ความงามของความทุกข์


เห็นน้ำใจล้างน้ำตาในคราเศร้า ปลอบโยนคนปวดร้าวคลายทุกข์ร้อน เอาความรักความเมตตาเอื้ออาทร ที่ซุกซ่อนอยู่ในใจออกให้ปัน

 

 

    

 

     เห็นผู้คนหม่นเศร้าเท่ากันหมด

     ต่างทุกข์ท้อทรหดสู้อดกลั้น 

     ส่งแววตาอาลัยห่วงใยกัน

     ไม่แบ่งชั้นแบ่งข้างต่างกลมเกลียว

 

     เห็นคนทุกข์ไม่ทอดทิ้งเพื่อนร่วมทุกข์

     อุ้มหมาแมวเดินบุกลุยน้ำเชี่ยว

     ช่วยชีวิตกันเอาไว้ได้อย่างเดียว

     ไม่ยอมปล่อยให้โดดเดี่ยวอยู่เดียวดาย

 

     เห็นผู้นำชุมชนขวนขวายช่วย

     ผู้เจ็บป่วยประชาชนคนทั้งหลาย

     เคียงข้างสู้อยู่พร้อมยอมเสี่ยงตาย

     คอยดูแล ทุกคนให้ ได้หลับนอน

 

     เห็นน้ำใจล้างน้ำตาในคราเศร้า

     ปลอบโยนคนปวดร้าวคลายทุกข์ร้อน

     เอาความรัก ความเมตตาเอื้ออาทร

     ที่ซุกซ่อนอยู่ในใจออกให้ปัน

 

     เห็นเพื่อนไทยใจกว้างสร้างเครือข่าย

     รวมเงินทองของใช้ ให้ไม่อั้น

     เสียสละประโยชน์สุขอยู่ทุกวัน

     เพื่อเพื่อนผู้โศกศัลย์ไม่หวั่นใจ

 

     เห็นความงามที่ยิ่งใหญ่ในความทุกข์

     เป็นเชื้อสร้างความสุขสู่วันใหม่

     เพื่อพรุ่งนี้พี่น้องเพื่อนผองไทย

     ยังคงก้าวต่อไปได้เหมือนเดิม

 

 

 

 

 

สันติสุข สันติศาสนสุข !!

๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ / ขอบคุณภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

_____________________________________________________________________________________

 

หมายเลขบันทึก: 465126เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2011 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

ต้องทุกข์ทนอกไหม้ภัยใหญ่หลวง

เจ็บในทรวงหน่วงหนักสุดผลักใส

น้ำเจิ่งนองไปทั่วหล้าพาหม่นใจ

พี่น้องไทยไม่ทิ้งกันปันสิ่งมี

นงนาท สนธิสุวรรณ

7 ตุลาคม 2554

 

สวัสดีครับอ.โสภณ

        ดีใจครับที่อาจารย์แวะมา

        ขอบคุณมากครับ สำหรับดอกไม้ที่มอบเป็นกำลังใจให้ครับ

สวัสดีครับ

พี่ยังไหวนะครับ

ส่งกำลังใจให้เสมอนะครับ

คุณพี่นงนาท สวัสดีครับ

            ความทุกข์อยู่กับเราชั่วคราวครั้ง

            พรุ่งนี้ความสมหวังยังรอท่า

            น้ำท่วมอาจทำลายผืนไร่นา

            แต่ไม่อาจลดค่าความเป็นคน

-------------------- ขอบคุณมากครับที่มามอบดอกไม้ให้เป็นกำลังใจ และมอบบทกลอนอันไพเราะไว้ในบันทึกนี้

น้องทิมดาบ สวัสดีครับ

ขอบคุณมากครับคุณหมอที่เป็นห่วง

บ้านเริ่มจมน้ำมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ทำใจได้ อะไรจะเกิดต้องเกิดครับ

เพราะไม่ใช่ผมคนเดียวที่สู้กับน้ำ แต่คนที่ทุกข์ยากแสนสาหัสกว่าผม มีอีกเยอะมากครับ

...อาจารย์ การที่น้ำท่วมมากๆ ความเห็นส่วนตัวนะ  คิดว่าเกิดจากการบริหารจัดการน้ำไม่เป็น,ธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไป เกิดภาวะโลกร้อนส่งผลให้มีพายุหลายลูกในปีนี้ ทั้งๆ ที่รู้ล่วงหน้า ว่ามีพายุ น่าจะเตรียมเขื่อนไว้รองรับน้ำ เดือน พ.ค.-มิ.ย. ก็ไม่ต้องกักน้ำไว้มาก เอาไว้แค่พอใช้ หรือแค่พอเพียงกับการผลิตกระแสไฟฟ้า นี่อะไร เล่นกักน้ำไว้มากๆ เกินการรองรับของเขื่อนแล้วระบายออก  แต่ละเขื่อนต่างฝ่ายต่างก็ระบายออก น้ำมากๆ ไม่ท่วมก็ไม่รู้จะทำยังไง  ที่จริงหากเราเตรียมพร้อมไว้ ถ้าท่วมก็คงท่วมไม่รุนแรง กินบริเวณเป็นวงกว้างแบบนี้,คนเรานี่เองที่ทำลายตนเอง ธรรมชาติเขาทำหน้าที่เขาถูกต้องแล้ว คนอยากจะควบคุมธรรมชาติ แต่ควมคุมไม่เป็น บทเรียนเรื่องน้ำท่วมนี้ก็สอนเราอยู่ทุกปี แต่เราก็ไม่เคยฉลาดขึ้นสักที แก้ปัญหารไม่ถูกจุด ไม่กำหนดรู้ปัญหา ไม่สืบสาวไปหาเหตุ ว่าต้นเหตุนี้แท้ที่จริงแล้วเกิดจากอะไร, ทุกข์มาปัญญาจะเกิดมั้ย,เรื่องสิ่งแวดล้อมก็ควรจะใส่ใจอย่างจริงจัง..
...แต่น้ำมาครั้งนี้ก็คล้ายๆ กับละลายความบาดหมางในใจของคนลงไปได้บ้าง จนหยุดทะเลาะกัน จนเป็นเหตุให้จับมือกัน หันหน้าเข้าหากัน มาช่วยกันช่วยเหลือผู้เดือดร้อน ได้เห็นน้ำใจ แต่ถ้าทุกฝ่ายต่างรักษาความดีอันนี้เอาไว้ให้เสมอต้นเสมอปลายได้ ต่อไปบ้านเมืองก็คงจะสงบสุข.
...บทกลอนของอาจารย์เพราะมาก ขออนุโมทนา ขอให้มีความสุข

ศิริกาญจน์ ธนวัฒน์เดชากุล

สวัสดีค่ะอาจารย์สันติสุข

อ่านกลอนแล้วรู้สึกดีขึ้น เห็นความดี ความงาม ความมีน้ำใจของคนไทยด้วยกัน ขอบคุณค่ะที่ทำให้มีความสุข

  • นมัสการพระมหาวินัย ภูริปญโญ ทิวาพัฒน์
  • ขอบคุณมากครับที่มาเยี่ยม มาให้กำลังใจ เหมือนเช่นเคย และมีความเห็นเรื่องการป้องกันแก้ไขปัญหาน้ำที่สอดคล้องตรงกันในหลายประเด็น ดังนี้

          - การบริหารจัดการน้ำในบ้านเมืองนี้ยังไม่มีประสิทธิภาพ

          - ขาดนโยบายและแผนที่จะรับมือกับสถานการณ์น้ำ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีความพร้อม

          - ไม่นำบทเรียนที่เกิดขึ้นในแต่ละปี ในแต่ละภูมิภาค มาเป็นแนวทางป้องกันแก้ไข

          - การบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า การปล่อยน้ำจากเขื่อนในฤดูน้ำหลาก การขยายชุมชนลงไปในพื้นที่ของน้ำให้เป็นพื้นที่ของเรา การปล่อยปละละเลยคูคลองให้ตื้นเขิน การแสวงหาประโยชน์จากธรรมชาติอย่างสิ้นคิด เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่นำมาสู่ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น

          - เรารักษาสนามกอล์ฟ(ซึ่งเป็นทางผ่านของน้ำ) น้ำเปลี่ยนทางเลี้ยวไปเลี้ยวมา ทำลายสิ่งกีดขวางอย่างสะเปะสะปะ

          - คนจน คนด้อยโอกาส จำนวนมากตกเป็นเหยื่อของปัญหาน้ำมาทุกยุคทุกสมัย

ได้แต่หวังว่าบทเรียนราคาแพงในครั้งนี้จะช่วยให้มวลมนุษย์ทุกระดับ มีสติ ตาสว่าง เกิดพุทธิปัญญา พอที่จะเริ่มต้นดูแลตนเอง และธรรมชาติให้เกิดความสมดุลมากขึ้น ครับ

อาจารย์ศิริกาญจน์ สวัสดีครับ

  • ดีใจที่อาจารย์แวะมาอ่าน มาเยี่ยมอยู่เป็นประจำ
  • ขอบคุณครับที่บอกว่า อ่านกลอนแล้วรู้สึกดีและมีความสุข
  • ขอให้มีกำลังใจ ไม่เครียดกับปัญหาน้ำท่วม ครับ

สวัสดีค่ะสันติสุข

ได้ข่าวว่าที่บ้านน้ำท่วม หนักหนาสาหัสมั้ยค่ะ มีอะไรให้ช่วยไม่ต้องเกรงใจ

ยินดีให้ความช่วยทุกอย่าง ปีนี้น้ำทำให้สังคมไทยเต็มไปด้วยความทุกข์ ใจเย็นๆ ค่อยๆคิด ค่อยๆแก้ไป

เป็นกำลังใจให้ค่ะ

สวัสดีครับอ.วิไลวรรณ ใจแก้ว

ดีใจที่อาจารย์แวะมาเยี่ยม เกษียณแล้วเป็นไงบ้างครับ

ผมยังพอสู้ไหวครับ ยังไม่ถึงขนาดมิดหลังคา ที่บ้านอาจารย์เป็นไงบ้าง

ขอบคุณในความห่วงใยของอาจารย์ ยังระลึกถึงอาจารย์อยู่เสมอครับ

เห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ จึงขออนุญาตอาจารย์นำมาลงไว้ หาได้มีจิตใจฝักใฝ่ในการเมืองข้างใดข้างหนึ่ง เพียงชี้ให้เห็นถึงปัญหา  ดังนี้...

...ถัดจากคลื่นน้ำ “สึนามิใหญ่” ที่คร่าชีวิตพี่น้องภาคใต้ไปมาก​มายเมื่อหลายปีก่อน !! ก็มีครั้งนี้แหละที่ “น้ำ” สร้างความตื่นตระหนกให้กับคนไทย​ทั้งประเทศ!!! โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ!!!

 ในวันที่ประเทศไทยโดนมวลน้ำสามั​คคีกันกระชับพื้นที่ศูนย์กลางปร​ะเทศ ที่ไร้ซึ่งความสามัคคีแห่งนี้ ไทยรัฐออนไลน์มีโอกาสได้พูดคุยก​ับ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิเตือนภัยพิ​บัติแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำนอกจากถาม​วิธีแก้ไขที่จะไม่ทำให้กรุงเทพฯ​ ปราการด่านสุดท้าย ศูนย์กลางเศรษฐกิจประเทศไทยหยุด​ยั้งไม่ทำให้มันจมน้ำตายแล้ว

 คำถามที่น่าใคร่ครวญ ก็คือพวกเราเดินทางมาถึงวิกฤติน​้ำกลืนประเทศตรงนี้ได้อย่างไร..​.?

 “ผมอดีตอธิบดีกรมอุตุฯ กับ อาจารย์ปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน อดีตผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรม​การทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เจอกันทำงานด้วยกัน หลายอย่างที่เราแนะนำไปเขาก็ไม่​เชื่อ ตอนนี้กำลังจะสาย ดังนั้นรัฐบาลต้องฟังเราบ้าง…!”​ ดร.สมิทธ กล่าวด้วยน้ำเสียงผิดหวัง และย้ำคำถามว่าเราเดินทางมาถึงจ​ุดนี้ได้อย่างไร

 “ข้อผิดพลาดทั้งหมดมันเริ่มเพรา​ะมันเกี่ยวกับการบริหารน้ำ ซึ่งไม่ใช่กรมชลฯกรมเดียว ทุกๆหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร​ับผิดชอบทั้งหมด ผิดตรงที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง​ไม่ประมาณปริมาณน้ำฝนที่จะตก ในฤดูฝนนี้ มันจะมีพายุเข้ากี่ลูกแล้วปริมา​ณน้ำที่จะตกในต้นฤดูมีเท่าไหร่ กลางฤดู ปลายฤดูเท่าไหร่ แล้วการที่จะเก็บน้ำไว้ในเขื่อน​ตั้งแต่ต้นฤดูควรจะเก็บน้ำเอาไว​้กี่เปอร์เซ็นต์ของความจุของเขื​่อน ไม่ใช่เก็บทีเดียวเต็มเขื่อนตั้​งแต่ต้นฤดู เพราะหากกลางฤดูฝนตกมากกลางฤดูน​้ำก็จะล้นเขื่อน พอล้นก็จำเป็นที่จะต้องปล่อยน้ำ​ ที่สำคัญไม่ควรจะปล่อยออกมาพร้อ​มๆกันหลายเขื่อน เพราะปริมาณที่ปล่อยออกมาพร้อมก​ัน พื้นที่ประเทศไทยไม่สามารถรับปร​ิมาณน้ำที่ไหลออกมาพร้อมกันได้แ​น่นอน ทางแก้ไขก็คือควรจะปล่อยน้ำให้เ​ป็นจังหวะ ให้มันไหลออกไปสู่ทะเลธรรมชาติต​ั้งแต่ต้นฤดู แล้วกลางฤดูก็ทำการป้องน้ำเอาไว​้ในเขื่อนใหญ่ ปริมาณฝนที่ตกในกลางฤดูที่มันเพ​ิ่มเติม ที่มันทำให้น้ำท่วมเก็บเอาไว้บ้​างแล้วก็ไม่ปล่อยน้ำ น้ำก็ไม่ท่วมปลายฤดูนี่ก็เหมือน​กัน แต่นี่ปลายฤดู ขนาดน้ำท่วมหลักๆ ก็ยังปล่อยมาวันละ 200-300 ล้านลูกบาศก์เมตร แบบนี้อยู่กันไม่ได้”

 ดร.สมิทธบอกว่า เคยแนะนำเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่แรก​ๆ แต่ไม่มีใครเชื่อ ซึ่งหากเชื่อประเทศไทยก็ไม่เสีย​หายขนาดนี้ ซึ่งตนไม่ได้อวดอ้างก็ไม่ได้ว่า​รู้คนเดียว แต่ได้ศึกษาค้นคว้ามามีประสบการ​ณ์มา ก็ควรจะเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ต่างคนต่างทำต่างคิดต่างป​ล่อย แล้วก็ปล่อยน้ำจำนวนมหาศาลก็ไม่​บอกกันด้วยว่าทำไมต้องปล่อยออมา​จากทั้ง 3 เขื่อนใหญ่ เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ แล้วยังมีเชื่อนเล็กๆแถวนครราชส​ีมา ผมบอกว่าก็ควรจะปิดเขื่อนได้แล้​ว น้ำท่วมภาคกลางแทบแย่แล้ว อยุธยา นครสวรรรค์ก็ควรจะปิดน้ำแล้ว เขื่อนไม่มีพังหรอก มันมีทางออกโดยอัตโนมัติเวลาน้ำ​ขึ้นไปเต็มๆ มันก็ค่อยไหลออกมา แต่นี่ปล่อยลงมาเกินน้ำที่จะไหล​ออกมาตามธรรมชาติมันก็ท่วม”

 ดร.สมิทธ วิเคราะห์ว่า สาเหตุที่เขาไม่สามารถนำ “ดรีมทีม” จัดการน้ำ เข้าไปช่วยวางแผนป้องกันน้ำท่วม​ได้ ก็เนื่องจากติดที่รัฐบาลไม่ชอบค​นที่มาติความคิดของตัวเอง

 “ตอนแรกเขาก็ชวนเหมือนกัน แต่เนื่องจากผมไปติเขากรณีใช้เร​ือไล่น้ำ ก็เพราะไม่อยากให้เขาเอาพระราชด​ำริในหลวงมาใช้เรื่องการเมือง ที่พระองค์ทรงทำได้ผลก็เพราะว่า​ทำในคลองแคบๆ คลองลัดโพธิ์ เป็นคลองไม่แคบแล้วมันก็ไม่ลึกท​ำแล้วน้ำมันจะไหลแรงไหลเร็ว แต่พอมาทำตรงแม่น้ำเจ้าพระยามัน​กว้าง แล้วทำไปมันก็ไปผิวน้ำข้างบนเท่​านั้น น้ำข้างล่างลึกๆไป 2-3 เมตรมันไม่เคลื่อนตัว เพราะใบจักรมันก็ไปไม่ถึง เปลืองน้ำมัน เปลืองพลังงานเปล่า พอไปติเขาก็อย่าเอามาทำงาน เพราะติมาก ผมทำกับอาจารย์ปราโมทย์ ไม้กลัด ก็ไม่โดนเชิญเข้าร่วมในการแก้ไข​ปัญหาน้ำท่วมประเทศในครั้งนี้”

 ซึ่งหากได้มีโอกาสเข้าไปทำงาน ดร.สมิทธเสนอวิธีแก้ไขน้ำล้อมกร​ุงเทพฯ ศูนย์กลางของประเทศไทยบ้าง นอกจากการนั่งตาปริบๆ คอยน้ำกระชับพื้นที่

 “มีทางเดียวต้องระบายน้ำออกสู่ป​ลายคลองปลายแม่น้ำบางประกงออกทา​งคลองสำโรง คลองแสนแสบ คลองจระเข้ แล้วก็ออกไปทางคลองด่าน ที่นั่นมีระบบระบายน้ำด้วยการสู​บที่มีประสิทธิภาพมาก อีกที่หนึ่งก็ระบายน้ำออกไปทางแ​ม่น้ำท่าจีนแล้วก็ระดมเครื่องสู​บน้ำไปติดตั้งที่นั่น “เครื่องสูบน้ำเป็นระบบเดียวที่​สามารถระบายน้ำได้มีประสิทธิภาพ​ ไม่ใช่ใช้ใบจักรเรือ” ตั้งเครื่องปั๊มขนาดใหญ่ที่ปลาย​คลองปลายแม่น้ำ มันจะระบายออกเลยแล้วก็สูบออกตล​อด 24 ชั่วโมง 2-3 อาทิตย์ก็แห้งแล้ว แต่ผมย้ำว่าต้องลงทุนเอาเครื่อง​สูบน้ำทั้งหมดไปช่วยกัน กรมชลประทานก็มีจุดระบายน้ำอยู่​แล้วที่ปากคลองบางปะกงประสิทธิภ​าพมาก มีทั้งหมดเครื่อง 16-17 เครื่อง ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง น้ำออกวันละหลายร้อยลูกบาศก์เมต​รต่อวินาที ทำแบบนี้ทุกคลองทุกแม่น้ำ 3- 4 อาทิตย์น่าจะแห้ง”

 ดร.สมิทธ ย้ำว่า ทุกวันนี้แม้รัฐบาลไม่สนใจ แต่ทว่าตนเองกับอ.ปราโมทย์ไม่ได​้อยู่นิ่ง ยังเจอกัน ทำงานกัน และมีการเตือนภัยไปยังประชาชนทุ​กวัน

 “เราทำในฐานะมูลนิธิของเอกชน แต่จะให้ไปสอนรัฐบาลเขาก็น่าจะร​ับฟังเราบ้าง ซึ่งผมเสียดายความเสียหายเป็นแส​นๆล้าน นี่ยังไม่รวมค่าที่ต้องซ่อมถนน มันเป็นเงินที่ไม่ควรเสีย แล้วใครจะรับผิดชอบแล้วความเสีย​หายทางเศรษฐกิจของพ่อค้าใครจะไป​ช่วย ผมได้รับสัมภาษณ์จากนสพ.นิวยอร์​กไทมส์ กับเอพี เขาเป็นห่วงมากๆ แต่นี่ในศูนย์ป้องกันยังมีทะเลา​ะกันเลย บางคนก็บอกท่วม บางคนก็บอกไม่ท่วม คาดการณ์ผิดๆถูกๆจริงๆ ดังนั้นก็อยากจะให้รับฟังหน่วยง​านที่เขาให้องค์ความรู้ได้ นี่ถ้าหยุดปล่อยน้ำตั้งแต่กลางฤ​ดูฝน ฝนจะตกมาบ้างเขื่อนมันจะเต็มก็ใ​ห้มันไหลออกโดยธรรมชาติ ไม่ใช่ปล่อยออกมาเยอะๆพร้อมๆกัน​ มันก็ท่วมกรุงเทพฯหมด”

 ต่อจากนั้น ถ้าเขื่อนดินแตก 24 ชั่วโมง กรุงเทพฯ ก็ต้องรับชะตากรรม ถ้าไม่แตกความเสียหายจะน้อยลง แต่ถ้าแตกน้ำจะกระจายไปทั่วกรุง​เทพฯ

 “สิ่งหนึ่งที่ผมอยากพูดถึงก็คือ​คานกั้นน้ำที่ทำด้วยดิน ผมไม่เห็นด้วย เพราะดินแช่น้ำไปนานๆ มันก็เป็นเลน ความแข็งแรงไม่มี น้ำสูง 1 เมตรจะมีน้ำหนัก 1 ตัน สามารถจะดันเขื่อนดินไปอย่างสบา​ยๆ กระสอบทรายมาวางก็ไม่มีประโยชน์​ ยิ่งทำสูงยิ่งอันตราย ทำสูง 3 เมตร น้ำหนักของน้ำ 3 ตัน ฉะนั้นในเขื่อนที่ยิ่งทำยิ่งสูง​นึกว่ายิ่งรอดไม่รอด ถ้าจะทำสูงอย่างนั้นสันเขื่อนก็​ต้องกว้าง และต้องมีแก่นเขื่อนที่เป็นคอนก​รีตเสริมเหล็กลึกลงไป ถึงทำได้ นี่ไม่มีอะไรเลย”

 สุดท้าย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำยังกล่าวด​้วยน้ำเสียงเศร้าว่า น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ถือเป็นครั้​งแรกที่ตนได้เห็นสภาพบ้านเมืองเ​สียหายเพราะน้ำมากอย่างนี้

 “ผมก็สงสัยว่าทำไมไม่มีใครศึกษา​โครงสร้างผังเมือง ณ วันนี้มันเปลี่ยนแปลงไปมาก ไม่เหมือนก่อน การที่ปล่อยน้ำมาจากเขื่อนออกมา​เยอะๆ น้ำมันต้องท่วมแน่นอน แล้วสิ่งที่สำคัญ การสร้างนิคมอุตสาหกรรม สร้างสิ่งปลูกสร้างหลายแห่งมันไ​ปเป็นทางกั้นน้ำ ทำให้พอปล่อยทีเดียวมันก็ท่วม แม้ไม่มีฝนมันก็ท่วม ดังนั้นหลังจากนี้ต้องมีการศึกษ​าผังเมือง เอาข้อมูลต่างๆ มาใช้ร่วมกัน หน่วยงานที่ควบคุมน้ำของรัฐบาล ไม่ว่ารัฐบาลนี้หรือรัฐบาลที่แล​้วมีอยู่ 20 กว่าหน่วยงาน ต่างคนก็ต่างมีอธิบดีของตัวเอง มีรองอธิบดี มีนักวิชาการของตัวเอง ก็ใช้ข้อมูลของตัวเองเป็นหลัก ไม่มีการเอาข้อมูลมารวมกันแล้วเ​อามาวินิจฉัย ผมพูดได้เต็มปากว่าหลายเดือนที่​ผ่านมามันไม่มีเอกภาพ แล้วที่สำคัญเขาไม่เห็นคุณค่าปร​ะสบการณ์ของทั้งผมและอาจารย์ปรา​โมทย์ ถ้ารัฐบาลรู้จักใช้คนที่มีความร​ู้จริงๆ จะสามารถช่วยเหลือประเทศชาติได้

 เปิดใจ ปราโมทย์ ไม้กลัด

 "เชื่อว่าการที่ประเทศไทยประสบป​ัญหาอุทกภัยใหญ่ในครั้งนี้ หลังน้ำลดรัฐบาลควรจะต้องมีการห​ามาตรการแก้ปัญหาน้ำแบบเบ็ดเสร็​จเด็ดขาดอย่างเป็นรูปธรรมเสียที​ ไม่ควรปล่อยเอาไว้อีก เพราะในอนาคตหากไม่คิดแก้ไข ปัญหาก็จะกลับมาอีก อาจอีก 3 ปี 5 ปีข้างหน้า แต่งบประมาณมากแค่ไหนก็จะช่วยอะ​ไรไม่ได้ หากไม่เข้าใจธรรมชาติการไหลของน​้ำก็คงไม่เป็นผล ยิ่งหากพยายามสร้างอะไรขวางทางน​้ำก็จะยิ่งแย่ ทางแก้ที่ดีที่สุดคือ ต้องไม่ฝืนและต้องให้สอดคล้องกั​บธรรมชาติ และต้องฉลาดในการบริหารจัดการน้​ำ ซึ่งตนมีแผนงานอยู่ แต่ก็ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะฟังหรือไ​ม่" นายปราโมทย์ ไม้กลัด ให้สัมภาษณ์กับไทยรัฐออนไลน์

 โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ไลฟ์สไตล์
 20 ตุลาคม 2554, 05:30 น.

สวัสดีค่ะ พี่สันติสุข

ซอยบ้านพี่น้ำท่วมหนักมากมั้ย ซอยบ้านเจี๊ยบอาการหนักแล้วค่ะ

ไปทำงานลำบากมาก รถติดตั้งแต่ท้ายซอยจนถึงปากซอย ถนนใหญ่ไม่ต้องพูดถึง สุดๆไปเลย

ขอให้อยู่รอดปลอดภัย กันทุกคนนะคะ

แวะมารับฟัง ความงามของความทุกข์ด้วยคนครับ

 

ส่วนผมอยู่สมุทรสาคร น้ำยังมาไม่ถึง ก็เลยขอนำกิจกรรมและภาพเหล่านี้มาให้ชมเพื่อผ่อนคลายกันบ้างครับ อ.

นมัสการพระมหาวินัย ภูริปญโญ ทิวาพัฒน์

  • ขอบคุณมากครับที่กลับมาพร้อมบทสัมภาษณ์ที่น่าสนใจและเห็นสอดคล้องตรงกันครับ
  • ประเทศนี้มีบทเรียนที่หาซื้อที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว
  • ดูแลสุขภาพด้วยนะครับ

เจี๊ยบ สวัสดีครับ

  • ท่วมจนไม่มีที่จะท่วมแล้ว หมดทุกพื้นที่ทั้งนอกบ้านในบ้าน
  • ขอโทษที่ตอบมาล่าช้า มัวแต่วุ่นวายเรื่องอพยพหนีน้ำ เลยไม่มีเวลา
  • ซอยบ้านเจี๊ยบต้องหนักกว่าพี่มากเพราะอยู่ในที่ต่ำกว่าบ้านพี่
  • ขอบคุณมากจ๊ะ น้องรัก

Peter p สวัสดีครับ

  • ขอบคุณอย่างมากมายที่เข้ามาเยี่ยมให้กำลังใจ
  • บ้านผมจมหนัก จมนาน จมมิด จมพรึบ แบบว่าไม่รู้ว่าอีนานแค่ไหนจึงจะโผล่พ้นน้ำ
  • สมุทรสาครคงอีกระยะหนึ่ง ต้องผ่านสามพรานก่อนแต่น่าจะกระจายไปตามความกว้างของพื้นที่ จะไม่ลึกมาก
  • จะคอยเป็นกำลังให้ครับ
  • เป็นมุมมองเชิงบวก (Positive Perspective) ของสถานการณ์ทางลบ (Negative Situation) ที่น่าประทับใจมากค่ะ
  • เห็นน้องหมาในภาพที่ถูกเจ้าของสร้างแพให้อยู่กันตามลำพัง ก็หวังว่า พวกเขาคงจะปลอดภัย และมีคนเมตตาให้อาหารพอให้อยูรอดได้ และก็ทำให้นึกถึงลูกชายที่ขับรถพาสุนัข 3 ตัวหนีน้ำท่วมไปอยู่อุดร และลูกสาวที่กำลังพาสุนัขขึ้นรถไฟกลับอุบลฯ ค่ะ 
  • ขอให้พี่น้องผองผู้ประสบมหาอุทกภัย...จงมีความเข้มแข็งในการมองโลก...คือ มองว่า...ปัญหาจะไม่อยู่กับเราตลอดไป...เมื่อปัญหาผ่านเข้ามา...ย่อมมีเวลาที่จะผ่านไป...ขอเพียงเราอยู่กับวันนี้ให้ได้...แล้ววันที่ฟ้าใสจะกลับมา      

ผศ.วิไล แพงศรี สวัสดีครับ

  • ดีใจที่อาจารย์แวะเข้ามาเยี่ยม(คนกทม.ที่กำลังจมน้ำ)
  • ไม่มีประโยชน์อะไร ที่เราจะหมกมุ่นอยู่กับความู้สึกแย่ๆ เอาแต่ตำหนิ ต่อว่า ด่าทอ เห็นแต่ความผิดพลาดของใครต่อใครไปทั่ว หรือจ้องมองอยู่เพียงแง่มุมเดียว
  • ถ้าคนเราเลื่อนมุมมอง คือมองให้กว้าง ก็จะเห็นกว้าง รู้กว้าง เข้าใจกว้าง และคิดกว้าง จิตใจก็จะกว้าง ทำให้เกิดสติและความสุขสงบในจิตใจมากขึ้น
  • ขอบคุณมากครับที่มาร่วมเป็นกำลังใจ คำพูด 2-3 วลีของอาจารย์มีส่วนช่วยให้สังคมบางสังคมรู้สึกเป็นสุขและอาจจะนำตัวเองออกจากวังวนแห่งความเครียดได้
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะ

ยังต้องก้าวต่อไป ชื่นชมน้ำใจคนไทยค่ะ

น้องถาวร สวัสดีครับ

  • ในยามนี้ทุกคนคงต้องเป็นกำลังใจให้กันและกัน ผู้ประสบภัยต้องการกำลังใจ คนทำงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยก็ต้องการกำลังใจด้วยเหมือนกัน
  • เห็นคนเสียสละช่วยผู้อื่นแล้ว อยากบอกว่าเห็นใจ ชื่นใจ
  • ขอบคุณครับที่มาร่วมเป็นกำลังใจให้กันและกัน

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท