จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

ละหมาดดุฮากับการสร้างประสิมธิภาพงาน


ผมได้รับมอบหมายจากกลุ่มให้ศึกษาเนื้อหาจากหนังสือฟิกหุซซุนะห์สำหรับการแลกเปลี่ยนกันในวันนี้ครับ ผมเปิดไปเปิดมาแล้วก็สนใจประเด็นการเจ็บป่วย ซึ่งอยู่ในบทเรื่องความตายและพิธีการที่เกี่ยวข้อง เนื้อหาอยู่ระหว่างหน้า 246-255 ของหนังสือล่มดังกล่าวครับ  

25541009-103135.jpg ผมพบว่าอิลามมีหลักคิดเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของมนุษย์ว่าเป็นเรื่องของการชำระล้างความชั่ว ลบล้างบาปต่างๆ ดังหะดีษที่รายงานจากอาบีฮูรัยเราะห์ว่า ท่านบนีกว่าลว่า "ผู้ใดที่อัลลอฮฺทรงประสงค์ดีต่อเขา พระองค์จะทรงทดสอบเขาด้วยเภทภัยบ้าง" (รายงานโดยบุคคอรย์และมุลิม)การลบล้างบาปนั้นเกิดขึ้นได้เสมอแม้จากความเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น หนามตำ เป็นต้น จากสภาพดังกล่าวมีแนวทางที่มุสลิมควรปฏิบัติเมื่อเกิดความเจ็บป่วย คือ 1) ให้มีความอดทนต่อความเจ็บป่วย ดังหะดีษของท่านรอซูล (ซ.ล.)ที่กล่าวว่า "น่าประหล่ดสำหรับเรื่องราวของมุมิน ที่ว่าเรื่องราวของเขานั้นล้วนเป็นสิ่งที่ดีด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งดังกล่าวนั้นจะไม่เกิดแก่บุคคลใด นอกจากกับผู้ศรัทธาเท่านั้น มาตรว่าความสุขได้ประสพกับเขา เขาก็ขอบคุณ นั่นเป็นการดีแก่เขา และแม้นว่าความทุกข์ได้ประสพแก่เขา เขาก็อดทน นั่นเป็นการดีแก่เขา (รายงานโดยมุสลิม) 2) การแจ้งข่าวความเจ็บป่วย (การร้องทุกข์ของผู้เจ็บป่วย) อนุญาตให้ผู้ป่วยร้องเรียนหรือบอกกล่าวความเจ็บป่วยแก่ผู้อื่น แต่ต้องไม่อยู่ในสภาพของความไม่พอใจหรือความท้อแท้ รอซูลกล่าวว่า "ฉันเป็นไข้ เหมือนที่คนสองคนในหมู่พวกเจ้าเป็น" และอาอีชะห์เยบ่นแก่ท่านรอซูลว่า โอ ปวดศรีษะจัง รอซูลก็กล่าวว่า "ทว่าฉันปวดมากกว่า" แต่อย่างไร ผู้ป่วยควรสรรเสริญต่ออัลลอหฺก่อนที่จะเอ๋ยถึงอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น ดังที่อิบนิมัสอูดกล่าวว่า "เมื่อการขอคุณอยู่ก่อนการร้องทุกข์ เขาก็หาใช่เป็นเช่นผู้ร้องทุกข์ (ทั่วไป) ไม่" ผู้ป่วยจะถูกบันทึกความดีตามที่เคยปฏิบัติในยามสุขสบาย  ทีนี้ก็มีประเด็นของคนทั่วไปก็คือการไปเยี่ยมเยียนผู้ป่วยครับ ซึ่งอิสลามให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากอิสลามสนับสนุนให้มีการไปเยี่ยมเยียนผู้ป่วย ดังปรากฏในหะดีษมากมาย เช่น "ผู้ใดที่ไปเยี่ยมเยียนผู้ป่วย จะมีการร้องเรียนจากฟากฟ้า (มาลาอีกะห์) ว่า เจ้าและการเดินทางของเจ้านั้นดีแล้ว และเจ้าไ้สำรองที่พักากสวรรค์แล้ว" (รายงานโดย อิบนุมาญะหฺ) ในกรณีการเยี่ยมเพศตรงข้าม ในหนังสือเล่มนี้ระบุไว้ว่าสามารเยี่ยมเยียนต่างเพศได้ ทั้งนี้อาอีชะได้ไปเยี่ยมอบูบกรและบิลาลเมื่อล้มป่วย และเช่นเดียวกันกับการไปเยี่ยมคนต่างศาสนิกครับ สามารถเยี่ยมผู้ปฏิเสธได้ ดังที่อนัสรายงานรอซูล (ซ.ล.) ได้ไปเยี่ยมเด็กยิวคนหนึ่งที่เคยรับใช้ท่าน และบอกว่า "เจ้าจงรับอิสลามสิ" และเขาก็รับอิสลาม (รายงานโดยบุคคอรีย์) อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ เวลาไปเยี่ยมผู้ป่วยนอกจากจะขอดุอาให้กับผู้ป่วยแล้ว เราควรขอให้ผู้ป่วยขอพรให้กับเราด้วย ดังที่อุมัรกล่าวว่า ท่านรอซูลกล่าวว่า เมื่อเจ้าเข้าไปเยี่ยมผู้ป่วย จงใช้เขาขอพรให้แก่เจ้า เพราะการขอพรของเขานั้นดุจดั่ฝการขอพรของเหล่ามาลาอีกะหฺ (รายงานโดยอิบนุมาญะหฺ) ผมว่าประเด็นหลังนี้เป็นหลักจิตวิทยาที่สูงมากครับ สามารถสร้างกำลังใจ สร้างคุณค่าให้กับตัวผู้ป่วยได้ดีมากครับ วัลลอฮูอะลัม

25541009-103934.jpg
หมายเลขบันทึก: 464316เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2011 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 11:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท