ในน้ำมีเงา..ในถุงยังชีพ(น่าจะ)มีหนังสือ


ขณะที่ภัยธรรมชาติ ขัดขวางไม่ให้ชีวิตดำเนินไปตามปกติ

เป็นการบังคับ ให้คนใช้ชีวิตช้าลง แล้วอยู่กับตัวเอง
เวลาที่ผ่านไปในช่วงรอน้ำลด
อาจหมายถึง เสียเวลาทำมาหากิน 
แต่เวลาในช่วงก่อนน้ำท่วม
เราแน่ใจได้เพียงไรว่า  ได้ใช้เวลาทำสิ่งที่ "คุ้มค่า"
เราไม่มีหยุด ที่จะทบทวน 
...
ข้าพเจ้าเป็นคนหนึ่ง 
ที่เคยติดกับดัก "กลัวเสียเวลา" ชนิดขึ้นสมอง
ลึกลงไปในความกลัวเสียเวลา คือ "กลัวแพ้"
ลึกลงไปในความกลัวแพ้ คือ "กลัวไม่มีคุณค่า"
ข้าพเจ้าจึงกดดันตัวเองให้แข่งกับเวลา
ทำให้ได้ปริมาณงานมากที่สุด
ทำให้ซับซ้อนที่สุด 
ทำ (และคิด) ทีละหลายๆ อย่างพร้อมกัน
เพียงเพื่อ "หนีความกลัว"
.
หลายปีมานี้ ข้าพเจ้าไม่เคยได้รับรู้รสจากการเคี้ยวข้าวเลย..
.
จนวันหนึ่ง ที่ข้าพเจ้า ไม่อยู่ในสถานะที่ทำอะไรได้อย่างเคย
แรกๆ เป็นความรู้สึกอึดอัด ผสมล่องลอย อย่างบอกไม่ถูก
เหมือนเรือที่ล่องใน ในสายน้ำที่..ช้าลง และนิ่ง เป็นบางครั้ง
สายน้ำที่นิ่งขึ้น ทำให้ข้าพเจ้ามีโอกาสมองเงา ในนั้น
...
สิ่งสำคัญที่ทำให้ ข้าพเจ้าเห็นเงา ชัดขึ้น ก็คือ "หนังสือ" 
จริงอย่างที่ ทิมดาบ (หมออดิเรก) ว่า ในถุงประสบภัยน้ำท่วม
สิ่งหนึ่งที่น่าจะมีคือ หนังสือ
.
หนังสือที่มีอิทธิพลต่อข้าพเจ้าอย่างมาก มีสามเล่มคือ
.
1. Your brain at work โดย David Rock :
"SCARF" เครื่องมือในการ "ทำความเข้าใจ" ตนเองและผู้อื่น
.
2. What Got You Here Won't Get You There โดย  Marshall Goldsmith : 
แรงบันดาลใจจากหนังสือเล่มนี้
ก่อนอ่าน
1. I have succeeded    : ความสำเร็จที่ผ่านมาจะอยู่กับฉันตลอดไป
2. I can succeed          : ความสำเร็จเกิดจากความสามารถของฉัน
3. I will succeed          : สิ่งที่ฉันคิดฉันทำ ย่อมสำเร็จเสมอ 
4  I choose to succeed : ฉันประสบความสำเร็จ เพราะฉันเลือกที่จะเป็นแบบนี้
หลังอ่าน (ในความเป็นจริง) 
1. I had succeed                : สิ่งที่ทำให้เราสำเร็จในอดีต อาจเป็นกับดัก สร้างความล้มเหลวในอนาคต
2. I cannot succeed (alone)     : มีคนมากมายในชีวิต ที่มีส่วนในความสำเร็จของเรา
3. I will not (always) succeed  : สิ่งที่ฉันคิดฉันทำ อาจไม่สำเร็จเสมอไป ( แต่ให้บทเรียนเสมอ)
4. I choose to "believe" that things called succeed : ฉันประสบความสำเร็จ  เพราะฉันเลือก "เชื่อ" ว่าสิ่งนั้น (ลาภ ยศ สรรเสริญ) เรียกว่าความสำเร็จ  
.
3.The Power of Less โดย Leo Babuatoa :
เล่มนี้ถือเสมือนเป็นคู่มือหนึ่งในการดำเนินชีวิต  
จนตอนนี้เริ่มรับรู้รสอร่อยของข้าว  รับรู้แดดอุ่นๆ ในการวิ่งยามเช้า
ข้าพเจ้าสรุปเป็นหลักสี่ประการคือ
1. Select   : คัดสรร ทำ/ ครอบครอง เฉพาะสิ่งที่สำคัญ  
                 (MIT = Most important/inspired task/thing)
2. Single   : ทำทีละอย่าง  แก้ทีละเปาะ ก้าวทีละขึ้น          
                 (Do only one change at a time)
3. Simple   : มิได้หมายถึงเลือกทำแต่สิ่งง่ายๆ แต่หมายถึง มองสิ่งยากให้ง่าย
                  ด้วยการจับหัวใจสำคัญ และเริ่มจากจุดเล็กๆ
                  ( Start small but sustainable)
4. Salute   : รู้คุณค่าของทุกประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิต..
                  (Be grateful for every step you take)
.
ภาพจาก www.meditatebehappy.com
.
####
ในยามน้ำท่วม  จิตใจย่อมหวั่นไหวเป็นธรรมดา
อย่างไรก็ตาม
เราสามารถ ใช้โอกาสนี้ มองเงาในน้ำ ทบทวนสิ่งที่ผ่านมา เพื่อ วันข้างหน้าที่ดีกว่าเดิม
หมายเลขบันทึก: 465331เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2011 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (39)

เคยรู้สึกว่ากลัวเสียเวลาเหมือนกัน

ตอนหลังแก้ด้วยการติดหนังสือไป

(ส่วนมากไม่ได้อ่านเท่าใดแต่ก็ยังอุ่นใจ)

ตอนหลัง(อีกที)นึกถึงพระแทน

บ่อยเข้านึกภาพพระง่ายขึ้น

อยากนึกบ่อยขึ้น ดีขึ้น เลยอ่านน้อยลง

ขอแสดงความยินดีกับคุณหมอบางเวลาด้วยครับ ;)...

คำว่า "เคี้ยวข้าวไม่อร่อย" หรือ "เคี้ยวข้าวไม่รู้รส" นี่น่าจะเป็นสิ่งที่สะท้อนเรื่องราวทั้งหมด ทำให้ผมต้องนึกย้อนกลับไปว่า ครั้งสุดท้ายที่เป็นแบบนี้เมื่อไหร่หนอ

ตะกี้อ่านบันทึก :: หมื่นตา :: หมื่นตากับคุณตาไร้ตา ของอาจารย์ RITTICHAI ... คุณหมอบางเวลาอาจชื่นชอบครับในสิ่งที่ซ่อนกายอยู่ภายใน ;)...

ส่วนหนังสือที่มีอิทธิพลต่อผมน่าจะเป็นเล่มนี้ครับ

"ค้นหาตัวเอง" ของ "อาจารย์นวลศิริ เปาโรหิตย์"

ตัวอย่างบันทึกที่เคยนำเสนอไว้ครับ ...

การค้นหาและทบทวนตัวเองเป็นสิ่งที่มนุษย์พึงกระทำ เพื่อมิให้หลงลืมในสิ่งที่เป็นลมหายใจในปัจจุบัน ;)...

ขอบคุณมากครับ

เพลงเอกภพ โดย เสกสรรค์ ประเสริฐกุล

  • ทางจระเข้และสายน้ำเชี่ยว
  • อันนี้แต่งเอง เย้ๆๆ
  • ของอาจารย์เสกสรรค์คือ
  • ทางทากและสายน้ำเชี่ยว

ทางทากและสายน้ำเชี่ยว

สวัสดีค่ะ

.ดีจังค่ะความคิดนี้ หนังสือธรรมะเล่มเล้กในถุงยังชีพ แต่ละท่านก็คงได้ใช้เวลาที่รอน้ำที่แห้งลงได้พิจารณาสิ่งต่างๆที่ผ่านมาและได้ข้อคิดดีๆจากหนังสือ

.ยอดเยี่ยมจริงๆค่ะ

*รสนิยมในการอ่านหนังสือ สะท้อนตัวตนของผู้อ่าน..ขอชื่นชมที่เลือกอ่านแนวคิดของการค้นหาตัวเอง เพื่อแสวงความสุขดีๆในชีวิต ก่อนที่จะสายเกินไปนะคะ

* มีภาพกระเป๋าเป้ยามฉุกเฉิน ที่SCB เผยแพร่แก่พนักงาน ..มีหนังสือเล่มโปรดด้วยค่ะ..สำหรับพี่ใหญ่ คงเป็นหนังสือ "มุตโตทัย" ของพระอาจารย์มั่น ที่ท่านสอนเรื่องการทำจิตให้เป็นสุขในทุกโมงยามของชีวิต..คุณแม่มอบให้พี่ค่ะ..

Large_emer_backpack 

สวัสดีครับ

แล้วผมจะมาอ่านต่อครับ...ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ...

ผมชอบหนังสือทุกเล่มที่อาจารย์ชอบ

หวังว่า คงหาโอกาสได้อ่านแบบยาว ๆ ครับ

และชอบมากกับประโยคทิ้งท้ายของบันทึกนะครับ

"....ในยามน้ำท่วม จิตใจย่อมหวั่นไหวเป็นธรรมดา

อย่างไรก็ตาม

เราสามารถ ใช้โอกาสนี้ มองเงาในน้ำ ทบทวนสิ่งที่ผ่านมา เพื่อ วันข้างหน้าที่ดีกว่าเดิม...."

ผมให้กำลังใจทุกท่านนะครับ

และใครก็ได้...มีพลังเท่าใด...ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

ตามกำลังความสามารถนะครับ

ช่างคิดดีจังค่ะอาจารย์หมอ

มีพระในใจ ไปทุกแห่งหน

ยิ่งเป็นภูมิคุ้มกันจิตใจ

จากความเครียด ความกังวล ได้เป็นอย่างดีเลยคะ

ไปอ่านเรื่องคุณหมื่นตามาเรียบร้อยแล้วคะ..ชอบมากเช่นกัน
มีตามากไป หมายถึง รับข้อมูลมากล้น แต่อย่าลืมว่า เราต่างมีสมองหนึ่งก้อน จิตหนึ่งดวง
เหมือนๆ กัน :-)

 

หนังสือและบันทึกที่อาจารย์แนะนำมีประโยชน์มากคะ โดยเฉพาะท่อนนี้..

ฉันเชื่อว่า สิ่งยิ่งใหญ่ที่สุด

ที่ฉันอาจได้จากผู้อื่นก็คือ

ขอให้เขามองฉัน ไม่เพียงแต่เห็น

ฟังฉัน ไม่เพียงแต่ได้ยิน

"การรับฟัง" คือสิ่งที่มนุษย์ต้องการจากกัน ในขณะที่เราพยายามพูดให้คนฟัง
และเราไม่สามารถพูดให้ใครเปลี่ยน หากเขาไม่คิดที่จะเปลี่ยนเอง (หยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน) ...

 

 

อืมมม เดี๋ยวจะไปนำเสนอส่วนกลาง

ฝากหนังสือไปในห่อของ

เล่ม...ค้นหาตัวเอง

อ่านตั้งแต่อายุยี่สิบกว่า

ชอบ...บทนี้นะ

"ฉันมองชีวิตตัวเองดั่งหัวหอม...

ความรู้สึกนึกคิดของฉันถูกกำหนดโดยสังคม

ห่อหุ้มตัวจริงเอาไว้ชั้นแล้วชั้นเล่า

ไม่มีใครมีโอกาสสัมผัสฉันเลย

ถ้าฉันไม่ยอมลอกเปลือกของตัวเองทิ้งไปเสียบ้าง

ทั้งที่รู้...แต่ฉันก็กลัว!

เพราะการปอกหอมนั้น

น้ำตาฉันต้องไหลริน..." 

 

สวัสดีค่ะ

Ico48 คงจะคลายความเครียด ความกังวลลงได้บ้าง...และน่าจะมีการทำงานวิจัยกันในเรื่องนี้นะคะ...

  • เห็นด้วย  การอ่านหนังสือจะทำให้เพลิดเพลิน จะทำให้ลืมความทุกข์ในช่วงหนึ่งๆ
  •  แต่การอ่านเพื่อค้นหาตัวเองอาจลึกไปในขณะที่ใจยังไม่ปกติ  มีความเครียดและความหวั่นวิตก มากมาย  ชาวบ้านน่าจะอ่านหนังสือที่ไม่ซับซ้อน  ตลกขบขัน   ละครน้ำเน่า  หนังสือดาราที่ชื่นชอบ หรือหนังสือเกี่ยวกับการปรับตัวหลังจากประสบภัย  การประกอบอาชีพ  การจัดบ้าน  จัดสวน  ฯลฯ 
  •  อาจเพราะพี่เป็นชาวบ้านๆๆ จึงคิดถึงเรื่องพื้นๆๆ  (ขอโทษด้วยถ้าผิดจุดประสงค์)
  • แต่ก็ชอบที่จะให้มีหนังสือในถุงยังชีพค่ะ

 

เข้าทีคะอาจารย์ 
ได้ทั้้งหาตัวเอง และหาปลา เย้ๆ :-D

ชอบประโยคนี้คะ

"กว่าเราจะรู้จักปลาแต่ละชนิดได้อย่างแท้จริง ก็ต้องผ่านการตามล่ามันมานับสิบนับร้อยครั้ง จนสามารถจับกฎเกณฑ์การดำรงชีพของมันได้ แน่นอน ประสบการณ์ดังกล่าวอาจจะมีความล้มเหลวของเราปนอยู่ไม่น้อย นี่ก็เป็นส่วนสำคัญของกระบวนการเรียนรู้เช่นกัน

ขอบคุณคะ คุณครูมลิวัลย์
หนังสือธรรมะ - ธรรมะ คือ ธรรมชาติ เป็นสากล
น่าจะเข้าถึงได้กับคนทุกระดับ (หากเปิดใจยอมรับ)

เห็นด้วยคะ ไม่ต้องเล่มใหญ่ เป็นเล่มเล็กๆ บรรจุถ้อยคำที่มีพลัง ไม่กี่บท
ก็อาจเยียวยากำลังใจให้กลับมาใหม่ 

ขอบคุณคะที่นำกระเป๋าเป้ยามฉุกเฉิน ของชาว SCB ให้ได้เรียนรู้ว่าภายในมีอะไร
เท่าที่ดู น่าจะเป็น คู่มือปฐมพยาบาลของสำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน และ "วิธีรอดตายภัยพิบัติ"  ให้ไอเดียการดูแลสุขภาพกายแก่ ผู้ประสบภัย เป็นอย่างดีคะ
...

 ส่วนสุขภาพใจนั้น พี่ใหญ่หมายถึงเล่มนี้หรือเปล่าคะ

 

ต้นคิดไอเดียดีๆ หนังสือในถุงยังชีพมาแล้ว :-)

นึกถึง หนังสือลับแลแก่งคอย ที่คุณหมออดิเรก แนะนำและสะท้อนความคิดไว้

"..

ตอนนี้ผมได้ความคิดว่า...ความมุ่งมั่นในการชีวิตของทุก ๆ คน น่าจะคล้ายกัน คือ ทั้งกล้าแกร่ง  เกรี้ยวกราด  และเปราะปางปะปนกันไป

แต่สิ่งหนึ่งที่พึงระลึกไว้เสมอ คือ อย่าให้กำลังใจในตัวเองขาดหาย

เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำพาชีวิตของเราให้มึความสุข.."

ขอบคุณคะ รพ.ป่าติ้ว น้ำท่วมไหมคะ

เป็นหนังสือที่ให้แนวคิด แฝงเชิงสัญลักษณ์ลึกซึ้ง อีกเล่มหนึ่งคะ

หนังสือ ในห่อของว่าไปก็เลือกยากเหมือนกันเพราะขึ้นกับกลุ่มผู้รับนะคะ 

ขอบคุณคะอาจารย์

ตอนเขียนบทความนี้ แรกๆ คิดเปรียบเปรยว่า ช่วงน้ำท่วม ออกไปไหนไม่สะดวก
ช่วงเวลาที่น่าเบื่อ ผสมความกังวล เครียด นั้น หากนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
ด้วยการพิจารณาตนเอง ถึงสิ่งที่ผ่านมา โดยมีหนังสือเป็นตัวช่วย ก็คงดีไม่น้อย
...

คิดอีกทีหนึ่ง น่าสนใจคะว่า ในขณะ ถุงยังชีพ มีปัจจัยสี่ แล้วสิ่งหล่อเลี้ยงจิตใจ
อย่างหนังสือ ที่อ่านง่าย ข้อความมีพลัง ปลุกกำลังใจคน จะมีประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่
เป็นหัวข้อวิจัย ที่เป็นไปได้คะ  

 

  • เป็นมุมมองที่น่าคิดคะขณะที่ใจเต็มไปด้วยความหวั่นวิตก "หนังสือประโลมโลก" การ์ตูนตลกขบขัน   ละครน้ำเน่า  หนังสือดาราที่ชื่นชอบ หรือ หนังสือสัพเพเหระ ก็น่าจะเข้ากับสถานการณ์ได้ดีกว่า..ไว้จิตใจผ่อนคลาย เย็นลงแล้ว ค่อยๆ หันมาพิจารณาตนเอง
  • ต้องขอชื่นชมความคิดเห็นที่จริงใจ ด้วยใจจริงคะ 
    เหมือน ที่ท่าน ดร.พจนา ว่าโลกในมุมมองตนเอง ก็คือตาบอดคลำช้าง การที่มีมุมมองหลากหลาย ต่างแง่มุม คือความงามสังคมออนไลน์แห่งนี้คะ

 

 

ขอบคุณอาจารย์หมอป.มากนะคะ ที่นำสาระสำคัญจากหนังสือมาฝาก ทำให้ได้เรียนรู้ข้อคิดดีๆ ทางลัด

การที่รัฐได้กำหนดให้ปี 2552-2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่านของคนไทย ไม่ทราบจะได้ผลตามความคาดหวังแค่ไหน เพราะสถิติการอ่านของคนไทยต่ำมาก ตัวอย่างเชิงประจักษ์ที่เห็นได้ชัดก็คือนักศึกษาจะขยันอ่านเฉพาะตอนจะสอบ (เป็นการอ่านเพราะถูกสถานการณ์บีบบังคับ) คนไทยที่อ่านเพราะความรักในการอ่านอย่างอาจารย์หมอป. จะมีซักกี่เปอร์เซ็นต์ ดิฉันเองทำวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านและทักษะในการอ่านให้กับนักศึกษาจากปี 2545 จนถึงปัจจุบัน พบว่า การพัฒนาทักษะทำได้ผลมากกว่าการพัฒนาคุณลักษณะ มีผลการวิจัยชี้ว่า ตัวอย่างจากบุคคลแวดล้อมมีอิทธิพลต่อนิสัยรักการอ่านของเด็กและเยาวชน แต่คณาจารย์คณะครุศาสตร์ มรภ.อุบลฯ ที่ไปเที่ยวปักกิ่ง 11 -15 ต.ค. 54 รวมทั้งผู้ติดตามรวม 64 คน มีเพียง 2 คนที่ซื้อหนังสือ คนหนึ่งเกษียณรอบสองไปแล้ว อีกคนกำลังจะเกษียณ

หนังสือที่ดิฉันซื้อมา ชื่อ " 101 Stories for Foreigners to Understand Chinese People" เขียนโดยภรรยาชาวจีนซึ่งไปอยู่อเมริกาตั้งแต่อายุ 13 ปีและสามีชาวอเมริกัน ซึ่งทั้งคู่ได้กลับไปใช้ชีวิตที่เซี่ยงไฮ้ 3 ปีก่อนเขียนหนังสือดังกล่าว ทั้ง 101 เรื่องให้ข้อมูล เกี่ยวกับความคิดและการประพฤติปฏิบัติของคนจีนทั้ง "What and Why" ดิฉันอ่านบนเครื่องจบไปแล้วหลายเรื่อง ตั้งใจจะเลือกเรื่องที่น่าสนใจมาเขียนใน Blog " Let's Learn English..." ในโอกาสที่เหมาะสม ค่ะ (รอให้วิกฤติอุทกภัยเบาบางลงก่อน)

ได้อ่านบล็อกที่เขียนในปี 50 ของอาจารย์แล้วคะ คำอวยพรของท่านต่ออาจารย์

" ขอให้อาจารย์มีความสุข ความเจริญ บนเส้นทางอันประเสริฐนี้.." น่าประทับใจจริงๆ คะ

 เป็นคนหนึ่งที่มีประสบการณ์อกหัก  กับระบบแพทยศาสตรศึกษาไทย (เมื่อ 10 ปีก่อน)

 จะสอนให้ศิษย์มีเมตตาได้อย่างไร หากอาจารย์ไร้ความเมตตาต่อศิษย์...
 
 

ขอบคุณที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์คะ
"ปี 2552-2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่านของคนไทย" และ UNESCO ยก กรุงเทพมหานคร เป็น ‘เมืองหนังสือโลกประจำปี 2556 -World Book Capital 2013 (มีคนเหน็บว่า เป็นเมืองหนังสือจริง แต่ไม่มีคนอ่าน :-)  ..

หากมองในแง่ดี คงเป็นการพยายามกระตุ้น เติมเต็มในสิ่งที่เราพร่องคะ

บุคคลแวดล้อม น่าจะมีผลจริง..เวลาเรามองบุคคลที่เราชื่นชม ชอบอ่านหนังสือประเภทใดเราก็อยากอ่านตามไปด้วย  หากให้ดารา หรือบุคคลสำคัญ ออกสป็อตโทรทัศน์ แนะนำหนังสือดีๆ (แทนที่จะเป็นเสื้อผ้า ร้านอาหาร) อาจชักจูงเยาวชนหันมาอ่านกันมากขึ้นคะ


อีกปัจจัย..ไม่แน่ใจว่า เพราะเด็กไทย โยง "หนังสือ" กับ "การสอบวัดผล" เลยมอง หนังสือเป็นสิ่งคร่ำเคร่ง น่าเบื่อหรือไม่..  

น่าสนใจประโยคนี้คะ "การพัฒนาทักษะทำได้ผลมากกว่าการพัฒนาคุณลักษณะ" ยังไม่เข้าใจกระจ่างนัก หมายถึง ปลูกฝังทัศนคติภายใน ดีกว่า เปลี่ยนแปลงปัจจัยภายนอก หรือเปล่าคะ ?

" 101 Stories for Foreigners to Understand Chinese People"

ดูเป็นหนังสือที่น่าสนใจมากคะ (จากที่อ่าน review ใน Amazon.com) จะปูเสื่อรอติดตามใน  Blog " Let's Learn English..." ต่อไปนะคะ 

  • ความคิดของอาจารย์หมอป. ที่ว่า "หากให้ดารา หรือบุคคลสำคัญ ออกสป็อตโทรทัศน์ แนะนำหนังสือดีๆ แทนที่จะเป็นเสื้อผ้า ร้านอาหาร  อาจชักจูงเยาวชนหันมาอ่านกันมากขึ้น" เป็นความคิดที่น่าสนใจมากค่ะ ทำยังไงน้าจึงจะมีการนำไปปฏิบัติจริงๆ
  • ที่อาจารย์หมอบอกว่า ยังไม่เข้าใจกระจ่างนักในข้อความที่ว่า "การพัฒนาทักษะทำได้ผลมากกว่าการพัฒนาคุณลักษณะ" ขอขยายความว่า ดิฉันได้พัฒนานิสัยรักการอ่าน (คุณลักษณะ) ให้กับนักศึกษาควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะการอ่าน นิสัยรักการอ่าน หมายถึง ความสนใจที่จะอ่านด้วยตนเองไม่ใช่เกิดจากสถานการณ์ภายนอกมาบีบบังคับ ผู้ที่มีนิสัยรักการอ่านจะแสวงหาโอกาสที่จะได้อ่าน มีการอ่านหนังสือหลากหลายหลายประเภท และมีความสุขที่ได้อ่าน ฯลฯ ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวดิฉันพัฒนาให้กับนักศึกษาได้ผลน้อยกว่าการพัฒนาทักษะการอ่าน ซึ่ง เป็นการพัฒนาทักษะจากระดับพื้นฐาน คือ ระดับความรู้  (Knowledge)  ซึ่งเป็นระดับที่อ่านแล้วสามารถตอบคำถาม หรือเขียนข้อสรุปจากการอ่าน ได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด และอย่างไร ไปสู่ระดับที่สูงขึ้น คือ ระดับความเข้าใจขั้นแปลความ  (Textually  Explicit  Comprehension) เป็นระดับที่อ่านแล้วสามารถเข้าใจในสิ่งที่ผู้เขียนได้นำเสนอไว้โดยตรง โดยสามารถตอบคำถาม  “ทำไม”  ได้  สามารถระบุความคิดหลักและความคิดรองของเรื่อง และ จัดเรียงลำดับเหตุการณ์หัวข้อเรื่องต่างๆ ในเนื้อหาที่อ่านได้ ระดับความเข้าใจขั้นตีความ (Textually Implicit Comprehension) เป็นระดับที่อ่านแล้วสามารถเข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนไม่ได้นำเสนอไว้โดยตรง ต้องใช้เหตุผลและความรู้เดิมของตน มาช่วยทำความเข้าใจข้อมูลในเนื้อหาที่ได้อ่าน  สามารถตอบคำถามเชิงอ้างอิงได้ สามารถสรุป และทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป  รวมทั้งรับรู้ถึงอารมณ์ ความคิด และวัตถุประสงค์ของผู้เขียนได้ ระดับการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Reading) เป็นระดับที่ผู้อ่านสามารถแยกความแตกต่างของเนื้อหาที่อ่านได้ว่า อะไรคือข้อเท็จจริง อะไรเป็นเพียงความเชื่อหรือความคิดเห็นของผู้เขียน สามารถเปรียบเทียบเนื้อหาที่ได้อ่านกับข้อมูลที่ได้จากแหล่งอื่นๆ สามารถประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลจากการอ่าน และสามารถลงสรุปได้อย่างมีเหตุผล และระดับการอ่านเชิงสร้างสรรค์ (Creative Reading) เป็นระดับที่ผู้อ่านสามารถมองเห็นภาพรวมของเนื้อหาที่ได้อ่าน นำไปสู่การกำหนดหัวข้อเรื่องหรือชื่อเรื่องที่ครอบคลุมสาระสำคัญของเรื่อง โดยใช้สำนวนภาษาที่สละสลวย กระชับและสื่อความชัดเจน ตลอดจนสามารถดัดแปลงแต่งเติมเรื่องราวที่ได้อ่าน อย่างมีจินตนาการ การพัฒนาทักษะดังกล่าวให้กับนักศึกษาดิฉันทำได้ผลมากกว่า การพัฒนานิสัยรักการอ่านให้กับพวกเขาค่ะ
  • พอดิฉันบอกว่า ได้ซื้อหนังสือชื่อ "101 Stories for Foreigners to Understand Chinese People" แต่ไม่ได้แสดงปกหนังสือให้ดู อาจารย์หมอป. ก็ได้ไปสืบค้นและนำมาให้ดู (ขอบคุณมากค่ะ) รวมทั้งได้อ่านปริทรรศน์ (review) หนังสือดังกล่าว และบอกว่าจะปูเสื่อรอติดตามอ่านบางเรื่องที่ดิฉันบอกว่าจะนำมาเขียนใน  Blog " Let' s Learn English..." ในโอกาสอันเหมาะสม การกระทำดังกล่าวเป็นพฤติกรรมบ่งชี้ที่ชัดเจนของการเป็นผู้มีนิสัยรักการอ่านของอาจารย์หมอ ซึ่งดิฉันขออนุญาตนำไปเป็นตัวอย่างให้กับนักศึกษาจำนวน 4 Sections Section ละ 50 คนรวม 200 คนที่เลือกลงทะเบียนเรียนวิชา "พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน" กับดิฉันในภาคเรียนที่ 2/2554 ซึ่งพวกเขาก็จะได้รับการพัฒนาทั้งนิสัยรักการอ่านและทักษะการอ่าน ซึ่งเป็นสมรรถภาพสำคัญที่จำเป็นต้องใช้ในการเรียนรู้ที่เป็นกระบวนการตลอดชีวิตค่ะ  

  • เรื่องดารา หรือคนดัง มาโปรโมทหนังสือ..ที่จริงแล้วมีเห็นแวบๆ ตอนสัมภาษณ์ดาราอยู่บ้างคะ..ว่าไปการอ่าน เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของดารา ทางค่ายนักร้องนักแสดงน่าจะส่งเสริมคะ 
  • อีกวิธี คือ นักเขียนหน้าใหม่อาจให้ดาราช่วยรีวิว..บ้านเรามีดารา เขียนหนังสือประสบความสำเร็จไม่น้อยคะ  สังเกตจากวิธีประชาสัมพันธ์หนังสือต่างประเทศ วัฒนธรรมหนึ่งที่น่าสนใจคือ เขาจะให้ผู้เขียนที่ประสบความสำเร็จก่อนหน้า มาช่วยโปรโมท ถือเป็นการให้เกียรตินักเขียนเดิม พร้อมๆ กับสร้างเครดิตให้นักเขียนใหม่ win-win เช่น เมื่อคุณ David Rock ออกหนังสือ Your brain at work เขาก็เชิญคุณ Goldsmith เจ้าของหนังสือขายดี What got you here มาช่วย review สั้นๆ ให้.
  • ขอบคุณอาจารย์ที่อธิบายได้อย่างละเอียด แจ่มชัดคะ : คุณลักษณะ = นิสัยรักการอ่าน ขณะที่ ทักษะ เป็นความสามารถอ่านแล้วคิดสรุป วิเคราะห์ สังเคราะห์. คิดว่าสองส่วนนี้คงวัดผลด้วยวิธีต่างกันหรือเปล่าคะ..เป็นการวิจัยที่น่าสนใจจริงๆคะ หากไม่รบกวนจนเกินไป จะขออ่าน abstract งานวิจัยชิ้นนี้ เพื่อเป็นอ้างอิง ในการทำโครงการส่งเสริมการอ่านและภาษาอังกฤษ ( Narrative medicine) ให้กับ แพทย์ประจำบ้าน ต่อไปคะ :-)

 

ตามมาอ่าน หนังสือ นอกถุงครับ ดีมากมาก ครับ

นอกจากจะมีอาหารกายแล้วเห็นด้วยกับการมีอาหารใจและสมองไปพร้อมกัน หนังสือแนะนำควรเป็นหนังสือธรรมะหรือการแก้ไขปัญหาจะได้ก่อให้เกิดปัญญาแก้ไขปัญหาต่อไป เห็นด้วยอย่างยิ่งถึงแม้วาจะเป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งสำหรับการตำรงอยู่ของคน

ของผมครับ

1. สิทธารถะ ( เฮอร์มานน์ เฮสเส)

2. เจ้าชายน้อย (อองตวน เดอ แซงเตก-ซูเปรี)

3.โลกของโซฟี (โยสไตน์ กอร์เดอร์)

4.พุทธธรรม (ป.ปยุตโต)

5. คู่มือมนุษย์ (พุทธทาสภิกขุ)

6. เดินสู่อิสระภาพ (ดร.ประมวล เพ็งจันทร์) ฯลฯ

ขอบคุณคะอาจารย์ ยังมีแต่หนังสือนอกถุงจริงคะ

ตอนนี้ใครมีหนังสือในเขตเสี่ยงน้ำท่วม คงต้องหาพลากติกห่อกันความชื้นด้วย

 

ในยามนี้ เห็นด้วยคะว่าหนังสือที่เป็นสากลเข้าได้ทุกเพศ ทุกอาชีพ 

น่าจะเป็นหนังสือ ธรรมะ ให้ข้อคิด
หรือคู่มือดูแลรักษารถยนต์ เอกสาร ในช่วงน้ำท่วม

หรือคู่มือแก้ไขป้องกันอุทกภัย (ตอนนี้ได้อารมณ์และแรงจูงใจเป็นอย่างยิ่ง)

ขอบคุณคะคุณอักขณิช ที่แนะนำรายชื่อหนังสือประจำใจ
หนังสือ "เดินสู่อิสรภาพ" ของ ท่าน อาจารย์ ดร.ประมวล เพ็งจันทร์

เป็นบันทึกการเดินทาง จากเชียงใหม่ถึงเกาะสมุย ใช้เวลา 66 วัน
เป็นการท้าทาย ว่าน้ำใจมนุษย์ อยู่เหนือการซื้อขาย ความเป็นเครือญาติ และการขอ
น่าสนใจ และให้ความหวังในยามน้ำท่วมนี้เป็นอย่างดีคะ 

 

 

 

 

             อาจารย์ ดร.ประมวล  เพ็งจันทร์ เป็นครูใหญ่ทางจิตวิญญาณของผม เป็นต้นแบบแห่งการดำเนินชีวิตของผมนะครับ ผมรู้จักกับท่านมา 21 ปีแล้ว ตั้งแต่ปี 2533 ซึ่งเป็นช่วงที่ท่านมาสอนที่ มช.ใหม่ๆ ในขณะที่ผมยังเป็นสามเณรอยู่ที่วัดอุโมงค์(สวนพุทธธรรม) ต่อมาก็ได้เรียนกับท่านและคุ้นเคยกับท่านตลอดมา จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ 

           คราวเมื่อผมป่วยหนักและไปผ่าตัดน้ำท่วมปอดที่ รพ.สวนดอก เดือนกว่าเมื่อ 12 ปีก่อน ท่านก็ไปคอยดูแลผมตลอดเหมือนกับผมเป็นลูกชายของท่านเลยทีเดียว....ครั้นเมื่อผมแต่งงาน ท่านก็เป็นผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าบ่าวให้ผมด้วย

           ท่านสอนสิ่งที่ดีงามให้กับผมมากมาย มอบความรัก และทำสิ่งที่ดีๆ ให้กับผมมากจนสุดจะบรรยายได้ ผมคิดว่าตนเองโชคดีมากที่สุดในโลกเลยที่ได้พบกับท่าน

           ปัจจุบันผมใช้ชีวิตตามที่ท่านสอนมาตลอดนะครับ ในทุกๆ เรื่อง....แต่ทำได้เพียง 1/4 ส่วนของสิ่งที่ท่านสอนเท่านั้นเอง

           ปีใหม่เมืองของทุกปี ผมจะพาครอบครัวไปดำหัวท่านนะครับ ทำมาหลายปีแล้ว และหาโอกาสแวะเข้าไปเยี่ยมท่านอย่างสม่ำเสมอ

           ตอนนี้ หนังสือใหม่ของท่านออกวางจำหน่ายแล้วนะครับ เป็นหนังสือชุด "อินเดีย : จาริกจากด้านใน" มี 3 เล่มด้วยกัน โดยเล่มแรกชื่อ ตอน "การศึกษาที่งดงาม" ออกวางจำหน่ายแล้ว เมื่อวันที่ 12 ต.ค.2554 ที่ผ่านมา  

           ในอนาคตผมตั้งใจไว้ว่าจะเขียนเรื่องราวของท่านให้เพื่อนๆ ใน gtk ได้อ่านด้วยนะครับ โดยจะเขียนในมุมมองที่ผมรู้จักและเกี่ยวข้องกับผม

           ขออภัยด้วยครับ ที่วันนี้อาจจะเขียนยาวไปหน่อย คิคิคิ

หนังสือในถุงยังชีพ

ได้ทั้งอาหารกายและอาหารสมอง

คุณอักขณิชเป็นลูกศิษย์รักของท่านอาจารย์ประมวล :-)

ฟังแล้วท่านเป็นอาจารย์ที่นำปรัชญามาสู่การดำเนินชีวิต จับต้องได้

ต่อไปคุณอักขณิชอาจมีหนังสือของตัวเอง เหมือนท่านก็ได้นะคะ 

ใช่คะ ได้เวลาเลือกสรร อาหารกายและใจที่มีคุณค่าอย่างแท้จริง :-)

สวัสดีค่ะคุณหมอสบายดีนะคะ พึ่งมีโอกาสได้เข้ามาสรรหาความรู้จากเหล่าผู้รู้(ปัญญาชน) ก่อนหน้าได้แต่ส่งกระแสจิตคิดถึงมาถึงคุณหมอ(เชื่อว่าคนเราทุกคนหากไม่เคยผูกพันกันมา คงไม่รู้จักกันส่งจิตดึงดูดใจให้ผูกพันคิดถึงกัน) ข้าผู้น้อยเห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะคุณหมอเกี่ยวกับการอ่านหนังสือ. แต่ไม่ว่าในยามไหนๆหนังสือช่วยได้เสมอ หนังสือทำให้ชีวิตช้าลงดึงใจให้อยู่กับที่ได้ดี(เพราะมีแต่ใจของตัวเองบวกกับจิตวิญญาณของเนื้อหาตัวหนังสือเล่มนั้นๆ) หนังสือสามารถทำให้ใจคนเราหยุดนิ่งได้ แม้เปิดอ่านเพียงหน้าเดียว (ทุกครั้งที่ใจว้าวุ่นขุ่นหมองขับเคี่ยวแก้ปัญหาปัญญาไม่เกิด ดิฉันเองก็ได้หนังสือเช่นกันค่ะเป็นเพื่อนที่ดี โดยเฉพาะหนังสือธรรมะ หนังสือปรัชญาและหนังสือเกี่ยวกับเกษตร(เทคโนโลยีชาวบ้าน) นอกจากการเดินรอบสวนดูนก ดูปลา ดูสีเขียวและเดินจงกรม) การทำใจให้หยุดอยู่นิ่งๆยากยิ่งกว่าการคิดให้กว้างไกลรู้รอบโลก

มองดูนกบินออกจากรังหาอาหารอิ่มท้อง แล้วร้องเพลงเบิกบานสำราญใจ ตกเย็นกลับรัง(บ้าน) ไม่ผิดต่างไปจากมนุษย์เรา แต่นกเหล่านั้นดูมีความสุขกับการได้ใช้ชีวิตอยู่บนโลกใบนี้กว่ามนุษย์เราเสียอีกนะคะคุณหมอ ทั้งที่เวลามี24ชั่วโมงเท่ากัน

ขอบคุณค่ะ.....

ได้รับกระแสจิต เลยได้ย้อนกลับมาดูบันทึกนี้ :-)

ประทับใจคำนี้คะ

"..การทำใจให้หยุดอยู่นิ่งๆยากยิ่งกว่าการคิดให้กว้างไกลรู้รอบโลก"

ด้วยเหตุนี้ ระดับการศึกษาจึงไม่ได้เป็นเครื่องตัดสิน ความมีปัญญา
การศึกษาให้ข้อมูล และแนวทางหาความรู้..แต่ "การมีความรู้" อยู่ที่การปฎิบัติ ประสบการณ์ รวมถึง สะท้อนตัวเอง (โดยมีหนังสือเป็นเครื่องมือ) ตลอดชีวิตคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท