เรือช่วยน้ำท่วม สร้างง่าย ราคาถูก


ชื่อ  เรือ น้ำใจปีบทอง
ขนาด 1x1.5x0.35
น้ำหนักบรรทุก: ประมาณ 400 กก.

ราคาวัสดุก่อสร้าง: เหล็กเส้น 500 บ. ผ้าใบ 1500 บ.
วิธีการสร้าง: ใช้เหล็กเส้นก่อสร้างมาดัดเป็นโครงเรือท้องแบน ตามแนวขวางและแนวยาว ขัดสานและผูกเข้ากันด้วยยางยืด (เช่น ยางในรถ จยย. ผ่าเป็นริ้วๆ) มีคานเล็กแล่นกลางตามแนวขวางเพื่อความแข็งแรง จากนั้นคลุมผิวด้านนอกด้วยผ้าใบคลุมรถสิบล้อ (กันการขีดข่วน ทิ่มทะลุได้ดี)  ขึงผ้าใบให้ตึงด้วยการเอาเชือกร้อยตาไก่แล้วผูกมัดเข้ากับโครงเหล็กเส้น (หมายเหตุ จะใช้ไม้ไผ่รวกมาดัดแทนเหล็กเส้นก็ได้ แต่ขณะน้ำท่วมหาไม้ไผ่ได้ยาก แต่หาซื้อเหล็กเส้นได้ง่ายกว่า)
 
เวลาที่ใช้ในการทำ: ประมาณ 2 ชม. คน
วิธีใช้: พาย หรือ ถ่อ โดยการใช้ไม้กระดานปูพื้นสำหรับคนนั่งพาย
 
แนวคิดออกแบบโดย: รศ.ดร.ทวิช จิตรสมบูรณ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ม.เทคโนโลยีสุรนารี
 
ทำการสร้างโดย: นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ม.เทคโนโลยีสุรนารี
 
สนับสนุนทุนโดย: สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ม.เทคโนโลยีสุรนารี
หมายเลขบันทึก: 463992เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2011 20:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 08:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีค่ะ

แวะมาชมบันทึกนี้ค่ะ

เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์มากค่ะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้นะคะ

ขอบคุณค่ะ

เยี่ยมยอดมากครับ ประโยชน์สูง ประหยัดสุด

เป็นไอเดียที่ เท่ห์มากเลย ช่างคิด

แต่คราวหน้า อึมมม.... ขอเป็นเรือดำน้ำ ได้ไหมคะ

Good one!

Can we use bamboos instead of steel rods?

With woven bamboo floor, perhaps thick polythene (black plastic) sheeting could be used.

With substituted materials,

the cost could be down to 200-300 baht;

construction time would be more;

usability would be limited

NB. Clever fitting of polythene sheet over skeleton is needed -- double skins is one solution.

ท่าน sr ครับ ไม้ไผ่มันหายากช่วงน้ำท่วมครับ อีกทั้งอาจต้องดำน้ำลงไปตัด การดัดไม้ไผ่ต้องใช้ความร้อนช่วย แต่เหล็กเส้นหาซื้อได้ทั่วไปในตจว. ครับ ผ้าใบธรรมดาใช้ไม่ดีครับ มันจะถูกทิ่มทะลุ รั่ว ต้องใช้ผ้าใบ heavy duty ดังที่เราใช้นี่แหละครับ ซึ่งมีหลายเกรด เราใช้อย่างดี ตรม.ละ 250 บาท

ขอแถมเรื่องการผูกโครงเหล็กเข้าด้วยกันครับ ผมแนะนำให้ใช้ยางยืด (ไม่ใช่ลวด) เพราะจะยึดแน่น ถ้าใช้ลวดมันจะเกิดความหลวมแล้วทำให้โครงสร้างโยกเยกได้ (ยกเว้นมัดดีมากๆ) ส่วนการดัดเหล็กนั้น ควรใช้ปากกาจับ แล้วเอามือดัดก็ได้ ถ้าไม่มีปากกว่า เอาเท้าเหยียบไว้กับปูนแล้วเอามืองอดัดเลยก็ได้ (ต้องกล้ามโตสักหน่อย) ...ระวังอย่าให้มีอะไรแหลมๆ โผล่ เพราะมันอาจไปทิ่มผ้าใบทะลุได้

ตามมาเชียร์ค่ะ.. เห็นแล้วน่าภูมิใจแทนท่านอธิการบดีนะคะ เพราะท่าน8'มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ในการรับท่านอาจารย์ที่เก่งๆ มาร่วมทำงาน และผลิตผลที่ได้โอ้โห.. ช่างงอกงามจริงๆเลยค่ะ .. (อิอิอิ) แต่ขอต่อยอดอีกนิดเดียวก็จะตอบโจทย์ทุกอย่างได้แบบสมบูรณ์ ขอแบบมีเครื่องยนต์ติดด้วยก็ดีนะคะ.. ระยะทางห่างไกลและระดับน้ำสูงมาก คงพายกันไม่ไหวหล่ะ..หมดแรงกลางทางแน่ ๆ เลย ช่วยคิดต่ออีกนิดนึงนะคะ.. มทส.เป็นสถาบันการศึกษาด้านเทคโนโลยีที่เวลานี้.. HOT มากๆ ใครๆก็เริ่มให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้นจากการทำการบ้านจริงในสถานการณ์จริง แบบนี้ .. ท่านอธิการบดีเตรียมตัวรับตำแหน่ง สถาบันการศึกษาด้านเทคโนโลยีอันดับ 1 ไปเลยค่ะ 5555

Thanking for pointing out the bamboo availability in time of flood.

At the present, any means to help with transport through flood water is acceptable provided that the crafts/rafts are adequately safe for the job.

This is of course 'a warning' to consider 'saving lives' (especially our own lives) over saving goods and things.

Perhaps, after the flood, we shall have to look for a few more alternatives for the next floods.

Another idea is in < http://www.gotoknow.org/classified/ads/1910 >. (I think the blogger should consider moving it from "classified" section and adding a key word "น้ำท่วม" as well.

"Need" is the mother of inventions.

;-)

I spotted this

วิธีทำเรือจากท่อพีวีซี

in < dailynews.co.th > วันอาทิตย์ ที่ 16 ตุลาคม 2554 เวลา 0:00 น

It may help someone who have pipes lying around.

And a nice picture of a "model" bamboo raft at < http://www.naewna.com/news.asp?ID=284580 > วันที่ 19/10/2011

"...เจ้าหน้าที่นำแพลูกบวบที่เป็นไอเดียของ นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ฯ มามอบให้ศปภ. เพื่อแจกให้ประชาชนใช้เป็นพาหนะแทนรถยนต์..."

Another boat design contributed by NECTEC

see เนคเทค ผุดไอเดีย "เรือประดิษฐ์" กู้วิกฤติน้ำท่วม

< http://www.thairath.co.th/content/tech/213808 >

I am sure there are more if we could put them all together for all to see.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท