ประเภทของ Benchmarking


Benchmarking

ประเภทของ Benchmarking
      Benchmark สามารถแบ่งประเภทหรือจัดกลุ่มได้หลายลักษณะ โดยการแบ่งประเภทของBenchmarking ที่ใช้ในการวิจัย คือ แบ่งตามลักษณะวิธีของการทำ Benchmarking หรือตามผู้ที่เราเปรียบเทียบด้วย โดยแบ่งได้ดังนี้
      1) Internal Benchmarking เป็นการทำ Benchmarking กับองค์กรภายใน ซึ่งเป็นวิธีการที่นิยมทำกันในองค์กรที่มีขนาดใหญ่หรือองค์กรชั้นนำที่มีเครือข่ายทั่วโลก เนื่องจากมีกระบวนการหรือกิจกรรมภายในองค์กรที่มีลักษณะที่คล้ายกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการกระจายข้อมูลหรือความรู้ไปยังกลุ่มอื่น ๆ ภายในองค์การ นำไปสู่การสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงาน (work standard) ให้แก่  องค์กรและกลุ่มภายในองค์กร เนื่องจากทุกหน่วยงานจะเรียนรู้วิธีปฏิบัติจากหน่วยงานที่มีความสามารถมากกว่า และการทำ Benchmarking ด้วยวิธีนี้จะเป็นการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ให้กับทีมงานก่อนการทำ Benchmarking กับองค์กรภายนอกหรือหน่วยงานอื่น ๆ
        2) Competitive Benchmarking เป็นการทำ Benchmarking กับองค์กรที่เป็นคู่แข่งขันกันโดยตรงซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบองค์กรที่อยู่ในตลาดหรืออุตสาหกรรมเดียวกันหรือมีสินค้าหรือกระบวนการในการทำงานที่แข่งขันกันโดยตรง
        3) Industry Benchmarking คือการทำ Benchmarking โดยเปรียบเทียบผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่ไม่ใช่ผู้ที่เป็นคู่แข่งขันกันโดยตรง ซึ่งการทำ Benchmarking กับผู้ที่อยู่ในธุรกิจใกล้เคียงกันนี้ ช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาในการเก็บข้อมูลเพราะสามารถเก็บข้อมูลได้ง่ายกว่า รวมทั้งปัญหาเรื่องความลับของข้อมูลก็น้อยกว่าด้วย และกระบวนการธุรกิจก็มีความคล้ายคลึงกันในบางส่วนที่สามารถเปรียบเทียบกันได้เนื่องจากยังอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ในเชิงการเรียนรู้อาจ
ได้เรียนรู้วิธีการทำงานซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้บ้าง
         4) Cooperative Benchmarking เป็นการทำ Benchmarking กับองค์กรเป้าหมาย ซึ่งมักเป็นองค์กรชั้นนำในอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่คู่แข่งขันโดยตรง และจะไม่เกิดปัญหาในเรื่องการรักษาความลับการทำ Benchmarking ในลักษณะนี้ ความรู้และทักษะต่าง ๆ จะมีการถ่ายทอดอยู่เพียงด้านเดียว  นั่นคือ จากองค์การเป้าหมายไปยังองค์การที่ต้องการทำ Benchmarking จึงทำให้การทำBenchmarking โดยวิธีนี้นิยมกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
         5) Generic Benchmarking และ Functional Benchmarking คือการทำ Benchmarking กับองค์กรใดก็ตาม ซึ่งมีความเป็นเลิศในกระบวนการทำงานนั้น ๆ ซึ่งองค์กรนั้นอาจธุรกิจที่แตกต่างกับเราโดยสิ้นเชิง การทำGeneric Benchmarking มุ่งหวังที่จะค้นหา ผู้ที่มีความเป็นเลิศ (Best Practices) จริง ๆ ของกระบวนการจากธุรกิจทั้งหมด อย่างไรก็ตาม อาจพบว่าการวิเคราะห์ข้อมูล  เพื่อเปรียบเทียบระหว่างองค์กรตนเองและผู้ที่เป็นคู่เปรียบเทียบที่มาจากต่างธุรกิจแต่มีความเป็นเลิศในการปฏิบัตินั้นทำได้ค่อนข้างยาก ต้องอาศัยการวิเคราะห์ความคล้ายคลึงที่มีเหตุมีผลและบางเรื่องอาจจะเทียบกันไม่ได้เลยก็ได้ กระนั้นก็ตามการทำ Benchmarking แบบนี้ เป็นการทำ Benchmarking ที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมการปรับปรุงใหม่ ๆ ได้ดีที่สุด ให้ความรู้ใหม่ ๆ และให้มุมมองใหม่ ๆ ซึ่งจะไม่ได้ในการทำ Benchmarking แบบอื่น และ Generic กับ Functional
Benchmarking มีข้อต่างกันเล็กน้อย กล่าวคือ Generic Benchmarking จะเป็นการศึกษาเพื่อหาวิธีการใหม่ ๆ ในภาคอุตสาหกรรมและในกระบวนการต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับใช้กับกระบวนการที่ศึกษา ขณะที่ Functional Benchmarking จะเป็นการศึกษาเปรียบเทียบในกระบวนการที่เหมือนกันกับอุตสาหกรรมที่ต่างกัน
       6) Collaborative Benchmarking เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ในกิจกรรมหรือกระบวนการต่าง ๆร่วมกันในหลาย ๆ องค์กร โดยคาดหวังว่าการเรียนรู้ระหว่างกันจะนำไปสู่การพัฒนาและเพิ่มพูนความสามารถในการดำเนินงานได้ ซึ่งการทำ Benchmarking โดยวิธีการนี้เป็นเพียงการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านตัวเลขกันเท่านั้น ไม่ได้ให้ความสนใจต่อคำถามที่ว่า ทำไมหรือทำอย่างไร
         จากการแบ่งประเภท Benchmarking ตามลักษณะวิธีหรือตามผู้ที่เปรียบเทียบด้วยข้างต้น   การวิจัยจะใช้ประเภทการวิจัยแบบ Competitive Benchmarking อันเป็นการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับองค์กรที่เป็นคู่แข่งโดยตรงในอุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้ทราบถึงสถานะหรือตำแหน่งของตนเองในการแข่งขันทางอุตสาหกรรม รวมถึงจุดอ่อนจุดแข็งและระดับศักยภาพในการแข่งขันของ
ตนเองและคู่แข่ง ทั้งนี้การทำ Benchmarking แบบนี้ มีข้อจำกัด คือ จะเก็บข้อมูลค่อนข้างลำบากเพราะข้อมูลมักเป็นความลับ ไม่ค่อยเปิดเผย การทำอาจจะทำได้แค่บางกระบวนการเท่านั้น รวมถึงการที่จะให้องค์กรที่เป็นคู่แข่งมาแลกเปลี่ยนข้อมูลกันนั้นต้องอาศัยเวลาเพื่อสร้างความเข้าใจอย่างมากและการแลกเปลี่ยนต้องอยูใ่ นระบบพื้นฐานของความสบายใจกันทั้งสองฝ่าย

คำสำคัญ (Tags): #benchmarking
หมายเลขบันทึก: 460783เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2011 14:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท