พวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์ (Puangrat Patomsirirak)
นางสาว พวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์ (Puangrat Patomsirirak) Cherry ปฐมสิริรักษ์

25 พ.ย. วันยุติความรุนแรงในผู้หญิง


การยุติความรุนแรงในผู้หญิงและเด็ก

Asia-Pacific Regional Launch of the Secretary-General’s unite campaign to end against Women

วันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็นวันยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง นานาประเทศทั่วโลกรวมถึงองค์การระหว่างประเทศต่างให้ความสำคัญกับประเด็นนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่ผู้หญิงต้องตกเป็นเหยื่อในอาชญากรรม และการดำรงชีวิตอย่างสงบสุข

ในประเทศไทยองค์การสหประชาชาติ (UNITED NATIONS)ได้ร่วมมือกับกองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ(UNIFEM)และคณะกรรมการสังคมและเศรษฐกิจแห่งสหประชาชาติในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจัดงานรณรงค์เพื่อส่งเสริมการตระหนักรู้ของสาธารณะ ภารกิจนโยบายทางการเมือง และการปฏิบัติการต่างๆ ในการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง ภายใต้หลักการความเท่าเทียม ความเสมอภาคทางเพศ โดยเริ่มจากการแสดงออกถึงสภาพปัญหาปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เด็กและผู้หญิงตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ การข่มขืน อาชญากรรม ทั้งนี้โดยไม่เลือกสถานที่ไม่ว่าจะเป็นบ้าน โรงเรียน ที่ทำงาน และค่ายผู้ลี้ภัย

ในการนี้พระเจ้า หลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทูตสันถวไมตรีกองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UNIFEM) ได้เสด็จร่วมงาน และทรงกล่าวถึงการดำเนินการในโครงการ Say NO To Violence agints women ในประเทศไทยในช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะผลการดำเนินงานโครงการช่วยเหลือผู้ต้องขังหญิงและเด็กที่ทำให้คนเหล่านี้เมื่อพ้นจากสภาพผู้ต้องขังแล้วมีคุณภาพชีวิตและการประพฤติตนที่ดีขึ้นในสังคมและสามารถอยู่ร่วมในสังคมได้ ที่สำคัญทรงกล่าวว่าการยุติปัญหาการกระทำรุนแรงในผู้หญิงนั้น ควรเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาวไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิ เสรีภาพ ทั้งนี้โดยการปรับทัศนคติของคนในสังคมในเรื่องความเสมอภาคทางเพศ ทรงกล่าวว่าประเทศไทยเองในทุกภาคส่วนก็จะต้องร่วมมือร่วมใจและให้ความสำคัญกับปัญหานี้อย่างจริงจัง

นอกจากนี้ผู้บริหารขององค์การผู้จัดงานเองก็ได้กล่าวถึงโครงการ"Say NO-UNiTE"ซึ่งเป็นการร่วมพลังกันในแถบทุกประเทศที่จะต่อต้านความรุนแรงที่เกิดกับผู้หญิงและเด็ก ทั้งนี้การขับเคลื่อนภายใต้โครงการดังกล่าวก่อให้เกิดกิจกรรมต่างๆ เกือบ 1ล้านกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อยุติความรุนแรงในผู้หญิง ไม่เว้นแม้แต่กิจกรรมที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นโดยนักกิจกรรมรุ่นเยาว์ทั่วโลก

ทั้งนี้ปีถัดจากนี้ไปทางองค์กรจะให้ความสำคัญกับบทบาทของภาคธุรกิจในการสนับสนุนทางการเงินเพื่อการดำเนินการโครงการยุติความรุนแรงในผู้หญิงและเด็ก ด้วยเหตุผลว่าเป็นบทบาทประการหนึ่งในการรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม ปัจจุบันกว่า 120 บริษัทชั้นนำได้บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนกองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ(UNIFEM)

ภายในงานได้นำเสนอบทกวีภาษาอังกฤษที่น่าประทับใจและเตือนสติเพื่อรณรงค์ต่อต้านความรุนแรงในผู้หญิง บทกวีดังกล่าว กล่าวถึงชายซึ่งเป็นคนรักของหญิงคนหนึ่งได้มอบดอกไม้ให้กับเธอในวันสำคัญต่าง ๆ ตลอด แต่ในทุกครั้งหลังวันสำคัญนั้น ชายคนนั้นก็จะทุบตีทำร้ายร่างกายหญิงคนรักนั้นตลอดและทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ  แต่ฝ่ายหญิงก็ให้อภัยและไม่ยอมทิ้งชายผู้นั้นไป จนกระทั่งวันสุดท้าย ชายคนนั้นได้นำดอกไม้มาวางไว้ที่หน้าหลุมศพของหญิงผู้ซึ่งถูกตนทำร้ายเมื่อคืนก่อน ร่างไร้วิญญานของหญิงนั้นรู้สึกในใจว่าหากก่อนหน้านี้เธอทิ้ง หรือหนีชายผู้นั้นมาเสีย วันนี้เธอคงไม่ต้องรับดอกไม้ของชายคนนั้นเป็นแน่

 

 

หมายเลขบันทึก: 467508เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2011 20:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 06:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท