มหาวิทยาลัยวิจัย : 1. คำถาม และคำ (ไม่) ตอบ


อย่ามัวรอหานิยามที่ชัดเจน ให้หานิยามในลักษณะที่เรียกว่า "นิยามเพื่อทำงาน" (Operative Definition) โดยทำไปพร้อมๆ กับการสร้างยุทธศาสตร์การทำงาน และขับเคลื่อน

มหาวิทยาลัยวิจัย  : 1. คำถาม และคำ (ไม่) ตอบ

         ผมได้รับ อีเมล์ ติดต่อ ขอสัมภาษณ์.ในประเด็นต่อไปนี้

1. What is มหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย

2. ข้อมูลอะไรที่แสดงว่า มหาวิทยาลัยนั้นเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย

3.   วิวัฒนาการ ของ มหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย

4.   องค์ประกอบที่สำคัญของมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย

5.   ปัจจัยเกื้อหนุนต่อการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย

6.   ตัวอย่างของความสำเร็จของการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย

7.  Strategies ในการพยายามที่จะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย

8.  How to be มหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย Step by step

9. ข้อเสอแนะอื่นๆเพิ่มเติมจากอาจารย์

         เป็นคำถามที่ดีมากนะครับ     ผมขอแสดงความชื่นชมผู้ตั้งคำถามมา ณ ที่นี้    

         ตำตอบของผมก็คือ     ผมจะ "ไม่ให้และให้" มากกว่าการสัมภาษณ์ครับ      คือจะทำให้เป็นสุนทรียสนทนาใน gotoknow.org     เพื่อให้ได้ข้อมูลและความเห็นที่หลากหลาย      ที่ทำอย่างนี้ก็เพราะผมตอบคำถามนี้ไม่ได้     และไม่ควรตอบแบบให้กฎเกณฑ์ตายตัว     ตอบตรงๆ ก็คือไม่มีคำตอบเดียวต่อแต่ละคำถามชองคุณอำมรครับ

        แต่ละมหาวิทยาลัยที่ประกาศตนว่าเป็นมหาวิทยาลัย ควรตั้งวง ช่วยกันคิด (และทำ) เพื่อตอบคำถาม และขับเคลื่อนสู่เป้าหมายมหาวิทยาลัยวิจัย ของตน     คือต้องร่วมกันสร้าง "วิสัยทัศน์ร่วม" (Shared Vision) ในการขับเคลื่อนสู่มหาวิทยาลัยวิจัย

        มหาวิทยาลัยที่ต้องการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย  ควร commission คนที่เข้าใจเรื่องมหาวิทยาลัยวิจัยดี (ซึ่งมีอยู่แล้วในมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง     เขากำลังปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อนส่วนเล็กๆ ของเขาสู่ "สะเก็ดมหาวิทยาลัยวิจัย" ด้วยซ้ำ) ให้เข้าไปศึกษามหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำของโลก ว่าเขามีลักษณะอย่างไร     เขามีโครงสร้าง  วัฒนธรรม  ผลงาน  คุณสมบัติของอาจารย์  วิธีได้ผู้บริหาร  การป้องกัน inbreeding ฯลฯ อย่างไร      จะได้ประโยชน์มากครับ     เมื่อได้ผลการรวบรวมข้อมูลและสังเคราะห์แล้วก็เอามาจัดตั้งวง (เวที) ลปรร. ว่าจริงๆ แล้ว      "สะเก็ดดาว" มหาวิทยาลัยวิจัย ที่มีอยู่ คืออะไร     เกิดขึ้นได้อย่างไร     มีทางสนับสนุนให้ขยายลงลึก และขยายออกทางกว้าง เชื่อมโยงสู่สาขาอื่น คณะอื่น หน่วยงานอื่น ได้อย่างไร     ก็จะเกิดแรงขับเคลื่อนสู่มหาวิทยาลัยวิจัย

        เคล็ดลับคือ
          (๑) อย่ามัวรอหานิยามที่ชัดเจน    ให้หานิยามในลักษณะที่เรียกว่า "นิยามเพื่อทำงาน" (Operative Definition)     โดยทำไปพร้อมๆ กับการสร้างยุทธศาสตร์การทำงาน และขับเคลื่อน
          (๒) อย่าไปเชื่อว่ามีเทวดาไหน ที่มีสิทธิ์นิยามคำนี้     ไม่ว่าเทวดาปัจจเจก หรือเทวดาองค์กร     ผมไม่ใช่เทวดา ยิ่งตอบไม่ได้     จึงไม่ตอบ     หรือจะตอบแบบยะโสก็คือผมไม่โง่พอที่จะตอบในสิ่งที่ตนไม่รู้        

        หวนกลับมาพิจารณาเรื่องนี้อย่างเอาจริงเอาจัง     นี่เป็นเรื่องใหญ่มาก     ที่คนขับเคลื่อนน่าจะเป็นอธิการบดีหรือรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย      ผมรู้จักคนน้อย  ไม่กว้างขวาง      รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยที่ผมรู้จัก และเห็นว่าเอาจริงเอาจังในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่มหาวิทยลัยวิจัย คือ ผศ. ดร. วิบูลย์ วัฒนาธร แห่ง มน.     ผมจึงขอสื่อสาร (ยุ) ไปยัง ดร. วิบูลย์ ให้ลองพิจารณาทำเรื่องนี้     ถ้าจะตั้งวงเครือข่ายมหาวิทยาลัยที่ขับเคลื่อนเรื่องนี้ผมยินดีมาให้ลูกยุ     ทำเป็น CoP ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยวิจัยก็จะดีนะครับ

       เรื่องนี้คงจะเป็น series ยาวเป็นสิบตอน     ต้องขอบคุณผู้ถามที่ช่วยจุดพลุ

วิจารณ์ พานิช
๒๖ สค. ๔๙ 

หมายเลขบันทึก: 46505เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2006 13:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท