ค้นพบ (Discovery)


ตื่นเช้ามากับสิ่งใหม่ๆ

การทำงานในแต่ละวัน มักจะบอกให้ผู้ปฏิบัติงานที่ถือว่าเป็น หนึ่งหน่วยของชีวิตที่มีจำนวนหลากหลายว่า จะต้องตื่นขึ้นมากับสิ่งใหม่ๆเสมอ วันละหนึ่งอย่างเป็นอย่างน้อย เท่ากับปรับเปลี่ยนชีวิตตนเองให้หลีกพ้นจากความน่าเบื่อหน่าย ในการทำงานในแต่ละวัน ที่มักจะมองแต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ซ้ำแล้วซ้ำอีก และล้วนแล้วแต่ตีบตันในหนทางการแก้ไขปัญหา   ในส่วนตัวผมเองก็พยายามเสาะแสวงหาวัตถุดิบ ต่างๆที่หลากหลาย และในโลกแห่งการอ่าน และ เครือข่ายเพื่อนผู้คิด สร้าง ทำ ในสิ่งที่ดี ๆ ทำให้มีอะไรที่ไม่ซ้ำกันเลยในแต่ละวัน ที่ผุดขึ้นมาในความคิดและการลงมือกระทำ และจากการอ่านเจาะลึกเข้าไป ใน Web: aithailand.org ทำให้มีความชัดเจนขึ้นว่า หลากหลายกระบวนการที่ ได้ทดลอง ทำนั้นไม่ว่าจะเป้นการคิดเชิงบวก  การฟังอย่าง พินิจพิเคราะห์ ใคร่ครวญ การก้าวให้หลุดกรอบของการ แก้ไขปัญหาแบบเดิมๆ  สิ่งเหล่านี้ก้มีสำนักคิด ที่ได้ดำเนินการศึกษาเรียนรู้ สิ่งนี้อยู่อย่างมีกรอบทฤษฏี กระบวนการที่ จับต้องได้ วันนี้จึงจับต้องได้ถึงกระบวนการ ทางความคิด ที่แตกต่างออกไปจากเดิม ที่เรามักจะมุ่งมองไปที่ปัญหา หาต้นเหตุ หาวิธีการ และ ดำเนินการในการแก้ไขปัญหา และ เราก็มักจะพบกับคำตอบที่ว่า ตลอดระยะเวลา 17 ปีที่ผ่านมาปัญหาเดิมๆ ก็กลับมาให้เราแก้อย่างรู้เบื่อ   การเปลี่ยนมุมมองต่อการทำงานผ่านกระบวนการ Appriciate Inquiry

จาก http://www.danceofunity.com/appreciative-inquiry/

หนีออกจากกรอบเดิมๆ มาเป็น การแสวงหาเพื่อการค้นพบสิ่งดีในตัวตน ในประสบการณ์ ในกระบวนการทำงาน และมาสร้างฝันในการที่จะทำให้สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้น และกะแนวทางว่าจะทำกันอย่างไร สุดท้ายก็ลงมือทำ  เมื่อุึงจุดนี้ทำให้ได้คิดว่าเราไม่สามารถแก้ไขปัญหา โดยที่มุ่งมอง ทุ่มเทไปที่ตัวปัญหา แต่เราต้องสร้างสิ่งดีๆ ขึ้นมา สร้างความรัก ความเมตตา ความเอื้ออาทร เข้าโอบล้อมปัญหาต่างที่เกิดขึ้น พลังที่เป็นบวกจะ ค่อยๆ หลอมละลาย ปัญหาที่เกิดขึ้น ให้หมดไป ทั้งนี้ ในมุมมองสิ่งที่ผุดขึ้นมาในความรู้ความเข้าใจ ต้องขอขอบคุณ aithailand.org เครือข่ายคนทำดีที่สร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับสังคม และต้องขอจบลงกับ "We cannot solve our problems with the same thinking we used when we created them" ของ (Albert Einstein) จิตสำนึกใหม่เท่านั้นที่จะแก้ไขปัญหาทั้งปวงได้

คำสำคัญ (Tags): #appreciate inquiry
หมายเลขบันทึก: 468981เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2011 09:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท