ชีวิตที่พอเพียง : 1435. ทำความรู้จักสมองของมนุษย์


ขั้นตอนของความรู้ได้แก่ data – information – knowledge – understanding เราต้องการความเข้าใจ ไม่ใช่แค่ความรู้

ชีวิตที่พอเพียง  : 1435. ทำความรู้จักสมองของมนุษย์

บทบรรณาธิการเรื่อง Understanding the Human Brain เขียนโดย Sydney Brenner นักวิทยาศาสตร์ รางวัลโนเบล และ Terrence J. Sejnowski   ทำให้ผมดีใจว่านักวิจัยพื้นฐาน (basic research) ด้านสมองเขาสนใจนำ ความรู้ยากๆ ออกสู่สาธารณชน   ผมอยากเห็นการขับเคลื่อนเรื่องนี้ในประเทศไทยบ้าง

ผู้เขียนบอกว่า The Society for Neuroscience จะเปิดเว็บไซต์ BrainFacts.org ให้ความรู้เรื่องสมอง แก่คนทั่วไป   ผมจึงลองค้นใน Google ด้วยคำว่า BrainFacts.org จึงเข้าไปในเว็บไซต์ของสมาคมที่นี่ และเห็นว่าสมาคมฯ ได้เผยแพร่หนังสือ Brain Facts แล้ว ดาวน์โหลดได้ฟรี   รวมทั้งสมาคมกำลังจัดตั้งเว็บไซต์ theneurosciencenetwork.org ให้ความรู้ด้านลึกโดยการสัมภาษณ์นักวิทยาศาสตร์ด้านนี้   ผมมองว่านี่คือตัวอย่าง ของการทำหน้าที่ตอบสนองสังคมโดยนักวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 

ความก้าวหน้าด้าน genomics นำไปสู่ศาสตร์ด้าน -omics อื่นๆ อีกหลายด้าน   ได้แก่

  • Proteomics ศึกษาโปรตีน
  • Metabolomics ศึกษาสารที่เกิดจากเมตะบอลิสม
  • Methylomics ศึกษา methylation ซึ่งเป็นกลไกเปิดปิดสวิตช์ยีน
  • Connectomics ศึกษาโครงสร้างเครือข่ายของทั้งสมอง
  • Synaptomics ศึกษาโมเลกุลทุกชนิด และปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันที่จุดสัมผัสระหว่างใยประสาท

ผู้เขียนทั้งสองบอกว่าความก้าวหน้าของ -omics ทั้งหลายจะเป็นการสร้างข้อมูลมหาศาล    คล้ายๆ กับระบบการจำแนกชนิดและตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตของ Linneus  ได้ช่วยจัดระบบข้อมูลของสิ่งมีชีวิต   และเอื้อให้เกิดการสร้างความรู้เพิ่มขึ้นมากมาย   แต่ความเข้าใจภาพใหญ่ของการมีสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นยังไม่เกิด   จนกระทั่ง Charles Darwin เสนอทฤษฎีวิวัฒนาการ เราจึงเข้าใจความหมายภาพใหญ่ของระบบสิ่งมีชีวิต

ขั้นตอนของความรู้ได้แก่  data – information – knowledge – understanding   เราต้องการความเข้าใจ ไม่ใช่แค่ความรู้ 

มองที่ระบบสมองของมนุษย์   การวิจัย -omics ทั้งหลายจะสร้างข้อมูลและความรู้เพิ่มขึ้นมากมาย   รอให้มีการทำความเข้าใจ  

เวลานี้มีเทคโนโลยีหลายอย่างช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ด้านสมอง (neuroscientist) นำเอาคลังข้อมูลจาก -omics มาทำความเข้าใจ   ได้แก่ความก้าวหน้าของกล้องจุลทรรศน์พิเศษที่ใช้ molecular labeling และ digital imaging  ช่วยให้ “มองเห็น” เหตุการณ์ชีวิตภายในเซลล์ได้   เช่นมองเห็นโมเลกุลเคลื่อนตัว    ความก้าวหน้าในการ บันทึกกระแสไฟฟ้าภายในเซลล์สมองแต่ละเซลล์ ช่วยให้รู้ว่ามีข้อมูลวิ่งผ่านสมองส่วนไหน   แต่เซลล์สมองไม่ได้ ทำงานทีละเซลล์  การวัดกระแสไฟฟ้าจากหลายเซลล์สมองในเวลาเดียวกันจึงให้ข้อมูลสำคัญ ที่เมื่อนำมาวิเคราะห์ ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์กำลังสูงก็จะช่วยให้เข้าใจกลไกการคิดของคน   จากที่เราเรียกคนว่า Homo sapiens   ก็กลายเป็น Homo neuroeconomicus    คือมองมนุษย์เป็นสัตว์ที่มีพื้นฐานตามกลไกสมอง    นำไปสู่นักการศึกษาที่ ยึดฐานกลไกสมอง (neuroeducator)   นักจริยธรรมที่ยึดฐานกลไกสมอง (neuroethicist) ที่ทำงานภายใต้ความเข้าใจ กลไกทางสมองที่ทำให้เกิดความโกรธ ความเชื่อถือไว้วางใจ ความผูกพัน ฯลฯ   

จริงหรือไม่   ที่ neuroscience จะช่วยให้มนุษย์รู้จักมนุษย์ดียิ่งขึ้น

วิจารณ์ พานิช

๔ พ.ย. ๕๔

หมายเลขบันทึก: 468237เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2011 03:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

"...ขั้นตอนของความรู้ได้แก่ data – information – knowledge – understanding เราต้องการความเข้าใจ..."

We have stored knowledge (the Internet), improved (in seconds) recall and filter mechanisms (search engines) and concepts connecting (mapping/linking) technologies, if we can learn how (from the ways) we learn, we would be ready for the next centuries.

เปิดตัวห้องน้ำทองคำ

ใครอยากเข้าบ้าง ก็เรียนเชิญครับ


หลิว ซื่อหรงในวันที่ประสบความสำเร็จในการสร้างคฤหาสน์-ห้องน้ำทองคำ 

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 7 พฤศจิกายน 2551 20:14 น.


 

..นักวิทยาศาตร์และนักวิจัย..ช่วยให้มนุษย์รู้จักมนุษย์ดีขึ้น..ที่ว่าในตัวตนของมนุษย์มีองค์ประกอบจาก..พืชสัตว์เซลล์เดียวมาจนเป็นคนที่เรียกว่ามนุษย์..ที่แยกตัวจากความเป็นสิ่ง.ชีวิต..ในโลกนี้ไม่ได้..ด้วยความเป็นมนุษย์..อ้ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท