"บ้านลอยน้ำ" อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพฯ


ช่วยกันเผยแพร่/กระจายข้อมูลค่ะ

สาร อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย

 

จากภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของ ประเทศไทย ได้ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมากทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ประสบ ภัย กรมโยธาธิการและผังเมืองซึ่งมีภารกิจหลักประการหนึ่งคือการให้บริการแบบบ้าน เพื่อประชาชนที่มีอยู่อย่างหลากหลายรูปแบบในระดับราคาต่างๆ กัน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของบ้านที่จะสามารถป้องกันภัยดังกล่าวได้ จึงได้เริ่มทำการศึกษาเพื่อการออกแบบ จากแหล่งต่างๆ ทั้งจากในและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บ้านท่าขนอน อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งยังมีบ้านลอยน้ำ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ได้รับการอนุรักษ์ไว้ในพื้นที่ 


27 กันยายน พ.ศ. 2550 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมายังกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อทรงเปิดพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุ วัดติวงศ์ เมื่อได้ทอดพระเนตรนิทรรศการแบบบ้านเพื่อประชาชนของกรมฯ แล้วได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับ “บ้านลอยน้ำ”

กรม โยธาธิการและผังเมืองจึงได้ออกแบบบ้านหลังนี้ขึ้นโดยปรับใช้แนวคิดจาก “บ้านลอยน้ำท่าขนอน” และเรือนแพของชาวบ้านในอดีต นำมาประยุกต์ใช้กับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ซึ่งในฤดูแล้งตัวบ้านจะตั้งอยู่บนพื้นดินตามปกติ แต่เมื่อมีน้ำท่วมก็จะลอยขึ้นตามระดับน้ำได้ โดยจะมีการยึดตัวบ้านไว้กับเสาหลักทั้งที่มุมเพื่อป้องกันการโคลงตัวหรือลอยไปตามกระแสน้ำ และเมื่อระดับน้ำลดลง ตัวบ้านก็จะกลับมาตั้งอยู่บนพื้นดินตามเดิม 

ขนาด ของบ้านลอยน้ำที่ได้ออกแบบขึ้นนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของขนาดวัสดุสำเร็จรูป ที่มีขายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด เพื่อให้เป็นการใช้วัสดุที่คุ้มค่าที่สุดเท่าที่จะทำได้ซึ่งสามารถประยุกต์ ใช้และทำการก่อสร้างได้ง่าย เนื่องจากมีระบบวิศวกรรมโครงสร้างเป็นรูปแบบอย่างง่าย ชาวบ้านที่มีความรู้ ด้านช่างในระดับทั่วไปก็จะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้เอง 

บ้าน หลังนี้มีขนาดพื้นที่รวมประมาณ 60 ตารางเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่ใหญ่มาก เพื่อความสะดวกในการก่อสร้างและการลอยน้ำ แต่หากมีความต้องการพื้นที่เพิ่ม ขึ้นก็อาจเชื่อมต่อหลายหลังเข้าด้วยกัน โดยใช้สะพานทางเช ื่อมพาดระหว่างชานรอบตัวบ้าน 

สำหรับ ราคาค่าก่อสร้างประมาณการได้ว่ากรณีดำเนินการก่อสร้างเองจะมีราคาประมาณหลัง ละ 719,000 บาท หากจ้างเหมาราคาประมาณหลังละ 915,000 บาทเนื่องจากต้องมีการคิดค่าดำเนินการ กำไรและภาษีด้วย 

แบบบ้านลอยน้ำของกรมโยธาธิการและผังเมืองนี้ น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ต้องอยู่ อาศัยในพื้นที่ที่อาจต้องประสบภัยน้ำท่วมตามฤดูกาลได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้อยู่อาศัยในบริเวณเที่เป็นที่ลุ่ม โดยอาจปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบและพื้นที่ใช้สอยให้มีความเหมาะสมและสอด คล้องตามความต้องการที่แท้จริงของตนเองต่อไป

            



 

 

 

 

แนวคิด   ออกแบบขึ้นโดยแนวคิดเพื่อป้องกันความเสียหายจากอุทกภัย
ตามฤดูกาล และตั้งอยู่บนพื้นดินในภาวะปกติ โดยให้บ้านทั้งหลัง
สามารถลอยสูงขึ้นได้ตามระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างไรก็ตามบ้านลอยน้ำ
นี้ไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีน้ำไหลเชี่ยวกรากรุนแรง 

ขนาดพื้นที่   ประมาณ 60 ตารางเมตรประกอบด้วยพื้นที่อยู่อาศัย 23 
ตารางเมตร ส่วนทำอาหารห้องน้ำและซักล้าง รวม 37 ตารางเมตร 

ราคาค่าก่อสร้าง   โดยประมาณ 719,000 บาท (กรณีปลูกสร้างเอง) 
ไม่ต้องใช้ผู้รับจ้างเหมาและประมาณ 915,000 บาท (กรณีมีผู้รับจ้างเหมา) 

วัสดุก่อสร้าง  ใช้วัสดุก่อสร้างพื้นฐานทั่วไปที่สามารถหาได้ง่ายในท้องตลาด 
ซึ่งสามารถดัดแปลงได้ตามความเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ทุ่นลอยเป็นถังน้ำมัน
ขนาด 200 ลิตร หรือถังไฟเบอร์กลาสกรณีต้องการความทนทานเพิ่มขึ้น 

ระบบสุขาภิบาล  ใช้ระบบการย่อยสลายโดยมีถังบรรจุจุลินทรีย์ EM 
ติดตั้งอยู่ใต้ห้องน้ำเพื่อย่อยสลายและเร่งการตกตะกอนของสิ่งปฎิกูล

 

 

(คลิ๊ปที่รูปเพื่อดูรูปใหญ่)


[ PDF ] แบบด้านสถาปัตยกรรม

[ PDF ] แบบวิศวกรรมโครงสร้าง

[ PDF ] แบบงานระบบไฟฟ้า

[ PDF ] แบบงานระบบสุขาภิบาล

[ PDF ] ประมาณราคาค่าก่อสร้าง

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.portfolios.net/profiles/blogs/2988839:BlogPost:2136399

 

หมายเลขบันทึก: 463206เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2011 02:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ

Ico64

แวะมาชื่นชม'บ้านลอยน้ำ'...ตกข่าวค่ะ...ถ้ามีการส่งเสริมการผลิตอย่างกว้างขวางทั้งวัสดุของทุนลอยและวัสดุที่เป็นส่วนประกอบของตัวบ้านในลักษณะ modular home ประกอบออกจากโรงงานเพื่อให้บ้านมีมาตรฐานคงทนแข็งแรง มีต้นทุนการผลิตที่ไม่แพงมาก รวมทั้งการติดตั้งแผง solar panels เพื่อนำพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ solar energy มาใช้...จัดระบบสุขาภิบาลที่ครบวงจร มีถังบำบัดน้ำเสีย  ถังบ่อเกรอะ ถังกรองน้ำใช้และถังก๊าซชีวภาพ...นึกแล้วไม่น่าเกินความสามารถของคนไทย...'บ้านลอยน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ' ไม่สงวนลิขสิทธิ์นะคะ   

น่าสนใจมากค่ะ ขอบคุณที่นำมาเผยแพร่

@ ดร. พจนา แย้มนัยนา - ถ้าทำได้อย่างนี้ ก็แจ่มเลยค่ะ "บ้านลอยน้ำแบบ EcoGreen" น้ำท่วมนานแค่ไหนก็ยังอยู่ได้สบายๆ

@ อ. โสภณ ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ

@ คุณพี่นงนาท ขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ

บ้านแอมมี่ก็ใกล้ท่วมเต็มทีแล้วค่ะ ยังเฝ้าระวังอยู่เหมือนกัน

แต่คิดว่าสำหรับประเทศไทย เราคงจะต้องหาทางรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมแบบวางแผนระยะยาวจะดีกว่า

นอกจากนี้ ก็สนับสนุนให้ปลูกผักบนทุ่นลอยน้ำได้แบบทะเลสาปที่พม่าด้วย

บ้านลอยน้ำ มนุษย์ต้องเตรียมรับมือกับภัยธรรมชาติขนาดนี้เลยหรือคะนี่

ขอบคุณคะ อาจารย์เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ นำภูมิปัญญาที่เราอยู่กับน้ำหลากอย่างสันติ มาปรับใช้ พอดีเจอบ้านลอยน้ำ แถวใกล้ที่พักของมหาวิทยาลัย ขออนุญาตมาฝากคะ

@mission bay park . SF

สวัสดีครับ

เห็นด้วย บ้านแบบนี้ น่าจะเหมาะกับคนที่อยู่ในพื้นที่ภาวะน้ำท่วมซ้ำซาก ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท