สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ชาว gotoknow ทุกคน
ไม่ได้เข้ามาบอกเล่าเรื่องราวในอดีตเสียนานเลย หวังว่าเพื่อนๆ คงยังจำพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร ได้นะคะ
วันนี้เรานำเรื่องราวของอาณาจักรศรีวิชัยมาฝากเพื่อนๆ กันต่อค่ะ คราวที่แล้ว เราได้ทราบแล้วนะคะว่า ศรีวิชัย มีที่มาอย่างไร และมีข้อสันนิษฐานเรื่องที่ตั้งอย่างไรบ้าง วันนี้เรามาดูหลักฐานด้านจารึกที่เกี่ยวข้องกับอาณาจักรศรีวิชัยกันบ้างค่ะ
จารึกที่พบในภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นภาษาสันสกฤต แต่ที่เป็นภาษาทมิฬและภาษาเขมรก็พบบ้าง นอกจากนั้นยังได้พบภาษามอญด้วย แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่พบจารึกภาษาบาลีเลยค่ะ
สำหรับจารึกที่เกี่ยวข้อกับอาณาจักศรีวิชัย คือ
จารึกหลักที่ ๒๓ (หนังสือประชุมจารึกสยาม ภาคที่
๒)
จารึกหลักที่
๒๓ นี้ พบที่วัดเวียง อำเภอไชยา
จังหวัดสุราษฎร์ธานี (หรือที่วัดเสมาเมือง นครศรีธรรมราช)
ซึ่งเป็นจารึกภาษาสันสกฤต ตัวอักษรหลังปัลลวะ
จารึกไว้ในปี ค.ศ.๗๗๕ (พ.ศ.๑๓๑๘) จารึกมี ๒ หน้า
หน้าที่ ๑
มี ๒๙ บรรทัด มีคำว่า
ศรีวิชเยนทรราชา
และ ศรีวิชเยศวรภูปติ
ซึ่งศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ แปลว่า
พระเจ้ากรุงศรีวิชัย ส่วนศาสตราจารย์แสง
มนวิทูร แปลว่า ศรีวิชเยนทรราชา
และกล่าวถึงการสร้างปราสาทอิฐ ๓ หลัง
เพื่อบูชาพระโพธิสัตว์ปัทมปาณี พระพุทธเจ้า
และพระโพธิสัตว์วัชรปาณี
หน้าที่
๒ จารึกไว้ไม่จบมี ๔ บรรทัด
เป็นจารึกภาษาสันกฤตหลัง ปัลลวะเช่นกัน
เนื้อหาเป็นเรื่องเกี่ยวกับกษัริตย์วงศ์ไศเลนทร
ติดตามเรื่องราวของอาณาจักรศรีวิชัยกับเราต่อในคราวหน้านะคะ แล้วพบกันค่ะ
เอกสารอ้างอิง
- ผาสุข อินทราวุธ, รองศาตราจารย์ ดร. " ร่องรอยวัฒนธรรมอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้", โครงการอบรมครูสังคมศึกษาด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย. ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ๒๔ - ๒๘ เมษายน ๒๕๔๔. (เอกสารอัดสำเนา)
ไม่มีความเห็น