การพัฒนาชุดอยู่ไฟหลังคลอดอเนกประสงค์ ตอนที่ 3


การพัฒนาชุดอยู่ไฟหลังคลอดอเนกประสงค์ ตอนที่ 3
 มาถึงตอนที่ 3 ของเรื่องการพัฒนาชุดอยุ่ไฟหลังคลอดอเนกประสงค์
 
            ซึ่งเจ้าของเรื่องของเราคือ พี่ปราณี จรไกร ครั้งที่ 2 เราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันไปเพื่อวางแผนและสรุปได้ว่า การที่จะพัฒนาชุดอยู่ไฟขึ้นมานั้นต้องประกอบด้วยองค์ประกอบในหลายๆด้านไม่ใช่เพียงเป็นนวัตกรรมแค่เพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นตัวนวัตกรรม การควบคุมคุณภาพ การใช้ ข้อดี ข้อควรระวัง รวมถึงการประชาสัมพันธ์ต้องทำควบคู่ด้วยจะทำให้นวัตกรรมนั้นเป็นนวัตกรรมที่ยอดเยี่ยม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่แล้วได้ให้การบ้านทุกคนไปศึกษานวัตกรรม จะทำอย่างไรให้นวัตกรรมที่คัดเลือกมาทั้งหมดเป็นนวัตกรรมที่อเนกประสงค์ โดยนวัตกรรมนั้นต้องมีประโยชน์ในการใช้อยู่ไฟหลังคลอดด้วยตนเองได้ ให้เป็นการบ้านสำหรับทุกคนคิด ออกแบบ ค้นคว้า ค้นหา หรือสอบถามจากผู้ที่มีประสบการณ์ เพื่อมาทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครั้งนี้
 
                        

        การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 2 ในเรื่อง นวัตกรรมอยู่ไฟหลังคลอดอเนกประสงค์ จัดขึ้นวันที่ 22 เม.ย.54 ณ คลินิกแพทย์แผนไทย ซึ่งมีเข้าร่วมประชุมคือ
1.คุณปราณี จรไกร ทำหน้าที่ เป็น Fa
2.คุณเพิ่มศักดิ์ รุ่งจิรารัตน์ เป็น Note taker
 3.คุณรัตนาพร ศรีไทย เป็น สมาชิก
4.คุณภนิษา สมานพันธ์ เป็น สมาชิก
5.คุณทองห่อ ศรีภูธร เป็น สมาชิก
6.คุณอาภัสรา ไกรสังข์ เป็น สมาชิก
7.คุณอรทัย ทิพย์ศิริ เป็น สมาชิก
8.คุณสุชาดา พวงทิพย์ เป็น สมาชิก
9.คุณภัชรี สว่างสุข เป็น สมาชิก
10.คุณญดา เฉลิมพงษ์ เป็น สมาชิก
11.ปรียาดา ปลดทุกข์สิ้น เป็น สมาชิก
12.คุณอัญชรี คุ้มกัณ เป็น สมาชิก
13.คุณพรรณอร ชมพูภู่ เป็น สมาชิก
14.คุณสุกัญญา เมฆแสน เป็น สมาชิก(แขกรับเชิญ)
15.คุณศิวพล สุวรรณบัณฑิต เป็นผู้ถ่ายภาพ
 
                          การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้เริ่มต้น พี่ปราณีเริ่มเปิดประเด็นสรุปผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่แล้ว ให้เป็นการบ้านไปศึกษาออกแบบนวัตกรรม หรือศึกษาจากแหล่งอื่นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และผลิตนวัตกรรมให้เป็นของศูนย์อนามัยที่ 8 โดยกระผมเองเป็นคนเสนอคนแรกดังนี้
 
หมอตั๋ง : ได้ไปศึกษาข้อมูลและวิจัยมาคร่าวๆ เกี่ยวกับนวัตกรรมอยู่ไฟ ก็ได้มาหลายที่ เช่น ที่เชียงใหม่ จะใช้ก้นที่นึ่งข้าวเหนียวมาบุฟองน้ำและพันผ้า และนำมาใช้ชุบน้ำร้อนประคบเต้านม หรือมีอีกที่หนึ่งเค้าจะใช้เชือกมาขดๆ ให้เป็นวงกลม จากนั้นเอาไปเข้าไมโครเวฟ แล้วนำมาประคบเต้านมโดยมีผ้ารอง หรือบางที่เค้าใช้ข้าวสารใส่ อบแล้วมาประคบเต้านม ที่จะเสนอคือ ทำอย่างไรให้นวัตกรรมไม่ซ้ำหรือเหมือนกับที่เค้าเคยทำมากัน เพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นนวัตกรรมของเราไม่ลอกแบบจากใคร
 

 คุณภนิษา สมานพันธ์ : พี่ขอแนวคิดการใช้สมุนไพร เพราะงานเราคือแพทย์แผนไทย ควรจะใช้อะไรที่เป็นไทยๆอย่างเช่นสมุนไพร อาจจะดัดแปลงง่ายๆจากลูกประคบ มาทำเป็นที่ประคบนมก็ได้
 

 
คุณสุกัญญา เมฆแสน   (พนักงานตัดเย็บ เป็นแขกรับเชิญในครั้งนี้) : ถ้าเราจะเย็บเสื้อเองควรจะเลือกผ้าด้วย เพราะผ้าบางชนิดก็ไม่เหมาะมาทำเสื้อเปิดเต้า ผ้าบางชนิดตัดเย็บแล้วเวลาซักแล้วไม่คงสภาพหรืออ่อนไป แข็งไป ต้องเลือกดีๆ

 

คุณปรียาดา ปลดทุกข์สิ้น : พี่ว่าน่าจะเป็นผ้าฝ้าย เพราะนิ่ม จะทำให้ความร้อนกระจายตัวได้เร็วและอีกอย่างทำความสะอาดง่าย
 

คุณอัญชรี คุ้มกัณ : คิดว่าน่าจะเป็นผ้าลายด้วย เพราะถ้าผ้าขาวไปอาจจะเชย ไม่น่าสนใจ นวัตกรรมควรจะเด่นที่รูปแบบและสีสันหากรูปแบบดีสีสันไม่มีก็ไม่น่าสนใจ เช่น ตอนนี้กำลังนิยมลายไหน ก็น่าจะเอาผ้าลายนั้นตามกระแสนิยม
 
 
คุณภัชรี สว่างสุข : พี่ก็คิดว่าผ้าลายก็ดีและเราควรดูด้วยเพราะเราจะใส่สมุนไพร ผ้าบางสีอาจจะไม่เข้ากับสมุนไพร สมุนไพรอาจจะทำให้ผ้าเลอะไม่สวย ถ้าจะดีเราควรเลือกผ้าให้สีโทนเดียวกับสีของสมุนไพร เช่น สีเหลือง สีส้ม หรือสีแดง เพราะสมุนไพรที่เราใช้คือพวกไพล ขมิ้น จะมีสีที่เลอะได้

ทองห่อ ศรีภูธร : ก็ถ้าจะให้ประคบหน้าท้องด้วยเราก็ตัดเพิ่มลงมา ให้เป็นคล้ายๆเสื้อในเต็มตัว ที่คลุมหน้าท้องด้วยแล้วเราก็ใส่สมุนไพรตรงหน้าท้อง ด้วยก็จะทำให้ครบ
 

คุณสุชาดา พวงทิพย์ : บางครั้งคนที่มาอยู่ไฟมีบอกว่าส่วนมากจะมีอาการปวดหลังด้วย ถ้าเราจะเพิ่มช่องใส่ซองสมุนไพรไปตรงด้านหลังด้วยก็จะดี

คุณอาภัสรา ไกรสังข์ : เราอาจจะทำแค่ตรงหลังเพิ่มไปอีกสัก 1-2 ซองสมุนไพร และการติดเสื้อในอาจจะต้องใช้การผูกเพราะว่าการผูกจะทำให้สามารถใช้ได้กับทุกคน อย่างเสื้อในยังมีหลายไซส์ เพราะฉะนั้นการผูกจะทำให้นวัตกรรมเราเป็นแบบฟรีไซส์ หรือสามารถใส่ได้ทุกคน
 
หมอตั๋ง : ผมคิดว่านวัตกรรมที่เค้ามีอยู่แล้วอย่างเช่นคาดไฟหลวง เค้าจะใช้ถ่านสมุนไพร จุดใส่กล่อง ซึ่งจะทำให้ความร้อนอยุ่ได้นานประมาณสองถึงสามชั่วโมง แต่นวัตกรรมของเราเป็นการใช้ซองสมุนไพรซึ่งอาจจะนึ่งหรือเข้าไมโครเวฟ ซึ่งความร้อนอาจจะอยุ่ได้ถึง ครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง ความร้อนอาจจะอยู่ได้ไม่นานแล้วเราจะมีวิธีการอย่างไร
 
คุณพรรณอร ชมพูภู่ : อย่างที่เคยเห็นมาที่ รพสต.เค้าจะให้ถั่วเขียวใส่ถุงผ้าให้คนไข้บีบเล่นบริหารมือ หรือใช้เข้าไมโครเวฟแล้วประคบตามที่ปวดเมื่อยและความก็อยู่ได้นานน่าจะนำมาใส่ด้วย
 

คุณรัตนาพร ศรีไทย : แต่พี่ว่าถ้าถั่วเขียวเวลาเราเอามานึ่งพอโดนน้ำสมุนไพรที่ใช้ประคบแล้วมันจะเปื่อยและอยู่ได้ไม่นาน พี่คิดว่าน่าจะใช้เป็นพวกเกลือสรรพคุณของเกลือคือเป็นตัวเก็บความร้อนอย่างดีและช่วยทำให้สมุนไพรซึมเข้าผิวหนังได้ดี
 

คุณเพิ่มศักดิ์ รุ่งจิรารัตน์ : แล้วที่พี่ๆบอกกันว่าจะใช้สมุนไพรมาใส่ซองแล้วใส่ในเสื้ออีกทีหนึ่งพี่จะนำสมุนไพรตัวไหนมาใส่บ้าง แล้วทำไมถึงเอามาใส่
 

คุณญดา เฉลิมพงษ์ : ก็เป็นสมุนไพรทั้งหมดที่เราใช้ทำลูกประคบ ที่หาได้ง่ายตามท้องถิ่นราคาถูกและมีสรรพคุณที่ดี อย่างเช่น ไพล ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ตะไคร้ ผิวมะกรูด การบูร พิมเสน ใบมะขาม
 

คุณปราณี จรไกร : แล้วเราจะใช้สมุนไพรแบบไหน เพราะบางครั้งก็ต้องดูด้วยว่าสมุนไพรแบบไหนดีกว่า แห้งหรือสด เพราะบางครั้งการใช้แต่ละอย่างก็ไม่เหมือนกัน คุณภัชรี สว่างสุข : ข้อดีของการใช้สมุนไพรแห้งคือ เก็บไว้ได้นาน สะดวก และไม่เลอะ แต่ข้อเสียคือ สมุนไพรไม่สดฤทธิ์การรักษาอาจจะน้อยกว่า
 
 คุณปรียาดา ปลดทุกข์สิ้น : สมุนไพรสดรักษาได้ดีกว่า เก็บไว้ได้ประมาณ 1 สัปดาห์ หากเก็บรักษาดีๆก็อาจจะได้ 1 - 2 เดือน ซึ่งดูแล้วการใช้สมุนไพรสด การอยู่ได้นาน อยู่ไม่นานอาจจะไม่ใช้ปัญหาหากเราเก็บรักษาไว้ดี
 
หมอตั๋ง : อีกอย่างสมุนไพรสดยังมี Essensial oil หรือน้ำมันหอมระเหยซึ่งช่วยในเรื่องของระบบหายใจและรักษาอาการปวดหรือคัดตึงได้ดี
 
คุณเพิ่มศักดิ์ รุ่งจิรารัตน์ : น่าจะทำทั้งสองอย่างให้ผู้รับบริการเลือกว่าจะใช้แบบไหนเพราะดูแล้วแต่ละอย่างก็มีข้อดีทั้งนั้น
 

คุณสุกัญญา เมฆแสน : ส่วนแบบก็ได้สรุปกันออกมาแล้วแต่ผ้าพี่ว่าอาจจะใช้เศษผ้าทดลองตัดแบบตัวอย่างออกมาก่อนแล้วมาคุยกันอีกทีว่าพอใจกับแบบนี้หรือไม่ ควรจะแก้ไขตรงไหน น่าจะเป็นครั้งหน้า
 
 
สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นMine mapping  ได้ดังนี้
 
DAR 2 ทบทวนความรู้ระหว่างกิจกรรม ครั้งที่ 2
1.ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องวิธีการใช้ ข้อควรระวัง
2.ควรทำแบบประเมินสำหรับผู้รับบริการให้ประเมิน
3.ควรแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องแบบตัวอย่างก่อนให้ผู้รับบริการใช้
 
จบตอนที่  3  แล้วนะครับ   ยังไงก็ขอบคุณสำหรับผุ้ที่ติดตามมาตลอด หากมีข้อเสนอแนะโปรดแนะนำได้ครับผม  แล้วเจอกันอีกตอนที่ 4ครับ
 
 
หมายเลขบันทึก: 459940เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2011 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 15:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท