การทำฟันในผู้ป่วยที่รับเคมีบำบัด


ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ (mucoitis) ส่งผลให้เกิดแผลในช่องปาก เกิดการติดเชื้อและมีเลือดออกในช่องปาก ซึ่งอาการเหล่านี้ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด ตามมาด้วยการทานอาหารไม่ได้ แปรงฟันไม่ได้ ทำให้ติดเชื้อง่ายและมีโอกาสติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้การรักษายุ่งยากมากขึ้น

การทำฟันในผู้ป่วยที่รับเคมีบำบัด

ในผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด ควรจะต้องส่งมาพบทันตแพทย์ เพื่อให้ได้รับทันตสุขศึกษาและรับการรักษาที่เหมาะสมก่อน เพราะการได้รับเคมีบำบัดจะมีผลต่อระบบต่างๆของร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งหากเกิดปัญหาแล้วต้องมาทำการรักษาในระยะเวลาที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดผลแทรกซ้อนต่างๆตามมาได้

การให้การรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยที่รับเคมีบำบัดแบ่งเป็น 3 ระยะ 1)ระยะก่อนเริ่มรับเคมีบำบัด 2)ระหว่างให้เคมีบำบัด 3)หลังให้เคมีบำบัด ... ในที่นี้จะขอพูดถึงระยะก่อนเริ่มรับเคมีบำบัด ซึ่งจะเน้นการให้ความรู้แก่ผู้ป่วย เน้นย้ำความสำคัญและวิธีการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง และจะทำการตรวจประเมินสภาวะช่องปากของผู้ป่วยและให้การรักษาตามความเหมาะสม

...สิ่งสำคัญคือต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากและการหมั่นมาพบทันตแพทย์ เนื่องจากผลแทรกซ้อนจากการรับเคมีบำบัดใน มีผลต่อระบบเลือด ทั้งเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ทำให้ผู้ป่วยมีสภาวะซีด ติดเชื้อง่าย และเลือดออกง่าย นอกจากนี้ยังทำให้เกิด ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ (mucoitis) ส่งผลให้เกิดแผลในช่องปาก เกิดการติดเชื้อและมีเลือดออกในช่องปาก ซึ่งอาการเหล่านี้ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด ตามมาด้วยการทานอาหารไม่ได้ แปรงฟันไม่ได้ ทำให้ติดเชื้อง่ายและมีโอกาสติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้การรักษายุ่งยากมากขึ้น

อาการเยื่อบุช่องปากอักเสบจากเคมีบำบัด ไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถลดความรุนแรงลงได้ ด้วยการมีสุขภาพช่องปากที่ดีก่อนและระหว่างการให้เคมีบำบัด

การบ้วนปากด้วยน้ำเกลือเจือจาง เพื่อกำจัดเยื่อบุช่องปากที่หลุดลอกออกไป เป็นวิธีการที่ดีและปลอดภัยที่สุด

การดูแลตนเอง

  1. การเช็ดฟันและแปรงฟัน : ให้เลือกใช้แปรงสีฟันขนนุ่ม (อาจนำแปรงสีฟันไปแช่ในน้ำอุ่นก่อน จะทำให้แปรงนุ่มขึ้น) ในบางรายอาจแปรงฟันไม่ได้ แนะนำให้ใช้ผ้าก๊อซเช็ดฟันทีละซี่ โดยเช็ดจากทางคอฟันมายังปลายฟัน
  2. หลีกเลี่ยงน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของ alcohol
  3. ทานอาหารนุ่มๆ หลีกเลี่ยงรสเผ็ด รสจัด อาหารที่ร้อนหรือเย็นเกินไป
  4. ใช้ฟลูออไรด์เสริม

ส่วนการตรวจประเมินช่องปากและวางแผนรักษาทางทันตกรรมนั้นเป็นหน้าที่ของทันตแพทย์ การรักษาทางทันตกรรมทั้งหมดให้เสร็จก่อนเริ่มเคมีบำบัดจะดีที่สุด แต่บางครั้งก็ไม่สามารถทำได้ ทันตแพทย์ก็จะพิจารณาให้การรักษาสิ่งที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดก่อน โดยต้องพิจารณาร่วมกับผลเลือดของผู้ป่วย โดยทั่วไปจะพิจารณาค่า ANC และ platelet count  ส่วนการถอนฟัน ควรจะทำให้เสร็จก่อนเริ่มการรักษามะเร็งอย่างน้อย 2 สัปดาห์

ที่มา ; การอบรมเรื่อง “ทันตกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด” โดย ทญ.นันทนา ศรีอุดมพร รพ.รามาธิบดี  (29 สิงหาคม 2554 ณ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

ธัญญารัตน์

หมายเลขบันทึก: 463199เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2011 23:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 00:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียนจบแว้วดีใจด้วยน๊ะ

ขอแสดงความยินดีกับท่าน ผอ. รพ.มโนรมย์ด้วยค่ะ  

จากพวกเราชาว รพ.แก่งคอย ทีม KM 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท