หยิบความฝันอันเลือนรางมาวางใกล้มือของน้องดาว alphabet (๖) จับอุปสรรคมาวางวิสัยทัศน์ทำห้องสมุดเพื่อเด็ก


ในบันทึกตอนที่ผ่านมาได้กล่าวถึงขั้นตอนง่ายๆในการเตรียมวิสัยทัศน์ส่วนตัวของน้องดาวไปแล้ว ตั้งแต่ เตรียมสถานที่ เตรียมตัว กำหนดวิสัยทัศน์ขั้นต้น เน้นความมั่นใจ วิเคราะห์ผลต่อเนื่อง สรุปผลและการตัดสินใจ
เพื่อนำไปสู่คำตอบของคำถามที่ว่า

- ที่สุดแล้วน้องดาวต้องการอะไร ?

- วิสัยทัศน์ส่วนตนของน้องดาว คืออะไร ?

 

คำตอบตรงนี้เกิดได้ยากที่สุด แต่การรู้ตนให้ถ่องแท้เกี่ยวกับความมุ่งหมายในชีวิตของตัวเรานี้

 

ถ้ายังไม่เคยเตรียมวิสัยทัศน์ ส่วนตัว คงต้องมาดูตัวอย่างวิสัยทัศน์ของครูศศิพร จากกาฬสินธุ์กันเลยดีกว่า ซึ่งครูศศิพรเธอมีความฝันที่อยากจะทำห้องสมุดเพื่อเด็กๆของเธอ

เธอมีอุปสรรคเหมือนน้องดาว คือ ไม่มีความรู้ ไม่มีทุน ไม่มีเวลา

ให้ครูศศิพรเตรียมวิสัยทัศน์ส่วนตัวตามขั้นตอนง่ายๆ

วิสัยทัศน์ของเธอครับ
ให้เด็กประถมในหมู่บ้านมีโอกาสได้สัมผัสกับหนังสือดีๆ รูปภาพสวยๆ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้
กระตุ้นให้เด็กรักหนังสือ รักการอ่านเพิ่มขึ้น
ส่งเสริมให้เด็กมีจินตนาการ เกิดความอยากรู้อยากเห็น

กลุ่มเป้าหมาย เด็กนักเรียนอายุ 7-11 ปี จำนวน 15 คนในหมู่บ้านของเธอ
รูปแบบ เพื่อนร่วมอุดมการณ์ของครูศศิพรจำนวน 5 คน นำหนังสือที่แต่ละคนสะสมไว้ให้เด็กอ่าน

ได้ทำการสำรวจจำนวนและประเภทของหนังสือที่เตรียมไว้สำหรับโครงการในฝันนี้ มีดังนี้ครับ
การ์ตูนขายหัวเราะจำนวน 23 เล่ม
หนังสือนวนิยายรัก ขนาดพ็อตเกตบุคส์ที่ขายในตลาด 15 เล่ม
- หนังสือรวบบทกวี 4 เล่ม
นิตยสารบันเทิง , ดารา , เรื่องย่อละครโทรทัศน์  17 เล่ม
หนังสือพิมพ์ฉบับเก่า 30 ฉบับ (เป็นหนังสือที่ซื้อมาตรวจสลากกินแบ่งรัฐบาล)
ใบปลิว โฆษณาสินค้าของ Big C, เทสโก้โลตัส ฯลฯ 30 แผ่น

เอ.. ดูสิ่งที่มีแล้ว จะเอามาทำห้องสมุดได้รึเปล่าเนี่ย..

เอามากองรวมกัน ก็ได้กองกระดาษขนาดย่อมๆบนโต๊ะเท่านั้นเอง
จัดขึ้นชั้นหนังสือในห้องสมุด ก็ได้แต่มุมเล็กๆ เสี้ยวหนึ่งในห้องสมุดเท่านั้น

เมื่อคิดจะทำห้องสมุด ก็ต้องมีสถานที่, บรรยากาศ, โต๊ะ เก้าอี้ ครุภัณฑ์, คนดูแล

กลับไปดูวิสัยทัศน์ที่วางไว้ใหม่

 

ดูแล้วดูอีก ความต้องการจริงๆ คือ อยากให้เด็กได้อ่านหนังสือ เอกสารที่สะสมอยู่ต่างหาก นั่นคือความต้องการจริงๆ  .. อยากให้เด็กใช้ประโยชน์จากหนังสือที่มี ไม่ใช่สร้างอาคารห้องสมุด

ไม่เข้าใจว่าครูศศิพรและเพื่อนๆ  เลือกหนังสือสำหรับเด็กอายุ 7-11 ปี ด้วยหนังสือประเภทที่กล่าวมาได้ยังไง น่าจะใช้หนังสือสำหรับเด็กมากกว่า

 

 

แต่เธอย้ำอีกครั้งว่า เธอมีอุปสรรคเหมือนน้องดาว คือ ไม่มีความรู้ ไม่มีทุน ไม่มีเวลา

แต่เธอก็มีแนวทางที่จะทำห้องสมุดในแบบของเธอเหมือนกัน….ด้วยทรัพยากรที่เธอและเพื่อนๆมีอยู่

แล้วเธอจะทำยังไงต่อไป

วิสัยทัศน์ที่ดีนั้น จะต้อง
ท้าทาย คุ้มค่าต่อความพยายามที่ทุ่มเทลงไป
สร้างศรัทธาที่ดีงามให้เกิดแก่สมาชิกในกลุ่ม
อยู่บนศักยภาพและขีดความสามารถของเพื่อนในกลุ่มว่า ทำได้
(ยังมีต่อครับ)

หมายเลขบันทึก: 46638เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2006 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 01:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท