R2R ป่าติ้ว (AI ด้วย) ทำซ้ำได้ไหมน๊อ..เรียกว่าวิจัยไม๊น๊อ


ห้องเรียนกระบวนกรตอนที่ 381

ใครทำ R2R, AI, OD, Action Research, Learning Organization จะพบกับคำถามแบบเดียวกันคือ...เป็น "องค์ความรู้ได้หรือ" มันใช่วิจัยหรือ...เพราะถ้าเป็นองค์ความรู้ ผลการค้นพบนั้น ถ้าเอาไปทำซ้ำกับที่อื่นก็ต้องเกิดผลอย่างเดียวกัน...ภาษานักวิจัยเรียกว่าเจนเนอราลไร๊เซเชั่น (Generalization)...บางคนจะบอกว่าถ้าเอาไปทำซ้ำไม่ได้ ก็ไม่ใช่ความรู้ เมื่อไม่ใช่ความรู้ ย่อมไม่ใช่งานวิจัย.

....

ครับ...ต้องขอบอกนิดหนึ่งครับ การทำวิจัยแนวนี้...มีวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งคือ "พัฒนางานของตนเอง/องค์กรเราเอง" ครับ...ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะไปพัฒนางานขององค์กรอื่น...ผลงานวิจัยที่เกิดขึ้่น..จึงไม่สามารถอ้างได้ว่า..ถ้าเอาไปทำซ้ำกับที่อื่นแล้วจะเกิดผลอย่างเดียวกัน..เพราะการทำ R2R AI Action Research KM LO นี่ไม่ได้ทำใน "หลอดทดลองครับ" มีอะไรมาเกี่ยวข้องตั้งมากมาย...เช่นบางโครงการผู้บริหารชอบและอินกับ AI มาก แต่ลูกน้องไม่เอาด้วย..ผลการวิจัยก็ไปอีกแบบ..หรือลูกน้องชอบมากมาย ผู้บริหารไม่เอาด้วย..ผลก็ไปอีกอย่าง..เอาไปใช้อีกที่รับรอง อาจไม่ได้เหมือนกัน..

....

เช่นอะไรครับกรณีโรงพยาบาลป่าติ้ว พนักงานรักษาความปลอดภัยทำ R2R เนื่องจากพบว่าคนชอบขับรถเข้าออก ผิดทาง..เกิดปวดหัวครับ...เลยไปถามคนทำ R2R ว่าจะทำอย่างไร..ก็ได้รับคำแนะนำให้ลองจดสถิติ...จดทะเบียนรถ..ปรากฏว่าได้ผล คนเปลี่ยนพฤติกรรม...ถามว่า..ถ้ารปภ.คนนี้ไปถามผิดคน..ด้วยปัญหาอย่างเดียวกัน อาจได้คำตอบ..ว่า..ทำใจนะพี่..คนสมัยนี้ก็อย่างนี้แหละ...ครับ..รับรองไม่เกิด...เห็นไหมครับ..มีปัจจัยเกี่ยวข้องตั้งมากครับ...เพราะฉะนั้น..ต้องบอกเลยว่า..ถ้าจะถามว่า ผลของ R2R และ AI นำไปใช้ที่อื่นได้ไหม...ต้องถามก่อนครับ..ว่า..เข้าใจธรรมชาติของงานวิจัยแนวนีี้หรือไม่...ครับ..คุยกันก่อน..ส่วนจะเอาไปใช้ได้หรือไม่..ก็ต้องตอบว่ามีทั้งได้หรือไม่ได้ครับ..บางทีต้องดัดแปลงเอา..

....

เช่นมีงานหนึ่ง เราไปเจอว่า..ในร้านทอง เราได้ลูกค้าประเภทรักเรามาก..ประเภทพาคนมาซื้อเลยครับ..ถามไปถามมา..ปรากฏว่า..เราจำได้ว่ามีวันหนึ่งคุณแม่ว่าง..เจอลูกค้ารายนี้..ปรากฏว่า..เขาระแวงกลัวจะได้ทองไม่จริงกลับไป คุณแม่ของลูกศิษย์เลยสอนลูกค้าดูทองครับ...ว่าทองจริงทองปลอมต่างกันอย่างไร..ได้เรื่อง ลูกค้าชอบ และไว้วางใจขนาดพาคนมาซื้อเป็นสิบๆ..

....

นี่ไงครับ..พอผมเอาเรื่องนี้ไปเล่าให้ลูกศิษย์ฟัง..ร้านขายทรายเอาไปทำมั่ง..แต่ก็ต้องดัดแปลง..ก็ให้ลูกค้ามาดูการตวงทราย...อยู่ดีๆ..ยอดขายก็โตเอาโตเอา..ลูกค้าบอกว่า..ไม่เคยเห็นใครทำอย่างนี้...

....

ไปเจอร้านรับซื้อข้าวโพด ก็ทำแบบเดียวกัน..ได้ผลครับ...

...

ในกลุ่ม AI Thailand จาก 2-300 โครงการ เราทำเรื่องนี้ไปสามโครงการ เลยตอบไม่ได้ว่ามันจะใช้ได้ทุกสถานการณ์หรือไม่..เพราะะไม่ใช่ทุกองค์กรจะเกี่ยวข้องกับตาชั่งครับ...

...

แต่งานวิจัยแบบนี้อาจสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนทำงานวิจัยเชิงสำรวจ หรือวิจัยเชิงทดลองครับ...โดยอาจกลายเป็นงานวิจัยของคนอีกกลุ่ม ที่ต้องอาศัยการสำรวจ การทดลองมากๆ ได้ครับ..แต่สำหรับ R2R AI KM LO OD AR เราถือว่าเราตอบโจทย์แล้วครับ..เพราะเราได้เอาไปพัฒนาตัวเองแล้วครับ..

...

คุณล่ะ คิดอย่างไร

หมายเลขบันทึก: 464310เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2011 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 15:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • อาจารย์คุยเรื่องยากๆให้เข้าใจได้ง๊ายง่าย แล้วก็ยกตัวอย่างได้น่าสนใจ เข้าใกล้ตัวได้อย่างดีอีกด้วย
  • อาจารย์กล่าวถึงประเด็นที่สำคัญมากครับ เพราะเป็นเรื่องการตั้งคำถามเพื่อการพัฒนาเชิงระเบียบวิธีให้ก้าวหน้าอยู่เสมอๆ หรือไม่ก็ทำให้เกิดการสะดุดคิด แม้จะเป็นคำถามเดิมๆก็ทำให้มีความตระหนักรู้ความสำคัญเรื่องนี้ไว้ไปด้วยอยู่เสมอๆ
  • ความสำคัญมากที่สุด ที่เกี่ยวกับความรู้ก็คือ จะใช้ความรู้ชนิดที่เป็นความรู้ที่แยกออกจากการปฏิบัติ แล้วให้บทสรุปทั่วไป หรือความรู้อีกแบบหนึ่ง ที่เป็นความรู้ที่สะท้อนความจริงอยู่บนการปฏิบัติได้ แก้ปัญหาได้ ซึ่งบางกรณี ปัญหานี้ก็สำคัญและจำเป็นต้องตั้งคำถามไว้ด้วย
  • แต่บางเรื่อง บางปัญหา คำถามอย่างนี้ก็ไม่อยู่ในระดับที่จะต้องไปติด หรือข้ามไปได้เลย เพราะการวิจัยเป็นเพียงเครื่องมือและวิธีการ แต่เป้าหมายไม่ได้อยู่เพียงผลการวิจัยว่าจะออกมาไปทางไหน ทว่า ต้องการบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาชีวิต คุณภาพแห่งชีวิต จะได้ความรู้แบบไหน หากเป็นวิธีการที่เหมาะสมกับเงื่อนไขนั้นๆ ก็ไม่เป็นปัญหาทั้งสิ้น
  • อันที่จริง หากมุ่งไปที่สาระสำคัญและประเด็นหลักของสังคม ที่เปลี่ยนจากวิธีการตัดสินใจและการใช้ระบบจัดการตนเองของสังคม จากระบบที่ไม่เอื้อต่อคนส่วนใหญ่และคนเสียเปรียบ เช่น ใช้ผู้นำเผด็จการไม่กี่คน ใช้กำลังความรุนแรงซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยแต่ต่อสู่ไม่ไหว ใช้ความเชื่อและความศรัทธาแบบผูกขาดซึ่งเป็นหลักประกันอะไรที่แน่นอไม่ได้อย่างในยุคพ่อมดหมอผี หรือผู้ที่ใช้ความศรัทธา เหล่านี้ ไปสู่การใช้เครื่องมือและวิธีการทางความรู้ ใช้ปัญญา ความเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งเปิดโอกาสให้ใครก็ได้ในสังคมต่างๆ สามารถเดินไปบนวิธีการอย่างนั้นได้ ซึ่งเราเรียกเป็นหลักสำคัญว่า ใช้ความรู้และวิธีสร้างความรู้อย่างเป็นระบบ เป็นเครื่องชี้นำการคิดและตัดสินใจต่อความเป็นส่วนรวมที่จะอยู่ด้วยกันในเลื่อนไขต่างๆของผู้คน......คุณูปการที่สำคัญอย่างนี้ ก็เป็นเรื่องที่จะทำให้สังคมมีโอกาสเกิดความศานติ เท่าเทียม เสมอภาค มีอิสรภาพ มีเสรีภาพ ได้โครงส้รางที่เอื้อต่อการเดินเข้าหากันของมนุษย์แบบเป็นพี่เป็นน้องกัน ถือหลักอย่างนี้เป็นแก่น ก็จะทำให้การวิจัยเป็นเรื่องที่ชาวบ้านก็แตะต้องได้และเรียนรู้เพื่อพัฒนาได้
  • แต่โดยทั่วไป สังคมวิชาการ รวมทั้งสังคมทั่วไปที่ไม่ค่อยสนใจที่สาระสำคัญและหลักการใหญ่ แต่ไปสนใจแพ็คเกจ พิธีกรรม เครื่องปรุงรส หรือความเป็นเทคนิคปฏิบัติ กระทั่งมีจำนวนไม่น้อยที่ก็เคลิ้มๆไป กระทั่งทำท่าจะเป็นการทำให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต้องเคารพเทอดทูนยิ่งกว่าศาสนาและพิธีกรรมของพ่อมดหมอผี เที่ยวไปแตะต้องและไปจดจำมาพูด ก็อาจจะต้องตัดมือทิ้ง ตัดลิ้น และจับโยนลงกะทะ ซึ่งมันไม่น่าจะใช่ การวิจัยเป็นวิธีการใช้ความรู้และวัฒนธรรมใช้ปัญยาสำหรับการอยู่ด้วยกัน
  • จะอ่อนแก่ สูงต่ำ เจนเนอราลไลซ์ได้มากน้อยแค่ไหน ก็ต้องเรียนรู้ พัฒนา และยกระดับได้ งอกงาม เติบโต มีโอกาสเกิดทางเลือกได้มากมาย และมีโอกาสเกิดผู้นำการสร้างสรรค์สิ่งดีจากผู้คนทุกคนเสมอกัน เหมือนกับที่มักหล่าวถึงพระพุทธองค์ทรงให้พุทธวจนว่า ความเป็นพุทธธะนั้น มีอยู่ในทุกคน นี่หากผมพูดอย่างนี้อย่างในยุคคือคัมภีร์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้วละก็ ผมก็จะต้องถูกเอาเอาเหล็กแทงลิ้นและราดด้วยทราบคั่วร้อนๆแล้วน่ะครับ เพราะคนที่จะสามารถอ่านหนังสือและพูดเรื่องความรู้ได้ ต้องได้รับสิทธิจากพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น ทำนองนี้แหละครับ
  • พูดนอกเรื่องมากไปหน่อยครับอาจารย์ เป็นการเสวนากันนะครับ ผมถือว่าคนทำงานความรู้ต้องคุยกันเรื่องลักษณะอย่างนี้จนเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาๆน่ะครับ สังคมแห่งความรู้ และสังคมแห่งการเรียนรู้ คุยเรื่องอย่างนี้ได้ไม้กว้างขวางละก็ คงจะเกิดความแพร่หลายและเป็นวัฒนธรรม ผสมผสานอยู่ในชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่ได้ยาก

บางครั้งเราต้องมาตีความคำว่า "เจนเนอราลไร๊เซเชั่น (Generalization)" บ้างก็ดีเหมือนกันนะคะ เอะอะนักวิชาการที่ทำวิจัยมักอ้างความเป็นเจนเนอราลไร๊เซเชั่น (Generalization) อยู่เสมอทำให้เราปิดกั้นโอกาสของการเรียนรู้ไปเสียนี่...

เช่น ทำแล้วมันสามารถ เจนเนอราลไร๊เซเชั่น (Generalization)ได้ไหม...พอไม่ได้ก็ไม่ให้เกิดการทำ ซึ่งจริงๆ แล้วการเรียนรู้เรื่องการทำวิจัยนี่มันมีมิติที่หลากหลายลุ่มลึก

อ่านบันทึกนี้แล้วเกิดปัญญาดีค่ะ

...

ชอบบันทึกนี้มากครับ

และเกิดแรงบันดาลใจต่อไป

ออกรสออกชาติดีแท้ครับอาจารย์

สวัสดีครับอาจารย์วิรัตน์

อาจารย์ครับ ที่อาจารย์พูดนี่ เป็นอะไรที่อยู่ในใจผมมานาน.

อยากเขียนเรื่องนี้เยอะๆครับ.

พิธีกรรมมาก จนบางครั้งรู้สึกเรากลายเป็นคนนอกศาสนาไปเลย.

อาจารย์ ka-poom ครับ

ต้องเขียนเรื่องนี้ครับ และต้องสื่อสารกันครับ.

ไม่งั้นบางทีกลายเป็นการกีดกันแบบหวังดี ครับ น่าเหนื่อยใจครับ

ในสายนี้ไม่ต้อง Generalization. ครับ มันคนละปรัชญาครับ

คุณทิมดาบครับ

เป็นกำลังใจให้ครับ R2R. เป็นสิ่งสำคัญน่าส่งเสริมมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท