แบบทดสอบการใช้คำ ท.๓๑๑๐๒ ที่ ๓


การเลือกใช้คำให้ตรงตามการสื่อสาร

แบบทดสอบที่ ๓ให้นักเรียนแต่ละคนตอบ (ตามเลขที่ของตนเอง)

๑.การใช้คำให้ตรงความหมาย

เลขที่

ประโยค

คำศัพท์ ๑

คำศัพท์ ๒

ความหมาย

ประเทศไทยสามารถผ่าน.............

ต่างๆมาได้

วิกฤตการณ์

สถาณการณ์

 

แม้ผมจะออกจากราชการแล้ว ก็ยัง

พอมี...................อยู่บ้าง

บุญญาธิการ

บารมี

 

เขามี...............จะต้องชำระหนี้

พันธกิจ

กรณียกิจ

 

เขามีอาการ.....แล้วก็สิ้นใจ

กระสับกระส่าย

ทุรนทุราย

 

หล่อนงามเหมือนเทพธิดามา....

           -

จุติ

 

นักร้องหนุ่มร้องเพลงเสียง.......

นกการเวก

หวานปาน

ปาน

 

นักเรียนถูกครู.............

ซักถาม,สอบถาม

ซักฟอก

 

๒.การใช้คำซ้อนที่มีเสียงใกล้เคียงกัน

เขา.......ปิดบังความจริง

จงใจ

ตั้งใจ

 

ทำอะไร.......ไม่ทันกิน

เก้งก้าง

งุ่มง่าม

 

๑๐

เธอมองดู......กิริยาของเด็กหนุ่มอย่างสนใจ

ท่วงที

ท่วงท่า

 

๑๑

เพียงแต่ตวาดทีเดียวสุนัขมันก็.....

ขวัญหาย

ขวัญบิน

 

๑๒

แสงตะเกียง.......

วับแวม

วอมแวม

 

๑๓

พอเจ้าของเผลอมันก็......ข้าวของไป

ฉกฉวย

ฉกชิง

 

๑๔

หมู่บ้านนี้มีผู้คน..........มาก

หนาแน่น

แน่นหนา

 

๑๕

เสียงหัวเราะของเขา.....

ครึกโครม

ครื้นเครง

 

๑๖

วันนี้ยุง......มาก

ชุกชุม

ชุม

 

๑๗

เขาเล่าเรื่องโดยไม่.........

ปิดบัง

ปกปิด

 

๑๘

เวลา.......จึงต้องตัดสินใจโทรศัพท์

จวนแจ

จวนเจียน

 

๓.การใช้คำบอกอาการหรือใช้คำขยาย

๑๙

สาวๆบ้านนี้จะลุกจะนั่ง......ไม่เรียบร้อย

เกะกะเก้งก้าง

กะผลุบกะผลับ

...........................................................

...........................................................

๒๐

เธอร้องให้.......อยู่ข้างๆสามี

โยเย

ฟูมฟาย

กระซิกๆ

...........................................................

..........................................................

..........................................................

๒๑

 

 

มะม่วงสุก.......คาขั้วกินไม่อร่อย

งอม

หง่อม

..........................................................

 

เลขที่

ประโยค

คำบอกอาการ

คำที่ผิดควรนำไปใช้กับเหตุการณ์ใด

๒๒

ลูกสุนัขยังไม่ลืมตาคลาน....อยู่ข้างๆแม่ของมัน

ยั้วเยี้ย

ป้วนเปี้ยน

............................................................

...........................................................

๒๓

เขามีท่าทาง......เมื่ออยู่ต่อหน้าสาวสวย

เงอะงะ

เด๋อด๋า

...........................................................

...........................................................

 

๔. การใช้คำไม่ตรงกับข้อเท็จจริง

                ก.ใช้คำผิดกาละ .....................................................................................................................

เลขที่

คำพรรณนาหรือคำบรรยาย

ข้อความที่บอกกาลถูกต้องถูกต้อง

๒๔

ในยามเช้าตรู่ ฝูงค้างคาวแม่ไก่จะพากันบินกรูออกจากถ้ำ

 

๒๕

ดอกมะลิบานในเวลาเช้าตรู่ แลขาวโพลนไปตั้งต้น

 

๒๖

น้ำค้างเกาะค้างบนใบหญ้า เมื่อต้องแสงจันทร์ก็ทอแสงเป็นประกายระยิบระยับราวกับเพชร

 

                ข.ใช้คำผิดเทศะ การพรรณนาผิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานที่

 

คำพรรณนาหรือคำบรรยาย

ข้อความที่ใช้คำถูกต้อง

๒๗

ในที่สุดหลังจากการเดินทางอันลำบากยิ่งแล้ว

เราก็มาถึงศูนย์การค้ากลางกรุงในเวลาใกล้ค่ำ

 

๒๘

เด็กๆใช้สวิงช้อนจับปลาในคลองข้างบ้าน มีทั้ง

ปลาเข็ม ปลาสอด ปลาหมอ ปลากระเบน และปลาหมึก

 

๒๙

แนวปะการังจะเจริญเติบโต และมีอยู่เฉพาะน่านน้ำเขตหนาวของโลกเท่านั้น

 

                ค. ใช้คำผิดกลุ่ม......................................................................................................................

เลขที่

ข้อความที่ใช้ผิดกลุ่ม

ข้อความที่แก้ไข ,เหตุผล

๓๐

“เพื่อนหญิงของพี่สาวคนตัวสูงๆหล่อๆคนนั้นหรือที่กำลังจะแต่งงาน”

 

๓๑

เขาเป็นชายหนุ่มที่ไร้ค่าเหมือนดอกหญ้า

 

                ง. ใช้คำผิดพจน์.....................................................................................................................

๓๒

แมวตกลูกครอกนี้ตัวเดียว

 

๓๓

ตำรวจยิงกราดไป ๑ นัด

 

๓๔

นายดำ แจ้งตำรวจว่า ถูกนายขาวรุมทำร้าย

 

 

                จ.ใช้คำผิดแผกไปจากปกติ  พรรณนาให้ผิดแปลกไปจากความปกติที่มีอยู่

เลขที่

ข้อความ

ข้อความที่แก้ไข ,เหตุผล

๓๕

ที่นี่ . มะเขือเทศที่ยังไม่สุกจะเป็นสีเขียวงดงามกว่าที่ใด

 

๓๖

เขาเป็นคนแก่ ผมหงอก ผิวหนังเหี่ยวย่น ดูแปลกตา

 

๓๗

ถ้าใครมาชมทิวทัศน์ของหาดสงขลาในยามรุ่งอรุณจะเห็นว่าสวยงามกว่ายามใด

 

          ๕. การใช้คำให้ถูกตามลักษณะภาษาไทย ได้แก่คำลักษณะนาม คำอาการนาม และคำบุพบท

                ๕.๑ การใช้ลักษณะนาม  ไม่ใช้  ไม่แน่ใจ  ใช้ผิด

เลขที่

ข้อความ

แก้ไขใช้ลักษณะนามถูกต้อง

๓๘

ห้าโจรปล้นรถเมล์ถูกตำรวจจับแล้ว

 

๓๙

ผมมองปัญหาการขายยางพาราของรัฐบาลไทยอย่างคนภายนอกและความประสงค์อีกอันหนึ่งคือ ต้องการวิจารณ์นักเลือกตั้งทั้งหลาย

 

๔๐

บริษัทจะเปิดตัวสินค้าตัวใหม่ ..รถตัวนี้มีสมรรถนะสูง

 

๔๑

กระเป๋าลูกนี้ไม่หนัก

 

๔๒

เขาอาศัยอยู่ในบ้านเคลื่อนที่หลังนั้นมาเป็นเวลานานแล้ว

 

                ๕.๒ การใช้คำอาการนาม   การ และ ความ

๔๓

.............ตายของเขาน่าจะมีเบื้องหลัง

 

.............รู้มากเห็นมากทำให้คนฉลาดขึ้น

 

ทุกคนย่อมหนี..................ตายไม่พ้น

 

...............เข้าใจเพื่อนมนุษย์เป็นสิ่งที่ควรยกย่อง

 

๔๔

คนมี............รู้ได้รับ...........ยกย่อง

 

................คิดเป็นขบวนการจัดข้อเท็จจริงของเรื่องราว

 

เรื่องนี้ต้องทำ.................เข้าใจให้ดี

ใช้คำจากเหตุการณ์ ต่อไปนี้เพื่อแสดงความรู้สึกที่ชัดขึ้น

๔๕

การดู เช่น

 เพ่ง พินิจ

การเห็น

 

การได้ยิน

 

การได้กลิ่น

 

สัมผัสด้วยลิ้น    จืดชืด

เค็ม............ ขม........... ฝาด.............. เปรี้ยว...........

คำสำคัญ (Tags): #แบบทดสอบ
หมายเลขบันทึก: 466446เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2011 13:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท