เสียงสะท้อนในช่วงคับขัน..ฤาเราคุยกับเรือเปล่า


"การสะท้อนสิ่งที่ได้ทำลงไป - feedback" เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพ ด้วยการ ประเมิน อย่างมีหลักการ ในสิ่งที่ทำลงไป

ทว่าการ Feedback ในยามคับขัน มักถูกเพิกเฉย (และยิ่งสร้างความหงุดหงิดแก่ผู้ให้ feedback)
เรื่องคับขันใกล้ตัว คนไทยขณะนี้ คงหนีไม่พ้นน้ำท่วม
สิ่งที่ข้าพเจ้ากล่าวต่อไป ถือข้อสังเกต "เชื้อเชิญให้พิจาณา" มากกว่าจะตัดสินถูกผิด
.
แม้โดยความหมาย Feedback จะหมายถึง การพิจารณาทั้ง จุดแข็ง และจุดอ่อน 
แต่ จุดอ่อน มักกระทบใจผู้ฟังมากกว่า
ข้าพเจ้าเอง ก็ยอมรับว่า 
แม้จะบอกว่า ยินดีรับฟังติชม ทุกอย่าง แต่ลึกๆ ก็อยากฟัง Feedback ที่มีติ น้อยกว่าชม
...
เมื่อข้าพเจ้าทบทวนตนเอง ที่ผ่านมา ปัจจัยที่มีผลต่อการรับฟัง feedback ก็คือ
1. Cultural hirachy   : วัฒนธรรมการอ่อนน้อมต่อผู้ที่วัย - วุฒิ -ตำแหน่ง สูงกว่า
2. Credibility        : ความน่าเชื่อถือของเหตุผล : ประสบการณ์จริง > อิงหลักฐาน > อิงทฤษฎี 
3. Caring             : ความใส่ใจ ข้าพเจ้าไม่สามารถใช้เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือสมองมาวินิจฉัยได้  แต่ข้าพเจ้าใช้ความรู้สึกเป็นตัวคัดกรอง (ซึ่งอาจไม่แม่นยำ 100%) คือผู้นั้น "ตั้งใจฟัง"สิ่งที่เราพูด
นั่นหมายถึง ผู้ที่มีทั้งสามอย่าง ข้าพเจ้าจะ ฟัง เชื่อ และทำตาม
.
สำหรับผู้มีปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง..
กรณีภาวะปกติ อารมณ์เป็นกลาง
1.ผู้ที่มี Hirachy           -> ข้าพเจ้าฟัง  แต่ไม่ค่อยเชื่อ  ไม่ค่อยทำตาม  (ดื้อเงียบ)
2.ผู้ที่มี Credibility        -> ข้าพเจ้าฟัง       เชื่อ        แต่มักไม่ค่อยทำตาม
3.ผู้ที่ caring              -> ข้าพเจ้าฟัง   ไม่ค่อยเชื่อ       แต่มักทำตาม
.
กรณีคับขัน อารมณ์ตึงเครียด
1.ผู้ที่มี Hirachy           -> ข้าพเจ้าไม่ฟัง  ไม่เชื่อ  ไม่ทำตาม
2.ผู้ที่มี Credibility        -> ข้าพเจ้าไม่ฟัง  ไม่เชื่อ  ไม่ทำตาม
3.ผู้ที่ caring              ->  ข้าพเจ้าฟัง      เชื่อ    และทำตาม
.
เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น..
เพราะเวลาวิกฤติ "อารมณ์-สมองส่วนงู" ขึ้นมาบัญชาการ แทนสมองส่วนที่รับรู้เหตุผลใดๆ
เป็นภาวะ "สู้หรือหนี" การ feedback ในยามนี้จึง "ทำให้จนตรอก" 
เว้นแต่  ผู้ให้ feedback นั้นสร้างความผูกพันทางอารมณ์ สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ
อย่างหนาแน่นเพียงพอ 
...
ทุกคนมีอารมณ์ ขึ้นกับว่าใครสามารถควบคุมได้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพกว่ากัน
ตัวเรายังควบคุมตนเองยาก  การคาดหวังให้คนอื่นควบคุมอารมณ์ยิ่งยากเข้าไปใหญ่
ข้าพเจ้าเคยเห็น ผู้ป่วยที่มีลูกเป็นแพทย์..แม้รู้พยากรณ์โรคของแม่ตนเอง รู้ว่าการล้างไตก็ไม่อาจยืดชีวิตได้สักเท่าไร
แม้เขารู้ว่าไม่สมเหตุสมผล แม้แม่ได้สั่งเสียไว้ว่าไม่ต้องทำอะไร ก็ยังยืนยันให้ล้างไต 
เพราะ "ผมทนไม่ได้ ผมรักแม่มาก"
เป็นความผิดของเขาหรือเปล่า...?
ถ้าท่านว่าผิดก็ถูกของท่าน  ถ้าท่านว่าไม่ผิดก็ถูกของท่าน :-)
.
###
www.siamfishing.com
ข้าพเจ้าขอยกข้อคิดจากหนังสือ "What get you here won't get you there"
.
ครั้งหนึ่งมีชาวประมงกำลังออกหาปลาในแม่น้ำอันกว้างใหญ่
อยู่ดีๆ ก็มีเรือประทุนอีกลำ ลอยมาใกล้เข้าๆ
ชาวประมงเริ่มแปลกใจ จึงตระโกนออกไป
" สหาย !  แม่น้ำออกกว้าง ทำไมแล่นเรือมาประชิดกันนัก"
...เงียบ.. แถมเรือลำนั้นยังแล่นใกล้เข้ามาอีกจนจะชนอยู่แล้ว
" เจ้าโง่ !" ชาวประมงเริ่มโมโห วางคัดท้ายเรือ ออกไปยืนเท้าสะเอวตระโกน
 "แล่นเรือสูออกไปไกลๆ เรือข้าเดี๋ยวนี้ ไม่งั้นมีเรื่อง.."
..ไม่มีคำตอบ แต่เป็นเสียง "โครม" ดังสนั่น
ทำเอาชาวประมงที่ยืนอยู่ขอบเรือตกน้ำ ยังดีที่ว่ายน้ำแข็ง 
ด้วยความสงสัย จึงปีนขึ้นไปดูในเรือประทุนเพื่อเตรียมชกหน้า..
 ทว่า 
..
เขาตระหนักแล้วว่า ตนได้เสียแรงเสียเวลา ไปกับการตระโกนด่าเรือเปล่า....
.
เรื่องนี้ อาจสอนว่า ในยามคับขัน ต่างคนต่างเครียดนั้น
.
Help ourselves to make thing right
better than prove them made thing wrong
หมายเลขบันทึก: 466431เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2011 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

ให้รู้ว่า...ให้ดอกไม้แด่อาจารย์ก่อนนะครับ

*ขอบคุณค่ะ..การ feedback  ที่ดีช่วยให้เกิดการต่อยอดทางความคิดและการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติที่เกิดคุณค่าได้ หากมีความเข้าใจร่วมกันในการสื่อสาร แบบ 2 ways  vs 1 way communication และประกอบกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีทัศนคติเชิงบวกในเรื่องนั้นๆ..

*บางเรื่องที่ซับซ้อนมากๆ อาจต้องใช้เวลาและมีความเพียรที่จะคลี่เนื้อหาให้เกิดความเข้าใจไปทีละขั้นตอน อย่างหลัก 6 Thinking Hats ของบรูโน..

 

 

 

......
Help ourselves to make thing right
better than prove them made thing wrong......
***^_^***
 

ในหลายสถานการณ์ การส่งเสียง ให้เสียงสะท้อน ก็ต้องทำอย่างเป็นหน้าที่ของชีวิตอย่างหนึ่ง และเป็นคุณธรรมที่ต้องทำแบบไม่ต้องหวังผลเลยเหมือนกันนะครับ เช่น ต่อกลุ่มเพื่อน เป็นจริยธรรมและคุณธรรมของเราที่ต้องบอกและส่งเสียงสะท้อนเพื่อเป็นสภาพแวดล้อมต่างให้กัน จะได้รับการสนองตอบหรือไม่ก็ควรต้องทำ ในความเป็นพี่ ครู หัวหน้าคนอื่นเขา หรือแม้แต่เป็นลูกน้อง และอยู่ท่ามกลางคนแปลกหน้าทั้งในสังคมเดียวกันและต่างสังคม รวมๆแล้วก็...เมื่อมีเงื่อนไขให้ทำและเราควรทำ หากเป็นผมก็ต้องทำนะครับ ไม่ได้ทำเพื่อต้องการให้คนอื่นเขาได้สนองตอบหรือเปลี่ยนแปลงตนเองด้านเดียว แม้นไม่ก่อให้เกิดอะไรก็คงทำ เพราะเป็นการอยู่ร่วมกัน เป็นเหตุปัจจัยทุกข์สุขไปด้วยกัน

คุณหมอครับ

ชอบครับ เหมาะสมกับสถานการณ์

ท่ามกลางความ"ร้อน" "เครียด" ในใจ สังคมต้องการคนที่ "เย็น" "เมตตา" เพื่อให้คลายทุกข์คลายเครียดกันครับ

หากรัฐบาลเห็นความสำคัญของประเด้นนี้ ควรต้องจัดหาผู้ผ่อนคลายความทุกข์ร้อนของประชาชนที่ประสบกับภัยพิบัตินี้ครับ สามารถทำให้ feedback นั้นเป็นบวกขึ้นครับ

ทำนอง"น้ำท่วม ก็ท่วมไป อย่าให้ใจถูกท่วมไปด้วยครับ

 

กำลังวุ่นวายที่ลำปาง ตามมาทักทายก่อนนะครับ

นายฉลองกล่าวอีกว่า..........
    "ส่วนตัวรู้สึกแปลกใจ เพราะเมื่อเสร็จสิ้นการเลือกตั้งแล้ว มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนแล้ว ทำไมกลุ่มคนเสื้อแดงยังจัดกิจกรรมอะไรกันนักหนา ไม่รู้ว่ามีผลประโยชน์อะไรหรือไม่ ส่วนตัวยังศรัทธาคนเสื้อแดงที่ต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ ต่อต้านรัฐประหาร หรือจะล้มรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ผมก็เห็นด้วย  แต่ถ้าคิดจะล้มเจ้านั้น ผมไม่เอาด้วย เพราะคนในพื้นที่มีความศรัทธาในแนวทางนี้ คนเสื้อแดงไม่ใช่ว่าจะทำถูกทุกเรื่อง อะไรที่ถูกก็ต้องชื่นชม อะไรที่ถูกรังแกก็ต้องพูด

ขอบคุณที่ให้กำลังใจกันเสมอคะ :-)

ที่จริง แรงบันดาลใจเขียนบทความนี้
มาจากตอนหนึ่งการอบรมของ Palliative
ขออนุญาตเล่าเพิ่มเติมสู่กันฟังนะคะ

.
การคุยกับญาติ ผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อตัดสินใจรับหรือไม่รับ การแพทย์เพื่อ "ยืดชีวิต"
(เช่น ใส่ท่อช่วยหายใจ  รับอาหารทางสายยาง )

เป้าหมายคือช่วยให้ญาติ "Informed decision making"
ให้เขาตัดสินใจ หลังจากได้รับข้อมูลถูกต้อง
.
แต่เราไม่คาดหวัง ให้เขาตัดสินใจตามหลักฐานทางการแพทย์
เพราะยามคับขันของชีวิต อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล เป็นธรรมดา
เราจึงไม่เผชิญหน้าว่า ความเชื่อของคุณผิด
.
ตัวอย่างประโยคที่วิทยากรแนะนำ เมื่อญาติบอกว่า
" ผมรักแม่มาก ผมเชื่อว่าปาฎิหารย์มีจริง.."
อาจตอบว่า "เราก็หวัง (I wish) ว่าปาฎิหารย์จะเกิดกับแม่ของคุณ  
เพียงแต่ทางการแพทย์ อาการของแม่คุณค่อนข้างน่ากังวล
เราจึงเชิญคุณมาเพื่อปรึกษาและให้ข้อมูลทางเลือก..."

อ่านบันทึกนี้แล้วมีความสุข ได้สาระเข้มข้นมาก ยิ่งมีการสะท้อนมุมมอง ทัศนะของนักการเมือง

ยิ่งเห็นว่า...โลกและชีวิต มีวิถีที่ต้องพูดความจริงกันให้มากกว่าที่ผ่านมา

ขอบคุณครับ

ขอบคุณคะพี่ใหญ่ อ่านแล้วทำให้นึกถึงที่ว่า "Feedback" ที่ดีนั้นควรนำไปสู่ "Feedforward" ด้วย เพราะเรากลับไปแก้ไขสิ่งที่เกิดในอดีตไม่ได้ แต่เราต่างอยากมีวันข้างหน้าที่ดีขึ้น

.

*บางเรื่องที่ซับซ้อนมากๆ อาจต้องใช้เวลาและมีความเพียรที่จะคลี่เนื้อหาให้เกิดความเข้าใจไปทีละขั้นตอน อย่างหลัก 6 Thinking Hats ของบรูโน..

จุดประกายได้อย่างดียิ่งคะ  ตรงกับ บทความนี้ เล่าถึง ลีโอนาโด ดาวินซี
ว่า เมื่อมีปัญหา เขารู้ตัวว่า วิธีการคิดของตนเองเป็นแบบใด ซึ่งโอกาสผิดพลาดสูงหากตัดสินโดยใช้วิธีนี้เท่านั้น...เขาจึง "แยกร่าง" มองปัญหาหลายจากหลายๆ มุม

"..Leonardo da Vinci believed that to gain knowledge about the form of problems, you begin by learning how to restructure it in many different ways. He felt the first way he looked at a problem was too biased toward his usual way of seeing things.
He would restructure his problem by looking at it from one perspective and move to another perspective and still another..."



ขอบคุณคะ
มีข้อสังเกต รวมทั้งบทเรียนจากต่างประเทศว่า
การเข้าช่วยเหลือภัยพิบัติโดยราชการส่วนกลาง นั้นมักขาดความยืดหยุ่น
ได้หลายความเห็นจากนักวิชาการก็จริง แต่ยากที่จะ "One size fit all"
ต้องใช้เวลากว่าจะปรับเข้ากับพื้นที่ซึ่งมีความแตกต่างทางภูมิประเทศ ลักษณะประชากร..
หากเราเข้าใจจุดนี้ แทนที่จะหวัง (มักผิดหวัง) ความช่วยเหลือจากภาครัฐ ชุมชนน่าจะต่างคนต่างช่วยกันในยามคับขันคะ

ขอบคุณคะอาจารย์ ที่ให้อีกมุมมองเชิงระบบที่น่าสนใจ
ว่า เสียงสะท้อน เป็นการสร้างสภาพแวดล้อม - บรรยากาศ ของการอยู่ร่วมกัน
อีกทั้ง การบันทึกเสียงสะท้อนในรูปแบบที่เก็บได้อย่างบล็อก
เมื่อผู้เกี่ยวข้องมีเวลาสงบอารมณ์ขึ้น น่าจะได้ทบทวน เพื่อหาทางแก้ไขต่อไปคะ

เพราะ เสียงสะท้อน feedback ในยามอารมณ์ปกตินั้น 
เคยอ่านว่าผู้ศึกษาทางพฤติกรรมศาสตร์จัดให้ instant feedback เป็นปัจจัยหนึ่งในเก้า ที่สร้างความคิดสร้างสรรค์ จากอารมณ์ "เพลินไปกับงาน -flow" (Csikzenmihalyi, 1990)
..ตอนเขียนและอ่านบล็อกนี้ ก็ flow ไปกับความคิด ทฤษฎี หลากหลายคะ
เพราะตอนอารมณ์ตึงเครียดจะหนีไปอยู่ซอกมืดๆ :-D 

ขอบคุณสำหรับภาพพุทธศิลป์ ดูแล้วเย็นลงจริงด้วยคะ
.

โดยส่วนตัว เห็นใจทุกฝ่ายคะ
เหตุการณ์ภัยพิบัติ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิด
เหมือนโรคร้ายก็ไม่มีใครอยากให้เกิด
เมื่อเกิดขึ้น และเสียหายเกินความคาดหมาย
ส่วนหนึ่ง อาจมองว่าเป็นความบกพร่องของ ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ ป้องกัน รักษา  แต่มิควรมองข้าม เหตุที่เกิดจากการกระทำของพวกเราเองด้วยคะ
และเห็นด้วยที่ว่า แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว 
การผ่อนหนักให้เป็นเบา ลดความร้อนลงก่อน
แล้วค่อยมาพูดกันดีๆ น่าจะเป็นทางออกได้คะ

ยามคับขัน นิ่งได้ก็เก่งมากแล้วนะคะ

ยามปกติ ผู้ใหญ่ที่เป็นบบอย่าง คนรุ่นต่อไป เยาวชน และเด็ก ๆ ที่จะรับช่วงสังคม

ต้องถูกฝึกฝน หล่อหลอม ให้รับและสะท้อนเป็น

ในวิถีที่ความต่างทางความคิด ไม่ผิดไม่ถูกเสมอไป

ขึ้นกับแง่มุมที่ใช้มอง

ไม่ค่อยเห็นอาจารย์ไม่ยุ่งเลย เดินสายตลอดปี :-)

 

ขอบคุณคะ อาจารย์ ในช่วงคับขันนี้มีเหตุการณ์ต่างๆ มากมายทั้งที่เราได้รับรู้และไม่ได้รับรู้ อย่างไรก็ตาม ชอบบทกลอนนี้ของคุณป่าไม้เลื้อยฯ จากบันทีกนี้

อดีตผ่านพ้นแก้ยาก

ลำบากปัจจุบันหลีกหนี

อนาคตนี่ซิคิดให้ดี

มีวิธีแก้ไขเยียวยา

ขอบคุณคะอาจารย์

โลกและชีวิต มีวิถีที่ต้องพูดความจริงกันให้มากกว่าที่ผ่านมา...

ความจริงจะเกิดประโยชน์เมื่อผู้รับฟัง ยอมรับความจริง
ความจริงอาจเป็นโทษ เมื่อผู้ฟัง ยังไม่พร้อมจะยอมรับ ก็เป็นได้คะ

เห็นด้วยคะ
ผู้ที่เป็นตัวอย่าง (เพราะหาได้ยาก) คือ นิ่ง "รับและสะท้อนเป็น"

ความจริงมิได้พิสูจน์ด้วยคำพูด ความเห็นใครคนใดคนหนึ่ง
หากสิ่งที่เขาพูดมาจริง ก็จริง
หากมันไม่จริง ก็ไม่จริงนั่นเอง

      การจัดการกับอารมณ์และความเครียดเป็น Life Skills ที่ฝึกได้ การหันหน้าเข้าหากัน พูดคุยกัน เป็นเพียงหนึ่งในหลายวิธี แต่ที่ต้องฝึกก่อนเป็นเบื้องต้นคือ ทักษะการฟัง คนยุคปัจจุบัน มีสมรรถนะในการฟังค่อนข้างน้อย

ยามนี้มี feedback มากมายใน facebook

ตัวเองก็เป็นคนหนึ่งที่ร่วมกระบวนการ feedback

 

Help ourselves to make thing right

better than prove them made thing wrong

คำพูดนี้น่าคิดเชียวค่ะ

 

คุณสันติสุขจุดประกายได้อย่างน่าคิดคะ

การควบคุมอารมณ์เป็นทักษะชีวิตที่ฝึกได้

แต่การฟัง คือประการแรก

เชื่อว่าที่เราพัฒนา กว่าเมื่อก่อนก็ด้วย กระบวนการ feedback 
ตอนนี้มีเทคโนโลยี facebook ยิ่ง feedback ได้ง่ายและทั่วถ้วน
เพียงแต่หากไม่มีการตอบรับ ก็อาจเพราะ เขายังไม่พร้อมรับ feed..คะ

 

สวัสดีค่ะคุณหมอป.

  • "ถ้าท่านว่าผิดก็ถูกของท่าน  ถ้าท่านว่าไม่ผิดก็ถูกของท่าน :

บทสรุปนี้คงมีความหมายใกล้เคียงกับคำถามที่ว่า " ท่านคิดว่า การทำบุญ กับการทำบาป อะไรทำง่ายกว่ากัน "นะคะ เพราะคำตอบนี้ความหมายอยู่ที่ผู้ตอบค่ะ

 

การทำบุญหรือทำบาป อะไรทำง่ายกว่ากัน...

คนตอบย่อมใช้ทัศนะตนเป็นที่ตั้ง แต่ไม่มีใครตัดสินได้
เพราะจะนำไปสู่การถกเถียง อะไรคือ บุญ อะไรคือบาป อะไรคือง่าย

คิดได้่เช่่นนี้จะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปกับการเอาชนะกัน.. ขอบคุณมากคะ  

สวัสดีครับ

เข้ามาอ่านอีกรอบ

ลึกซึ้งมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท