4 รายจ่าย(แฝง)พึงระวังหลังเกษียณ


สำนักข่าว SmartMoney (ในเครือวอลล์สตรีท เจอร์นัล - wsj) ตีพิมพ์บทความของอาจารย์เกลนน์ รัฟเฟนแนช เรื่อง 'How to minimize retirement's hidden costs' ใน Yahoo Finance, ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
เป็นที่ทราบกันดีว่า คนรุ่นใหม่มีโอกาสอายุยืนขึ้น โดยเฉพาะคนในประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือมีบริการสุขภาพค่อนข้างดี คือ มีโอกาส 85-plus (plus = บวก; 85-plus = เกิน 85 ปี) มากขึ้น, จึงควรระวังค่าใช้จ่ายแฝงดังต่อไปนี้
.
(1). replacement cost = ค่าใช้จ่ายทดแทน (ซื้อ-ผ่อนของใหม่แทนของเก่า)
.
ของที่คนส่วนใหญ่ควรเตรียมเผื่อไว้ได้แก่ ยานพาหนะ เช่น ค่ารถยนต์ รถจักรยาน ฯลฯ และค่าซ่อมแซมบ้าน เช่น ทาสีใหม่ ฯลฯ
.
(2). relatives in need = ญาติยามยาก (in need = จำเป็น ซึ่งมีความต้องการ ยามยาก ตกยาก)
.
โลกกำลังก้าวจากยุคคลื่นลูกที่ 1 (เกษตร)-คลื่นลูกที่ 2 (อุตสาหกรรม) ไปสู่คลื่นลูกที่ 3 (ข้อมูลข่าวสาร-IT) มากขึ้นเรื่อยๆ
.
ลักษณะเด่นของสังคมยุคคลื่นลูกที่ 1 คือ มีคนจนหรือผู้ใช้แรงงานมาก, ยุคคลื่นลูกที่ 2 คือ มีคนชั้นกลางหรือคนทำงานมาก ไม่ว่าจะเป็นในโรงงานหรือภาคบริการ
.
ลักษณะเฉพาะของสังคมยุคคลื่นลูกที่ 3 คือ มีการใช้เครื่องจักร-หุ่นยนต์-ซอฟท์แวร์ (โปรแกรมคอมฯ)-ข้อมูลข่าวสาร-IT ทำให้ผลิตได้มากขึ้นโดยใช้คนน้อยลงมาก ทำให้คนชั้นกลางหรือคนทำงานส่วนใหญ่มีโอกาสตกงานมากขึ้น หรือต้องทำงานโดยได้ค่าแรง "ต่ำลง(เมื่อหักค่าเงินเฟ้อ-สินค้าแพง)" มากขึ้น... ดังปรากฏในประเทศที่พัฒนาแล้ว
.
ลูกหลานหรือญาติสนิทมิตรสหายอาจตกงาน หรือได้งานแต่รายได้ไม่พอจ่ายค่าเช่าที่พัก กลับมาขออาศัยบ้าน อาหาร และเป็นภาระค่าใช้จ่ายแฝงได้
.
(3). required distributions = การกระจายสินทรัพย์ที่เปลี่ยนไป
.
กฎหมายในหลายๆ ประเทศลดหย่อนภาษีให้เงินออมในกองทุนเกษียณ หรือประกันชีวิตแบบเตรียมเกษียณจนถึง 65-70 ปี, หลังจากนั้นจะต้องถอนเงินออกจากกองทุนนี้ เช่น นำไปแบ่งฝากธนาคาร ซื้อพันธบัตร ตราสารหนี้ กองทุนรวม หรือลงทุนอย่างอื่น ฯลฯ
.
เมื่อถอนเงินออกจากกองทุนเกษียณแล้ว เงินออม-ลงทุนใหม่จะได้รับสิทธิลดหย่อยภาษีน้อยลง เสียภาษีมากขึ้น ทำให้ต้อง "ทำใจ" ไว้สำหรับการเสียภาษีหลังเกษียณ
.
(4). healthcare inflation = เงินเฟ้อ(ด้าน)ค่าใช้จ่ายสุขภาพ
.
ธรรมชาติของประเทศที่พัฒนาแล้ว คือ ค่าเงินมั่นคงกว่า และอัตราเงินเฟ้อ (สินค้า-บริการแพงขึ้น, ค่าเงินลดลง) ต่ำกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา
.
สถิติ 30 ปีที่ผ่านมาพบว่า อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ เฉลี่ย = 3.5% แต่ที่เพิ่มขึ้นมาก คือ เงินเฟ้อในส่วนค่าใช้จ่ายสุขภาพ ซึ่งเพิ่มขึ้นเฉลี่ย = 5.8%  
.
ตรงนี้บอกเราว่า การออมสุขภาพ เช่น ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ ไม่ดื่มหนัก ไม่สูบบุหรี่ ฯลฯ เป็นการลงทุนที่จำเป็น
.
องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนว่า ระบบบริการสุขภาพทั่วโลกเสี่ยงล้มละลาย ถ้าไม่รีบป้องกันโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ไตเสื่อม-ไตวาย (สาเหตุสำคัญมาจากเบาหวาน ความดันเลือดสูง นิ่ว และการรักษาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะไม่ครบ โดยเฉพาะกินยาไม่ครบตามที่หมอแนะนำ) ฯลฯ
.
ตัวอย่างเช่น ถ้าเราฝึกไม่นั่งนานเกิน 1-2 ชั่วโมง... ลุกขึ้นยืนบ้างเดินไปมาบ้างสลับ โอกาสปวดหลังจะลดลงไปมาก, ถ้าเราฝึกเดินสะสมเวลาให้ได้ 30-40 นาที/วัน, ขึ้นลงบันไดตามโอกาสให้ได้ 3-4 นาที/วัน... แบบนี้ถือว่า เป็นการออมสุขภาพด้วย ออมทรัพย์ด้วย
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 17 ตุลาคม 2554. ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 465153เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2011 00:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท