การพัฒนาชุดอยู่ไฟหลังคลอดอเนกประสงค์ ตอนที่ 4


การพัฒนาชุดอยู่ไฟหลังคลอดอเนกประสงค์ ตอนที่ 4

มาถึงตอนที่ 4 ของเรื่องการพัฒนาชุดอยู่ไฟหลังคลอดอเนกประสงค์ซึ่งเจ้าของเรื่องของเราคือ พี่ปราณี จรไกร ครั้งที่แล้ว (ครั้งที่ 3)     เราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันไป ได้รูปแบบของเสื้อ วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการตัดเย็บ ตอนท้ายได้ทำการทบทวนว่าครั้งนี้ เราจะคุยเรื่องอะไรกันบ้าง ก็ได้แก่

1.ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องวิธีการใช้ ข้อควรระวัง
2.ควรทำแบบประเมินสำหรับผู้รับบริการให้ประเมิน
3.ควรแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องแบบตัวอย่างก่อนให้ผู้รับบริการใช้

                       ซึ่งจะมาทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในวันนี้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 3 ในเรื่อง นวัตกรรมอยู่ไฟหลังคลอดอเนกประสงค์ จัดขึ้นวันที่ 20 พ.ค.54 ณ คลินิกแพทย์แผนไทย มีสมาชิกเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้แก่
1.คุณเพิ่มศักดิ์ รุ่งจิรารัตน์ ทำหน้าที่ เป็น Fa
   (วันนี้สลับหน้าที่เพราะชำนาญการทำแบบสอบถาม)
2.คุณปราณี     จรไกร         เป็น Note taker
3.คุณรัตนาพร ศรีไทย        เป็น สมาชิก
4.คุณภนิษา     สมานพันธ์  เป็น สมาชิก
5.คุณทองห่อ   ศรีภูธร        เป็น สมาชิก
6.คุณอาภัสรา ไกรสังข์      เป็น สมาชิก
7.คุณสุชาดา    พวงทิพย์   เป็น สมาชิก
8.คุณภัชรี        สว่างสุข     เป็น สมาชิก
9.คุณญดา       เฉลิมพงษ์  เป็น สมาชิก
10.คุณอัญชรี   คุ้มกัณ       เป็น สมาชิก
11.คุณพรรณอร ชมพูภู่     เป็น สมาชิก
12.คุณศิวพล   สุวรรณบัณฑิต เป็นผู้ถ่ายภาพ
 
                   การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้เริ่มต้น โดย FA คุณเพิ่มศักดิ์ เปิดประเด็นสรุปผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่แล้ว สรุปว่าจะต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องวิธีการใช้ ข้อควรระวัง การสร้างแบบประเมินประสิทธิภาพ และความพึงพอใจ สำหรับผู้รับบริการให้ประเมิน ซึ่งวันนี้เราต้องมาช่วยกันคิดว่า ในแบบสอบถาม ควรถามอะไรบ้างและเราควรวัดอะไร ให้เสนอทีละคน
 
Xมอตั๋ง : ต้องต้องคิดก่อนว่า เราทำนวัตกรรมชิ้นนี้มาเพื่ออะไร อย่างที่เราคุยกันครั้งที่ผ่านๆมา คือ นวัตกรรมนี้ต้อง สะดวก ประหยัด และปลอดภัย เพราะฉะนั้น น่าจะมีคำถามเกี่ยวกับ ความสะดวก ประหยัด และปลอดภัย
 
คุณญดา : พี่ว่านวัตกรรมเรายังไม่มีชื่อเลย ในหัวข้อแบบสอบถามน่าจะมีการลงว่านวัตกรรมชื่อนวัตกรรมเหมาะสมหรือไม่ รูปแบบเป็นยังไง สวยงาม เป็นที่พึงพอใจหรือไม่
 
คุณปราณี : เราทำนวัตกรรมมาแล้วจะประเมินประสิทธิภาพต้องมีการสอบถามประสิทธิภาพด้วยว่า ดีหรือไม่ แล้วประสิทธิภาพเป็นอย่างไร ให้เราระบุไปเลย เพราะบาง ผู้ใช้นึกไม่ออกว่าใช้แล้วจะเกิดอะไรขึ้น และควรมีการถามเรื่อง ความพึงพอใจในภาพรวม
 
คุณอาภัสรา : ควรจะถามในเรื่อง ผลข้างเคียงของนวัตกรรมด้วยว่ามีผลอย่างไร มีอาการแพ้สมุนไพรไหม หรืออาการต่างๆ เช่น เกิดผื่น หรือความร้อนไหม้ หรือทำให้ผิวหนังพอง
 
คุณรัตนาพร : อาการที่ให้ระบุ เช่น ท้องยุบลงไหม อาการปวดเมื่อยลดลงไหม ระบบขับถ่าย ระบบผิวพรรณ อาการแตกลายของหน้าท้องดีขึ้นไหมประมาณนี้
 
คุณภัชรี : เราก็แยกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งก็ถามในเรื่องรูปแบบและลักษณะทั่วไปของนวัตกรรม อีกส่วนก็ถามผลข้างเคียง อาจจะทำให้ไม่สับสนในการคิดเกณฑ์ ดี ดีมาก พอใช้ ตามที่เคยเห็น
 
คุณสุชาดา : ความเห็นหรือ ข้อเสนอแนะของนวัตกรรมน่าจะมีด้วย
 
คุณพรรณอร : ยังขาดในเรื่อง เต้านมคัดตึง น้ำนมไหลน้อยไหลมาก
 
คุณเพิ่มศักดิ์ : สรุปว่าแบบสอบถามของเราจะแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนที่หนึ่งจะสอบถามเกี่ยวกับลักษณะทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นชื่อ รูปแบบ ความสะดวก ประหยัด และปลอดภัย ส่วนที่สองจะเป็นเรื่องผลข้างเคียงหรือประสิทธิภาพที่ได้จากการใช้นวัตกรรม เกณฑ์ให้คะแนนจะแบ่งอย่างไรเพราะดูแล้วส่วนที่หนึ่งกะส่วนที่สองน่าจะตอบไม่เหมือนกัน
 
Xมอตั๋ง: ในด้านรูปแบบ น่าจะใช้เกณฑ์ ดีเยี่ยม ดี พอใช้ และควรปรับปรุง และด้านอาการข้างเคียงมันเกี่ยวกับการเกิดน่าจะเป็น ใช่ ไม่ใช่ หรือไม่แน่ใจ เห็นด้วยกันหรือไม่
 
คุณภนิษา : เห็นด้วยแบบนั้น ตามเหตุผลที่ให้สมเหตุสมผลดี
 
คุณเพิ่มศักดิ์ : สรุปว่าเกณฑ์ของรูปแบบจะมี 4 เกณฑ์ คือ ดีเยี่ยม ดี พอใช้ และควรปรับปรุง ส่วนอาการหรือผลข้างเคียงประสิทธิภาพต่างๆ จะใช้ 3 เกณฑ์คือ ใช่ ไม่แน่ใจ และ ไม่ใช่ แล้วเราก็ได้แบบสอบถามออกมาแล้ว เรื่องที่สองของเราคือการคิดคู่มือของนวัตกรรมและวิธีการใช้ หรือต้องมีอะไรบ้าง
 
Xมอตั๋ง: ต้องมีปกคู่มือ ภายในประกอบด้วยรูปนวัตกรรม วิธีการใช้และข้อควรระวัง คุณปราณี : ผลการของการใช้นวัตกรรม มีผลอย่างไรบ้างเพื่อที่จะได้ไปอิงกะแบบสอบถาม คุณทองห่อ : ข้อควรระวังและข้อแนะนำการใช้
 
คุณญดา : ส่วนประกอบของเสื้อว่ามีอะไรบ้าง เช่น เสื้อ ถุงสมุนไพร ถุงเกลือ และวิธีใช้ของแต่ละอย่างเช่น ถุงสมุนไพรทำยังไง ถุงเกลือต้องทำอย่างไร
 
คุณภัชรี : และในข้อควรระวังควรกำหนดด้วยว่า การประคบหรือใช้แต่ส่วนกี่นาที หรือชั่วโมง เนื่องจาก เต้านม หน้าท้อง และหลัง หรือบ่า อาจจะไม่เท่ากันต้องระบุให้แน่นอน
 
คุณภนิษา : วิธีการเก็บรักษา ของแต่ละชิ้น
 
คุณรัตนาพร : การทำความสะอาด น่าจะเป็นส่วนหนึ่ง
 
คุณเพิ่มศักดิ์ : คู่มือของเราต้องประกอบไปด้วย ปกคู่มือ รูปนวัตกรรม อุปกรณ์แต่ละชิ้น วิธีการใช้ ข้อควรระวัง คำแนะนำ การกำหนดเวลาการใช้ การเก็บรักษา และการทำความสะอาด และที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ นวัตกรรมนี้น่าจะอยู่ในช่วงทดลองใช้ โดยต้องให้ผู้รับบริการทดลองรูปแบบเพื่อปรับปรุงในส่วนที่ไม่ดี ไม่คิดมูลค่ากับผู้รับบริการ โดยจะใช้สวัสดิการของงาน และงบจากผู้สนับสนุนที่มีให้งานเรา หากรูปแบบนวัตกรรมออกมาดีแล้วค่อยทำจำหน่ายกัน
 
 
 
สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ดังนี้
 
 

 
 
ทบทวนระหว่างทำกิจกรรม DAR 3
1. เมื่อให้ผู้รับบริการใช้แล้วควรติดตามผลเป็นระยะ
2. มีการวางแผนในการติดตามผล
3. จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับประสิทธิภาพ ผลข้างเคียง ของนวัตกรรมหลังจากผู้รับบริการใช้
 
 ตัวอย่างแบบสอบถาม

 
หมายเลขบันทึก: 459942เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2011 20:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอชื่นชมคะ การบันทึกงานลักษณะนี้ ให้ประโยชน์มาก

ทั้งเรื่องเล่า ผ่านการสนทนา

และการสรุปเป็น mind map

จะมาติดตามเรียนรู้การแพทย์ผสมผสานต่อไปคะ :-)

* ยังไม่ได้อยู่ไฟ

* มาศึกษาก่อนจ้า..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท