“เรื่องเล่าบริการปฐมภูมิ...คุณค่า ความหมาย สู่มาตรฐาน PCA”



หลังจากได้พัฒนาทีมสนับสนุนระดับอำเภอเพื่อพัฒนารพ.สต.ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ไปแล้ว ๓ ครั้ง ครั้งแรกปลายเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ ได้จัดกระบวนการเรียนรู้รูปแบบ Dialogue ๒ วัน เพื่อให้ทีมสนับสนุนการเรียนรู้ระดับอำเภอได้มีทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้และทักษะในการฟัง หลังจัดกระบวนการได้มอบหมายภารกิจให้ทีมแต่ละอำเภอไปรับฟังความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการพัฒนารพ.สต.

...................................................................

หลังจากนั้นก็ได้จัดกระบวนการเรียนรู้ในรอบที่ ๒ ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เพื่อให้แต่ละทีมได้เล่าสิ่งที่ได้ดำเนินการรับฟังความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ว่ามีกระบวนการอย่างไร ผลเป็นอย่างไร  

.........................................................................

ครั้งที่ ๓ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพทีมสนับสนุนระดับอำเภอในการพัฒนา PCA ในวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๔ ณ โรงแรมเทวราช เพื่อทบทวนกระบวนการพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ(PCA) โดยใช้เรื่องได้เล่าดีดีที่แต่ละพื้นที่ได้ดำเนินการมาแล้วได้ผลดี มาเป็นกรอบในการเชื่อมโยงไปสู่ PCA ในแต่ละหมวด

..........................................................................

และครั้งที่ ๔ นี้ก็เป็นผลต่อเนื่องจากครั้งที่ ๓ ที่จะได้นำเรื่องราวดีดีมาแบ่งปัน และเชื่อมโยงกับ PCA ในเวที “เรื่องเล่าบริการปฐมภูมิ...คุณค่า ความหมาย สู่มาตรฐาน PCA” ระหว่างวันที่ ๙-๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเทวราช อำเภอเมืองน่าน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้บุคลากรในรพ.สต.และทีมสนับสนุนรพ.สต.ระดับอำเภอ ผ่านเรื่องเล่า (Story telling) และความรู้เรื่องการเขียน Profile PCA  

............................................................................

 

วันแรก กระบวนการเริ่มด้วยการชักชวนการนั่งสมาธิภาวนาเพื่อการตื่นรู้ตามแนวทางของหมู่บ้านพลัม พร้อมกับชมวิดีทัศน์ “บทกวี ความรัก เริ่มด้วยหัวใจ” ของ อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เพื่อเสริมสร้างความรักกันและกัน หลังจากนั้น เริ่มด้วยการเปิดงานและบรรยายพิเศษเรื่อง “คุณค่า ความหมายของระบบบริการปฐมภูมิ” โดย คุณเยาวลักษณ์  อนุรักษ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดน่านด้านวิชาการ ต่อด้วยการทบทวนกระบวนการเนื้อหาและชี้แจงวัตถุประสงค์/กระบวนการ โดย  นพ.กิติศักดิ์  เกษตรสินสมบัติ ผู้อำนวยการ รพร.ปัว

.............................................................................

หลังจากนั้นได้แบ่งห้องย่อย ๒ ห้อง “เรื่องเล่าจากรพ.สต.” โดยมีตัวแทน รพ.สต.อำเภอละ ๑ แห่ง ได้มาเล่าเรื่องดีดีของตนเอง ห้องละ ๘ เรื่อง โดยใช้เวลาเรื่องละ ๑๐ นาที เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องเล่าเรื่องราวดีดีในการพัฒนาระบบบริการ มีเรื่องราวดีดี หลากหลายที่มาแบ่งปันกัน คนเล่ามีความสุข คนฟังปิติสุข

..............................................................................

หลังจากฟังเรื่องเล่าครบทุกแห่งแล้ว ก็มีการสรุปการเรียนรู้จากเรื่องเล่าและการเชื่อมโยงกับคุณภาพของระบบบริการปฐมภูมิ โดย นพ.กิติศักดิ์  เกษตรสินสมบัติ ผู้อำนวยการ รพร.ปัว และทีมกระบวนกร พร้อมกับมอบของที่ระลึกให้คนเล่าเรื่องก่อนแยกย้ายกันกลับไปพักผ่อน

...............................................................................

 

วันที่สอง เริ่มด้วยการทบทวนการเรียนรู้ แล้วนพ.กิติศักดิ์  เกษตรสินสมบัติ ผู้อำนวยการ รพร.ปัว ก็ได้พูดถึงการเชื่อมโยงจากเรื่องเล่าสู่การเขียน Profile PCA แล้วได้ให้ คุณกฤษดา  พรมวรรณ์ รพ.สต.ปัว ได้นำเสนอ Profile PCA ของเครือข่ายหน่วยบริการอำเภอปัว ตั้งแต่หมวด P ๑-๗ เป็นตัวอย่างให้แก่ทีมแต่ละอำเภอ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยได้มอบหมายให้แต่ละทีมอำเภอได้ซักถามแลกเปลี่ยนในแต่ละหมวด เพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน

หลังจากนั้นได้เชิญคุณอภิญญา  น้ำผึ้ง รพ.สต.ศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย ได้นำเสนอ Profile PCA ของรพ.สต.ศรีษะเกษ ในหมวด P ๓ และ ๖ เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่ทีมอำเภอได้เรียนรู้

ปิดท้ายด้วย นพ.กิติศักดิ์  เกษตรสินสมบัติ ผู้อำนวยการ รพร.ปัว และทีมกระบวนกร ได้สรุปสาระสำคัญของการเขียน Profile PCA พร้อมทั้งมอบภารกิจให้แต่ละพื้นที่ได้ไปดำเนินการต่อในพื้นที่

เป็นอันสิ้นสุดการเรียนรู้ในครั้งนี้ แต่ภารกิจยังไม่จบสิ้น ยังคงต้องดำเนินการต่อไปพื้นที่ แล้วนำกลับมาเล่าสู่กันฟังใหม่ ที่เริ่มมีทิศมีทางมากยิ่งขึ้น

................................................................................

ขอบคุณเรื่องเล่าดีดีจากรพ.สต., ตัวอย่าง Profile PCA , ทีมกระบวนกร, และทีมร่วมเรียนรู้ทุกคน

 

 

หมายเลขบันทึก: 468979เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2011 08:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท