อยู่ๆ ก็รู้ว่า KM <--> QA <--> วิจัย มาด้วยกัน และจะไปต่อด้วยกัน ได้ดีนะเนี่ย!


ในที่สุด วันนี้ก็ได้รู้แล้วว่า ทั้ง KM <--> QA <--> วิจัย มันมาด้วยกัน และจะไปต่อไปด้วยกัน ไปสู่จุดมุ่งหมายสูงสุดได้เท่าที่เราอยากจะเป็น

     นับตั้งแต่เริ่มได้ยินคำว่า "ประกันคุณภาพการศึกษา" ก็รู้สึกอึดอัด เบื่อที่ต้องเพิ่มงานที่เป็นเอกสาร งานที่ต้องทำหลักฐานขึ้นมาให้ได้ตามที่ "เค้า?" ต้องการ   ไม่เคยรู้สึกเลยว่า สิ่งที่เราทำนี่คือ "การประกันคุณภาพ"  และไม่เคยคิดเลยด้วยซ้ำว่าจะนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง  สมัยก่อนด้วยความที่เป็นคนชอบคิดเชิงลบ และขี้ระแวง สงสัย บวกกับ ขี้เกียจอีกนิดหน่อย  ทำให้เกิดอาการหงุดหงิดทุกครั้งที่ ฝ่ายประกันฯคณะฯ แจ้งว่าจะต้องเตรียมเอกสารเพื่อการประกันคุณภาพ แล้วต้องรอรับผู้ประเมินฯ ต้องคอยตอบคำถาม คนที่อาจจะไม่เคยรู้จัก หรือเข้าใจการทำงานของเรา  หรือต้องวิ่งหาเอกสาร หลักฐาน เพื่อให้ได้คะแนน ไม่เข้าใจจริงๆ

     แต่พอทำมาหลายปี แล้วก็ยังไม่เข้าใจอะไรมากขึ้น มีแต่สับสนขึ้นทุกที กับความเปลี่ยนแปลง ไม่แน่นอน ของวิธีการตรวจประเมิน   

จนกระทั่งวันนึงก็คิดได้ว่า  ในเมื่อเราหนีระบบที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้ ก็คงถึงเวลาแล้วที่เราต้อง "สู้"  และ หลักการ "สู้" ของดิฉันก็คือ  "รู้เขา รู้เรา" จึงมีโอกาสจะชนะ  5555  เอาล่ะซิ  เริ่มสนุกแล้วเรา 

     รู้เขา ก่อนอื่นก็ต้องทำความรู้จักสนิทสนมคุ้นเคย ว่า

  1. การประกันคุณภาพ คืออะไรกันแน่
  2. ทำไมต้องประกันคุณภาพการศึกษา
  3. ใครเป็นผู้ประกันคุณภาพการศึกษา
  4. ใครเป็นผู้ทวงสิทธิ์ในการประกันคุณภาพการศึกษา

     ในที่สุด ก็ได้รู้แล้วว่า  สิ่งที่ทำนี้ ทำเพื่อ  "ผู้เรียน เพื่อ นิสิต และตอบประชาชนได้ว่า ภาษีที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้คุ้มค่าแค่ไหน ใช้เงิน และเวลาอย่างเต็มประสิทธิภาพหรือยัง"    ซึ่ง นิสิต และประชาชน จะเป็นหลักยึดเหนี่ยวของตัวเองในการทำงานทุกวันนี้  ก็เลยเริ่มที่จะไม่ปฏิเสธ และยินดีทำ แต่ขอทำด้วยความเข้าใจ

      เริ่มตั้งหลัก (เอาวะ)  -->  ช่วงแรกก็ไปกระซิบขอ เจ้าหน้าที่ฝ่ายประกันฯของคณะฯว่า ถ้ามีการจัดงานเกี่ยวกับ การประกันฯ ขอเข้าด้วยคนนะ  แต่ก็ยังไม่ได้รับโอกาสซะที ส่วนใหญ่หนังสือเชิญจะกำหนดชื่อ หรือจำนวน ผู้เข้าร่วมโครงการ ทำให้เราไม่อยู่ในข่ายได้รับเชิญซะที แต่ก็พยายามถามมาเรื่อยๆ อีกปีกว่า ๆ

      เปิดม่านตา  --> จนกระทั่งวันนึง ได้พบกับ  อ.รุจโรจน์  และถูกชวนให้เขียน blog เราก็ งงงง  อะไรคือ blog  แต่เชื่อว่าคงเป็นสิ่งดี อาจารย์ถึงชวนเรา ก็เลยสนใจ ก็เข้าไปสมัคร และเขียนดู  ปรากฎว่า ไปเตะตา อ.วิบูลย์  เข้าให้

     เข้าสู่กระบวนการ  --> และแล้ววันนึง  อ.วิบูลย์ ก็ได้มาบรรยายเกี่ยวกับ QA ที่คณะฯ ก็เลยเรียนอาจารย์โดยตรงด้วยตัวเองว่า "ถ้ามีงานเกี่ยวกับการประกันฯขอเข้าฟังเป็นผู้สังเกตการณ์ด้วยคนนะคะ"  อ.วิบูลย์ ก็เลยชวนกันมาตั้งแต่บัดนั้น 

      ฟ้าใส ในวันฝนพรำ  --> และวันนี้ เริ่มมีความสุขและสนุกกับการทำ "ประกันคุณภาพการศึกษา" ขึ้นแล้ว  เพราะพอจะมองเห็นภาพ ความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยง ระหว่าง   KM <--> QA <--> วิจัย   ลางๆ แล้ว  แต่ก็ยังไม่ค่อยแน่ใจว่าที่คิดนี้ถูกผิดอย่างไร  เป็นความเข้าใจส่วนตัว (โปรดใช้วิจารณญาณในการติชม) 

1. ฝึกทำ KM (คุณอำนวย) 

2. นำผลจาก KM  ---ไปหัดทำรายงานการปฏิบัติงานประจำปี

3. ใช้หลัก PDCA และ Banlancescore card

เป็นแนวการเขียนรายงานเพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการประกันคุณภาพ (เนื่องจากเป็นหน่วยงานย่อย ต้องสร้างตัวชี้วัดเองจึงใช้วิธีสร้างตัวชี้วัดจากการหาความสำเร็จ หรือปัญหาที่ท้าทายให้แก้ไข)

4. และกำลังจากนำผลการประเมินไปต่อยอด

เพื่อหาข้อยืนยันความสำเร็จ หรือทำความสำเร็จให้รุ่งโรจน์ขึ้น 

หรือหาคำตอบให้กับปัญหา 

---ด้วยการ--- ทำวิจัย 

แล้วนำผลวิจัยนั้น  ไปปรับปรุงพัฒนา ได้ต่อๆไป

     ก็ไม่ค่อยมั่นใจในวิธีคิดของตัวเอง แต่จะพยายามนำสิ่งที่เรียนรู้ มาปรับ ประยุกต์ ให้เกิดประโยชน์

     อาจไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องทั้งหมด คงต้องใช้เวลา ประสบการณ์ และกำลังใจ อีกไม่น้อย กว่าสิ่งที่ฝันไว้จะเป็นจริง  คือ 

     สร้างหลักประกันให้ได้ว่า งานที่ทำอยู่นี้ จะสามารถทำให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์ได้มากที่สุดตามที่ผู้เรียนต้องการได้หรือไม่  จะใช้เงินภาษีประชาชน และทรัพยากรธรรมชาติ อย่างคุ้มค่าที่สุดได้แค่ไหน  แม้จะเป็นเพียงเศษเสี้ยวนึงของงานในมหาวิทยาลัย แต่นี่ก็เป็นอุดมการณ์ที่ใช้เตือนตัวเองเสมอมา

คำสำคัญ (Tags): #km#qa#วิจัย
หมายเลขบันทึก: 46029เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2006 19:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
คิดว่า KM <--> QA <--> วิจัย   เป็นกระบวนการทำงานที่ดีมากเพราะมันสอดรับกันอย่างมีประสิทธิภาพอย่างที่คุณแหม่มว่านั่นแหละค่ะ  ถ้าพวกเราชาวมน. หรือสถาบันทั่วไปเลือกนำไปใช้ในการบริหารงาน  ปฏิบัติงาน  ในการเรียน   คิดว่าองค์กรเกิดการพัฒนาแน่นอนค่ะ  และทำให้บุคลากรซึ่งเป็นตัวเรา(บุคคล) หน่วยงาน  มีประสิทธิภาพขึ้นและเกิดการรพัฒนาอย่างแน่นอนค่ะ
วันหน้าจะหาโอกาสพูดคุยเรื่องนี้โดยละเอียดให้ฟังกันอีกครั้งครับ ส่วนวันนี้แนะนำให้ search หาบันทึกของผมที่ชื่อ "นเรศวรวิจัย-QA-KM : DNA" อ่านดูก่อน เชื่อว่าจะทำให้เห็นความเชื่อมโยงและความสำคัญทั้งหมดครับ
จิตตีย์พร ตันติกูล
  • แน่นอนค่ะพี่ต้น มหาวิทยาลัยของเราจะได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคม ได้มากๆ เพิ่มขึ้นต่อไป
  • ขอบพระคุณ คุณครูวิบูลย์ มากค่ะ ที่ช่วยอบรม สั่งสอน ด้วยความปรารถนาจะให้เราเกิดการพัฒนา  ด้วยความตั้งใจ เชื่อใจ จริงใจ และ บริสุทธิ์ใจ อย่างแท้จริง

แก้มแหม่ม

ผมขอความกรุณาท่านผู้รู้ เรื่อง  km ช่วยบอกแหล่งข้อมูลในการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยครับ   อ่านในเว็ปแล้วยังรู้ว่าตนเองไม่กระจ่าง

    ขอบคุณล่วงหน้าครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท