.บูรพาปราจีน และวท.สระแก้ว 4. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 ประกอบด้วย วท.นครปฐม วอศ.นครปฐม วท.กาญจนบุรี วอศ.กาญจนบุรี วิทยาลัยการอาชีพ (วก.) กาญจนบุรี วท.สุพรรณบุรี วอศ.สุพรรณบุรี วท.ราชบุรี และ วท.โพธาราม ราชบุรี5. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 ประกอบด้วย วท.สมุทรสาคร วท.สมุทรสงคราม วท.เพชรบุรี วอศ.เพชรบุรี วก.วังไกลกังวล ประจวบคีรีขันธ์ วท.ประจวบคีรีขันธ์ และ วก.บางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ 6. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 ประกอบด้วย วท.สุราษฎร์ธานี วอศ.สุราษฎร์ธานี วท.นครศรีธรรมราช วท.สิชล นครศรีธรรมราช วท.ทุ่งสง นครศรีธรรมราช วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช วอศ.นครศรีธรรมราช วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช วก.นครศรีธรรมราช วท.ชุมพร และ วท.พัทลุง 7. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 ประกอบด้วย วท.ระนอง วท.พังงา วท.ภูเก็ต วอศ.ภูเก็ต วท.กระบี่ วท.ตรัง และ วก.ตรัง 8. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 ประกอบด้วย วท.ปัตตานี วอศ.ปัตตานี วก.ปัตตานี วท.ยะลา วอศ.ยะลา วท.หาดใหญ่ วอศ.สงขลา และวท.สตูล 9. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก ประกอบด้วย วท.ชลบุรี วท.สัตหีบ ชลบุรี วอศ.ชลบุรี วอศ.เทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ชลบุรี วท.ระยอง วท.มาบตาพุด ระยอง วท.บ้านค่ายระยอง วท.จันทบุรี และ วท.ตราด 10. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 ประกอบด้วย วท.หนองคาย วอศ.หนองคาย วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการต่อเรือหนองคาย วก.บึงกาฬ วท.หนองบัวลำภู วท.เลย วอศ.เลย วท.อุดรธานี วอศ.อุดรธานี และ วท.กาญจนาภิเษกอุดรธานี
    
11. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ประกอบด้วย วท.สกลนคร วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการนครพนม วท.บ้านแพง นครพนม และ วก.นวมินทราชินีมุกดาหาร 12. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 ประกอบด้วย วท.กาฬสินธุ์ วท.มหาสารคาม วอศ.มหาสารคาม วท.ขอนแก่น วอศ.ขอนแก่น วก.ขอนแก่น วท.ร้อยเอ็ด วอศ.ร้อยเอ็ด และวก.ร้อยเอ็ด 13. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 ประกอบด้วย วท.อุบลราชธานี วอศ.อุบลราชธานี วท.ศรีสะเกษ วก.ศรีสะเกษ วท.ยโสธร วท.อำนาจเจริญ และ วท.เดชอุดม อำนาจเจริญ 14. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 ประกอบด้วย วท.นครราชสีมา วอศ.นครราชสีมา วท.หลวงพ่อคูณ นครราชสีมา วท.สุรนารี นครราชสีมา วท.คูเมือง นครราชสีมา วท.ชัยภูมิ วท.บุรีรัมย์ วท.สุรินทร์ และวอศ.สุรินทร์ 15. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 ประกอบด้วย วท.เชียงใหม่ วอศ.เชียงใหม่ วท.ลำพูน วท.ลำปาง วอศ.ลำปาง และวก.นวมินทราชินีแม่ฮ่องสอน 16. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 2 ประกอบด้วย วท.เชียงราย วอศ.เชียงราย วท.กาญจนาภิเษกเชียงราย วท.พะเยา วท.น่าน วท.แพร่ และวอศ.แพร่ 17. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ  3 ประกอบด้วย วท.พิษณุโลก วอศ.พิษณุโลก วิทยาลัยพณิชยการ (วพณ.) บึงพระพิษณุโลก วท.เพชรบูรณ์ วท.สุโขทัย วอศ.สุโขทัยวท.อุตรดิตถ์ และวอศ.อุตรดิตถ์ 18. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4 ประกอบด้วย วท. นครสวรรค์ วอศ.นครสวรรค์ วก.นครสวรรค์ วท. กำแพงเพชร วท.พิจิตร และ วท.อุทัยธานี 19. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยวท.มีนบุรี วท.กาญจนาภิเษกมหานคร วท.ดอนเมือง วท.ดุสิต วท.ราชสิทธาราม วอศ.เสาวภา วอศ.ธนบุรี วพณ.อินทราชัย วพณ.บางนา วพณ.เชตุพน กาญจนาภิเษก วิทยาลัยช่างทองหลวง และวก.กาญจนาภิเษกหนองจอก.

หมายเลขบันทึก: 468987เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2011 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท