ส่งงานวิชาปัญหากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล(ครั้งที่ 1)


นางสาวภัทราพร พุทธมงคล
                                     วิชา ปัญหากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล                  สืบเนื่องจาก  สัญชาติ เป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐและเอกชนที่ก่อให้เกิดสถานภาพของ คนชาติ  แก่บุคคลผู้เป็นคู่กรณีในนิติสัมพันธ์ซึ่งเกิดจากความสัมพันธ์ที่แท้จริงระหว่างรัฐกับเอกชน แต่เนื่องจากรัฐใดรัฐหนึ่งอาจมีคนต่างด้าว ซึ่งเป็นผู้ที่ไร้สัญชาติเข้ามาจึงก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพทำให้คนต่างด้าวมีปัญหาต่อการดำรงชีพของตนในรัฐนั้นๆ ได้ เพราะปัญหาทางด้านปัจเจกชนของคนต่างด้าวอาจนำมาซึ่งปัญหาทางสังคม รวมทั้งอาจก่อปัญหาระหว่างประเทศได้ หากไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพมาเอื้อต่อการใช้สิทธิของคนต่างด้าว รวมทั้งยังเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจมีในภายหน้าได้                  จากข้อเท็จจริงในกรณีของเด็กหญิงนุชมีประเด็นปัญหาต้องพิจารณาว่าเด็กหญิงนุช(ปัจจุบัน อายุ 11 ปี)เป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยและทำให้เกิดปัญหาในการเข้าการศึกษาในประเทศไทยไม่ได้ เนื่องจากขาดเอกสารสำคัญทางทะเบียนจะใช้กฎหมายหรือหลักการใดเพื่อให้เด็กหญิงนุชได้มาซึ่งสัญชาติไทยได้บ้าง                 หลักการได้สัญชาติไทย1.       การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด 1.1      การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด คือ การได้สัญชาติโดยหลักการสืบสายโลหิตของบิดาหรือมารดาที่มีสัญชาติไทย  ไม่ว่าจะเกิดในประเทศไทยหรือไม่ (พรบ.สัญชาติไทย พ.ศ. 2508 ม. 7) แต่ข้อเท็จจริง  บิดาและมารดาของเด็กหญิงนุชเป็นชาวพม่า ดังนั้นเด็กหญิงนุชไม่อาจได้สัญชาติไทยโดยการเกิด1.2      การได้สัญชาติไทยโดยหลักดินแดน คือ การเกิดในประเทศไทย  แต่ข้อเท็จจริงไม่สามารถสรุปได้ว่าเด็กหญิงนุชเกิดในประเทศไทยหรือไม่  แต่ถึงแม้ว่าเด็กหญิงนุชจะเกิดในประเทศไทย แต่ก็ไม่อาจได้รับสัญชาติไทยได้  เนื่องจากทั้งบิดาและมารดาเป็นชาวพม่าที่เข้ามาในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (พรบ.สัญชาติไทย พ.ศ. 2508 ม. 7 (2) ประกอบ ม. 7 ทวิ (3) ) 2.       การได้สัญชาติไทยภายหลังการเกิด2.1      การได้สัญชาติไทยโดยการสมรส คือ การสมรสกับผู้มีสัญชาติไทย (พรบ.สัญชาติไทย พ.ศ. 2508 ม. 9 )  แต่ข้อเท็จจริงเด็กหญิงนุชไม่มีการสมรสกับผู้มีสัญชาติไทยแต่อย่างใด และเด็กหญิงนุชยังเป็นผู้เยาว์ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ เนื่องจากปัจจุบันเด็กหญิงนุข อายุ 14 ปี และกำลังศึกษาอยู่ชั้น ป. 4 2.2      การได้สัญชาติโดยการแปลงสัญชาติ ตามพรบ.สัญชาติไทย พ.ศ.2508 ม. 10 , ม. 11 , ม. 12                          ทั้งนี้    นอกจากจะศึกษาถึงกฎหมายของ พรบ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 แล้ว ยังมีกฎหมายเกี่ยวข้องกับคนต่างด้าวอาจต้องศึกษาและหาทางแก้ไขจากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534  , พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2508 , พ.ร.บ. การทะเบียนคนต่างด้าว , พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481   และมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 18 มกราคม 2548  ในกรณีของเด็กหญิงนุช  เป็นกรณียุทธศาสตร์จัดการสถานะและสิทธิบุคคลว่าด้วยกรณีเด็กที่เรียนอยู่ในสถานศึกษาของประเทศไทยแต่ไม่มีสถานะที่ชัดเจนตามกฎหมายไทย  , มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 5 กรกฎาคม 2548 เรื่องการให้สถานศึกษาดำเนินการสำรวจเพื่อจัดทำทะเบียนสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำทะเบียนสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน พ.ศ. 2548 รวมถึงการให้นายอำเภอมีการสำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติของบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนเป็นต้น                 ดังนั้น สำหรับในกรณีของเด็กหญิงนุชจะต้องมีการทางการการจัดทำทะเบียนประวัติและเอกสารแสดงตนคือจัดทำเลขบัตรประชาชน เมื่อเด็กหญิงนุชอายุครบ 15 ปี บริบูรณ์ และหากเข้าหลักเกณฑ์การแปลงสัญชาติก็ให้จัดให้เด็กหญิงนุชได้มาซึ่งสัญชาติไทย และการประสานงานกับผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโพธิ์ทองบน ไทยรัฐ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี  โดยทั้งนี้ จะต้องมีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น สำนักงานสภาความมั่งคงแห่งชาติ , กระทรวงต่างประเทศ , กระทรวงศึกษาธิการ , กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น นอกจากนี้ ต้องประสานงานกับภาครัฐและเอกชนในกรณีที่เด็กหญิงนุชจะต้องเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในภายหน้า และจะต้องทำงาน เดินทาง ทำนิติกรรมต่างๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับเอกสารทางทะเบียนว่าจะให้ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆใดบ้าง  เพื่อแก้ปัญหาที่อาจมีในภายหน้าได้                                                                                            นางสาวภัทราพร  พุทธมงคล                                                                                                  รหัส 4801034069

 

หมายเลขบันทึก: 46044เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2006 20:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท