วิจัยชีวิตพัฒนาคนดี


บทเรียนจากงานย้ายบริบทการทำงานของ ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ต้นแบบพลังความรู้และความสุขด้วยรอยยิ้มแห่งความคิดอิสระสู่ผู้นำทางการศึกษาชีวิตของชุมชน...ขอขอบพระคุณอาจารย์ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง

ดร. ป๊อป ขอขอบพระคุณในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ลุ่มลึกทางสังคมศาสตร์ด้วยสื่อศิลปะเพื่อการพัฒนาความดีจากท่านอาจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์

ผมยอมรับว่า พบปะอาจารย์วิรัตน์ครั้งแรกนั้น ทำให้ผมมีกำลังใจในการทำงานแบบนักวิชาการและวิชาชีวิตในทันที ภาษาที่อาจารย์ใช้สื่อสารทำให้ผมเรียนรู้จิตวิญญาณในการทำงานของตนเองมากขึ้นและเกิดความสุขในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและมหัศจรรย์...พอมาทราบคุณความดีและคุณค่าในตัวอาจารย์ในงานเสวนาอำลาการลาออกจากม.มหิดล ของอาจารย์ที่ทำงานนานกว่า 28 ปี ก็ยิ่งทำให้เกิดความคิดความเข้าใจถึง "บทเรียนแห่งนักพัฒนาชีวิตของอาจารย์ที่มีคุณค่าแก่สังคมมากขึ้นเมื่อเกิดการแสวงหาความรู้และการลงมือปฏิบัติจริงในสถานการณ์ชีวิตที่มีบริบทแห่งความจริงและความดีงาม...ซึ่งอยู่นอกเหนือระบบการเรียนรู้ในงานนักวิชาการอุดมศึกษา"

ในงานนี้ ต่างคนตอบโจทย์ "ทำอย่างไรมหาวิทยาลัยจะเรียนรู้ชุมชนได้ดี" เป็นเสียงเดียวกันว่า "อ.วิรัตน์ คือ ต้นแบบของผู้นำทางการศึกษาทางเลือกที่ใช้ศิลปะและสื่อในการเรียนรู้ชีวิตของคน ทุกเพศ ทุกวัย และทุกบริบทชุมชน ออกมาสู่รูปแบบองค์ความรู้เชิงจิตตปัญญา สังคมวิทยา มนุษยวิทยา และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะของชีวิต" 

ประเทศไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับกระบวนทัศน์และสร้างกระบวนกรเพื่อการพัฒนาความรู้และความดีของมนุษย์ เฉกเช่นแบบอย่างความเป็นผู้นำของท่านอาจารย์วิรัตน์ ผ่านการเสวนาของวิทยากรที่เป็นกัลยาณมิตรของท่านอาจารย์วิรัตน์ โดยสรุปคือ 

  • ผู้นำในการแสวงหาความรู้ควรกระทำควบคู่การเรียนรู้ชีวิตของตนเอง ครอบครัว และสังคม ด้วยความเบิกบานใจ ความเป็นกลางในการกิน-เที่ยว-การแสดงความห่วงใยในเพื่อน-ลูกหลาน และความยอมรับในความเจ็บป่วย
  • ผู้นำในการบูรณาการวิชาการ วิชาสังคม และวิชาชีวิตจากการลงพื้นที่จริงเพื่อเรียนรู้สุขภาวะชุมชนตามความเชื่อ พฤติกรรมการใช้ชีวิต สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ซึ่งเป็นงานปิดทองหลังพระของท่านอาจารย์วิรัตน์ที่เสียสละเวลาส่วนตัวอย่างมาก ในการจัดเสทีชีวิต เช่น กิจกรรมเชื่อมโยงคนทำงาน-กัลยาณมิตร-ชาวบ้าน (สานจิตวิญญาณในศาลาวัด) เพื่อเรียนรู้ความจริงของชีวิต ลงสัมผัสวิถีชาวบ้านเพื่อเป็นเพื่อนและผู้ช่วยแก้ไขปัญหาร่วมกับชาวบ้าน   
  • ผู้นำในกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ กระบวนการใช้สื่อในการสร้างคนและบทเรียน กระบวนการเรียนรู้ระเบียบวิธีวิจัย (สหสาขา-สุนทรียศาสตร์ระหว่างวิทย์และสังคม) กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เข้าถึงจิตใจของคน และกระบวนการพัฒนาระบบการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทไทย
  • ผู้นำในการเคลื่อนไหวความรู้ใหม่ ประสบการณ์ที่สะสมจากระบบมหาวิทยาลัยสู่การพัฒนาสุขภาวะในชุมชน สร้างเครือข่ายการศึกษาทางเลือก (Alternative education) ให้คนทุกระดับปรับตัวกับโลกาภิวัฒน์มากกว่าการวิจัยที่ไร้ชีวิต สร้างช่วงเวลาการเขียนหนังสือและการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่หวังถึงความสำเร็จของผู้เรียนในรุ่นลูกหลาน
  • ผู้นำในการตัดสินใจว่า "จะเข้าใจศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเพื่ออะไร มากกว่าจะรู้ว่าศาสตร์นั้นคืออะไร" ซึ่งเกิดจากสิ่งเร้าจากกัลยาณมิตรให้แสดงบทบาทการใช้ชีวิตที่มีคุณค่า

ท่านอาจารย์วิรัตน์คือผู้ให้ (คิดออกนอกตัว - เอาธุระคนอื่นมากกว่าตนเอง) ผู้ที่มีความเป็นนวัตกรรมที่อยู่ในระบบการทำงานที่เป็นนวัตกรรม มีความสามารถร้อยเรียงความคิดของคน มีรอยยิ้มเปิดใจ อ่อนน้อมถ่อมตน (ข้าวเต็มรวง) และฐานคิดที่เป็นความจริงของชีวิต ทำให้การวิจัย ไม่เพียงแต่สร้างองค์ความรู้ใหม่ แต่เป็นนวัตกรรมของกระบวนการทางการเรียนรู้ในบริบทที่เคลื่อนไหวรอบๆ ตัวเรา เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมผ่านงานศิลปะ ดนตรี และสื่อเพื่อการพัฒนาชีวิต...ซึ่งตรงกับกรอบความคิดของกิจกรรมบำบัดขั้นสูงคือ ความเป็นอยู่ที่ดีมีสุขของการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต

โจทย์ที่คนไทยควรวิจัยชีวิตเพื่อการพัฒนาคนดีต่อไป ได้แก่

  • บริบทใหม่ของมหาวิทยาลัยควรปรับให้เกิดระบบทางเลือกอย่างไร เพื่อให้บุคลากรเกิดความเข้าใจและความเชื่อมั่นในตนเองในการเรียนรู้ชีวิตผ่านงานวิจัยสู่ความรักองค์กรโดยไม่มีเงื่อนไข จนถึงความรักของสังคมที่จะเรียนรู้ช่วยเหลือกัน
  • เมื่ออะไรจะเกิดก็ต้องเกิด...ระบบนวัตกรรมที่เกิดขึ้นโดยการเชื่อมโยงความดีและความเป็นคนนั้นจะทำได้อย่างไร...มหาวิทยาลัยต้องเพิ่มโอกาสให้สังคมปรับตัวต่อสถานการณ์ชุมชนที่แปลกใหม่ เช่น ครอบครัวทำแต่งานไม่คุยกับลูก ชุมชนขัดแย้งกันและกลัวในการเปลี่ยนแปลงตนเอง เป็นต้น
  • เมื่อมีชนกลุ่มน้อยต่างชาติเข้ามาไทย สังคมและวัฒนธรรมจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรถึงจะเกิดพลังชุมชนแห่งความถูกต้องและเท่าเทียมกัน (Social justice)
  • เกิดอะไรขึ้น ถ้าองค์กรใหญ่ขึ้น แต่จิตมนุษย์เล็กลง องค์กรจะรักษาคนดีได้อย่างไร PA-TQF-Reseach Publication ทำให้อาจารย์มีความสุขกับการทำงานชุมชนอย่างแท้จริง (Social action) หรือไม่ อย่างไร
  • การสอนแบบใด หรือการศึกษาทางเลือกที่ช่วยกระตุ้นการพัฒนาคนให้พัฒนาตนเองได้
  • ระบบอาจารย์มหาวิทยาลัยมีข้อจำกัดอะไรในการเข้าถึงและพัฒนาชุมชนได้อย่างต่อเนื่องและจริงใจ
  • 

สุดท้ายนี้ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ ดร. วิรัตน์มากๆ ครับ หากมีโอกาสที่ดี ดร.ป๊อป จะขอติดต่อและติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์ด้วยความรักและคิดถึงเสมอครับ

หมายเลขบันทึก: 462695เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2011 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

อาจารย์วิรัตน์เป็น "คนอุดมคติที่มีอยู่จริง" ครับ...

  • อาจารย์ ดร.ป๊อบ เป็นนักฟัง นักเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง และเป็นนักสื่อสารแบ่งปันการเรียนรู้ที่สุดยอดจริงๆเลยนะครับ
  • ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์มากอย่างยิ่งด้วยเช่นกันนะครับ ดีใจที่ได้ร่วมงานกับคนรุ่นใหม่เก่งๆ เป็นผู้นำความริเริ่มสร้างสรรค์และมีสปิริตทางวิชาการอย่างสูงทั้งต่อสังคมและต่อมหาวิทยาลัย อยู่หลายครั้ง เป็นการนำเอาเส้นทางชีวิตและการงานให้ได้มาแตะกันและทำเป็นหมายเหตุชีวิตที่น่าประทับใจมากครับ 
  • เรื่องราวการชวนสนทนา เสวนา และกิจกรรมต่างๆของเมื่อวานนี้ ช่างให้ปัญญา น่าตื่นตาตื่นใจมากเลยนะครับ การสนทนาพร้อมกับเล่นเพลงต่างๆไปด้วยของวงคีตาญชลีก็ดี

พี่ใหญ่ขอร่วมชื่นชมนักคิด..นักพัฒนาเพื่อชุมชน..ท่านนี้ด้วยค่ะ..

ขอบคุณมากครับ อ.วิรัตน์ Mr. Direct คุณนงนาท และอ.ณัฐพัชร์

ขอบคุณมากครับคุณมะปรางเปรี้ยวและคุณโสภณ

กราบนมัสการพระมหาแล อาสโย ขำสุข

ชื่นชมกับความมุ่งมั่น แต่อ่อนน้อม

วัฒนธรรมการทำงานของชาวมหิดลคะ :-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท