๒๐๑.การถอดบทเรียนของอาจารย์มหาวิทยาลัยพะเยา เข้าสู่ดอกคำใต้โมเดล ๓


ดอกคำใต้โซนนี้ มีจุดแข็งอยู่แล้ว ดังนั้นควรเริ่มต้นโดยแกนนำก่อน หลังจากนั้นก็ขยายผลต่อไป ซึ่งประเด็นนี้ จากการจัดเวทีที่ผ่านมาทำให้เห็นว่าบางตำบลได้ขับเคลื่อนเป็นเมืองน่าอยู่บ้างแล้ว แต่ปัญหาคือการจะทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน-เกิดการถ่ายทอดให้แก่กันได้อย่างไร?

  

      ดอกคำใต้โซนเหนือ ประกอบด้วย ๔ ตำบลคือ ตำบลดงสุวรรณ  ตำบลสันโค้ง  ตำบลป่าซาง  และตำบลห้วยลาน

     ดอกคำใต้โซนนี้ มีเศรษฐกิจชุมชนที่น่าส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นจุดเด่นได้อย่างน่าสนใจ ดังนี้

  • ตำบลดงสุวรรณ  มีเศรษฐกิจชุมชนคือการทำไม้กวาด ที่ผลิตออกมาจำหน่ายในหลายพื้นที่

  • ตำบลสันโค้ง  มีพื้นที่เป็นป่าเขาที่น่าสนใจยิ่ง ตอนนี้มีการทำโฮมสเตย์ ขึ้นในหลายจุด ประกอบกับมีผาเทวดา ที่นักกีฬาปีนผาใช้เป็นสนามในการเล่น และเดินป่าที่น่าสนใจของจังหวัดพะเยา

  • ตำบลป่าซาง  มีการทำหัตถกรรมท้องถิ่นที่น่าสนใจคือการทำตุงล้านนา และมีการสอนภาษาล้านนา(ตั๋วเมือง)ให้กับเด็กและเยาวชน

  • ตำบลห้วยลาน  มีการทำศาลาไทย โดยการนำบ้านเก่ามาซำแหละสร้างเป็นศาลาไทย ปัจจุบันสามารถนำเป็นสินค้าส่งออกไปยังประเทศจีนและประเทศลาว

     ดอกคำใต้โซนนี้ มีจุดแข็งอยู่แล้ว ดังนั้นควรเริ่มต้นโดยแกนนำก่อน หลังจากนั้นก็ขยายผลต่อไป ซึ่งประเด็นนี้ จากการจัดเวทีที่ผ่านมาทำให้เห็นว่าบางตำบลได้ขับเคลื่อนเป็นเมืองน่าอยู่บ้างแล้ว แต่ปัญหาคือการจะทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน-เกิดการถ่ายทอดให้แก่กันได้อย่างไร?

 

     สามารถประมวลภาพในวันนั้น ได้กว้าง ๆ ดังนี้

ตำบลดงสุวรรณ

     ตำบลนี้ น่าชื่นชมก็คือปัญหาทางด้านสังคมน่าจะเบาบางกว่า เนื่องจากเมื่อดูพัฒนาการแล้ว มีความรุดหน้าไปจนถึงสามารถสร้างกฏ ระเบียบขึ้นมา โดยไม่ให้มีการมั่วสุมกัน เริ่มตั้งแต่ ๑ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา เพื่อควบคุมปัญหายาเสพติด โดยชุมชนมีความเชื่อว่า ถ้าปัญหายาเสพติดลดลง ปัญหาอื่น ๆ จะลดตาม

ตำบลสันโค้ง

     ตำบลนี้มีสโลแกนว่า ชุมชนปลอดสิ่งเสพติด สุขภาพแข็งแรง... ประเด็นที่น่าสนใจคือ ชุมชนนี้พากันจูงลูกหลานเข้าวัด ตลอดจนถึงการดูแลทุกวัยให้กับชุมชน ดังนั้น จุดเด่นอีกประการหนึ่งของชุมชนคือศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ที่มีกระบวนการเรียนรู้ของทุกวัยและมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ตำบลป่าซาง

     ตำบลนี้มีเป้าหมายที่ชัดเจน มีกิจกรรมตัดตุง ฯลฯ โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า ถ้ามาพะเยาต้องนึกถึงป่าซาง

     ตำบลนี้มีโครงการ "ปราชญ์น้อย" เป็นโครงการที่จัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดความรู้และที่สนใจยิ่งคือการได้ให้ความสำคัญแก่เด็ก โดยดึงโรงเรียนเข้ามาร่วมกิจกรรมนี้ด้วย

 

ตำบลห้วยลาน

     ตำบลนี้ ได้สร้างเวทีเรียนรู้ โดยเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบ ที่ผลิตศาลาไทยจำหน่ายในหลายประเทศ ซึ่งนอกจากเป็นกิจกรรมที่น่าศึกษาแล้ว เยาวชนคนในท้องถิ่นยังได้สร้างอาชีพและรายได้ด้วย  จากการดำเนินการโครงการที่ผ่านมา ทำให้เห็นว่ากลุ่มเยาวชนเข้ามาร่วมอย่างมากแบบคาดไม่ถึง ซึ่งเป็นการดึงเด็กเยาวชนเข้ามาร่วมทำกิจกรรมมากกว่าจะไปสร้างปัญหาอย่างอื่น

 

     นอกจากนี้แล้ว เด็กเยาวชนกลุ่มดังกล่าวยังไปทำกิจกรรมอื่น ๆ อีก เช่น กิจกรรมปลูกต้นไม้ กิจกรรมทำความสะอาดชุมชน ซึ่งที่ผ่านมาทำให้เห็นว่าสามารถลดปัญหาการทะเลาะกันระหว่างเยาวชน

     จากแนวคิดดอกคำใต้โมเดล ๓ กลุ่ม ๆ ละ ๔ ตำบลของอำเภอดอกคำใต้ที่ผ่านมา สามารถสรุปได้ ดังนี้

     ๑.กระบวนการเรียนรู้ เนื่องจากชุมชนทั้ง ๑๒ ชุมชน ได้จัดทำเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนในชุมชน เมื่อทุกคนเปิดใจ ก็มีการแลกเปลี่ยน มีการเสนอแนะทางออกร่วมกัน จนสร้างให้ชุมชนเข้มแข็งโดยมีฐานทางด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นแกนกลาง-สร้างความสามัคคี

 

     ๒.การมีส่วนร่วม จากหลาย ๆ เวทีที่ผ่านมา ทำให้เห็นภาพของหน่วยงาน-บุคลากรของทั้งท้องที่ ท้องถิ่น ประชาชน รัฐ พระสงฆ์ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง โดยมีคำว่า "จิตสาธารณะ" เป็นตัวตั้ง

 

     นี้เป็นเวทีเล็ก ๆ จาก ๑ อำเภอของจังหวัดพะเยาและพร้อมที่จะขยายไปสู่อีก ๘ อำเภอและในอีกหลาย ๆ อำเภอในประเทศ ...โปรดติดตามตอนต่อไป...

หมายเลขบันทึก: 461966เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2011 20:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 21:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นมัสการ ครับพระอาจารย์ ผมขอฝากตัวเป้นลูกศิษย์ครับ ผมเกิดที่บ้านน้ำล้อม อ.งาว จ.ลำปาง ผมมีแม่เป้นคนเมือง สนใจประวัติศาสตร์ล้านนา อยากรู้ว่าคนไทยแถว งาว ลำปาง เป้นเชื้อสายอะไรกันแน่ ผมจากบ้านมาแต่อายุน้อยๆ มาอยู่ภาคอีสาน ปัจจุบันรับราชครู ใกล้เกษียณแล้วครับ ขออู้แค่ก่อนเน้อ ตุ๊เจ้า

นมัสการท่านสุดยอดจริงๆๆ รออ่านอีกครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท