การพัฒนาชุดอยู่ไฟหลังคลอดอเนกประสงค์ ตอนที่ 2


การพัฒนาชุดอยู่ไฟหลังคลอดอเนกประสงค์ ตอนที่ 2

ตอนที่ 2 ของเรื่อง  การพัฒนาชุดอยุ่ไฟหลังคลอดอเนกประสงค์

    ซึ่งเจ้าของเรื่องของเราคือ พี่ปราณี จรไกร งานส่งเสริมสุขภาพ(แพทย์แผนไทย)

ครั้งที่แล้ว ได้นำเสนอในเรื่องการ ทบทวนก่อนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดความรู้ให้เป็นหมวดหมู่ การแสวงหาความรู้และการจัดตั้งทีมงานในการทำงานแล้วนั้น
                 ครั้งนี้ การนำเสนอการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1 วันที่ 18 มี.ค.54 สถานที่ คลินิกแพทย์แผนไทย   ซึ่งมีผู้เข้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมด 9 ท่าน ประกอบไปด้วย
 
1.คุณปราณี จรไกร               ทำหน้าที่ เป็น Fa
2.คุณเพิ่มศักดิ์ รุ่งจิรารัตน์       เป็น สมาชิก
3.คุณณฐอร เชื่อมชิต            เป็น Note taker
4.คุณสมจิตร พิว                  เป็น สมาชิก
5.คุณหัสพร ใจฉ่ำ                เป็น สมาชิก
6.คุณอาภัสรา ไกรสังข์         เป็น สมาชิก
7.คุณอรทัย ทิพย์ศิริ             เป็น สมาชิก
8.คุณรัตนาพร ศรีไทย          เป็น สมาชิก
9.คุณศิวพล สุวรรณบัณฑิต   เป็นผู้ถ่าย
 

 เริ่มต้นโดย Fa ของเรา คือคุณปราณี เปิดประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยย้อนถึงการทบทวนครั้งที่แล้ว สรุปได้ว่า ปัญหาผุ้รับบริการน้อย ส่วนมากเกิดจาก ไม่สะดวกในการเดินทางมารับการอยู่ไฟหลังคลอดด้วยตนเอง เพราะฉะนั้นจึงต้องมาร่วมมือแนวคิดว่า ควรจะทำอะไร หรือผลิตอะไรที่เป็นนวัตกรรมทดแทนการให้บริการที่โรงพยาบาลและผู้รับบริการสามารถนำไปใช้ได้ง่าย สะดวก และปลอดภัย โดยให้แต่ละคนนำเสนอความคิดเห็นส่วนตัว โดยเริ่มทีละคน และสรุปผลเป็นข้อๆและถอดบทเรียนได้ดัง Mine mapping

สิ่งที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1 สามารถสรุป ได้ว่า การที่จะพัฒนาชุดอยู่ไฟขึ้นมานั้นต้องประกอบด้วยองค์ประกอบในหลายๆด้านไม่ใช่เพียงเป็นนวัตกรรมแค่เพียงอย่างเดียว ซึ่งสามารถสรุปเป็นข้อๆได้ดังนี้
 
1.การสร้างนวัตกรรม เช่น เสื้อประคบเต้านม เข็มขัดอยู่ไฟ หมอนอเนกประสงค์ สายรัดบรรเทาอาการปวด และกระโจมอเนกประสงค์ ซึ่งเราตัดในหัวข้อ กระโจมออกเนื่องจากคิดว่าน่าจะเอามารวมกับนวัตกรรมอเนกประสงค์ได้ยาก ที่เหลือคือ เสื้อ เข็มขัด หมอน และสายรัดบรรเทาอาการปวด น่าจะนำมารวมเป็นชิ้นเดียวกันได้
 
 
2.คู่มือการใช้ ซึ่งประกอบด้วย ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอยู่ไฟ ประโยชน์ของนวัตกรรม ข้อจำกัดหรือข้อห้ามและข้อควรระวังในการใช้นวัตกรรม
 
3.อุปกรณ์เสริม ในที่นี้เราจะคิดหาอุปกร์ในการเสริมนวัตกรรม เช่น ซองใส่สมุนไพรเอาไว้เปลี่ยนเพื่อให้ใช้งานได้หลายครั้ง
 
4.มีการติดตามประเมินผลการใช้นวัตกรรม โดยใช้แบบประเมินด้านสุขภาพเก็บข้อมูล และมีอุปกรณ์ช่วย
 
5.มีการควบคุมคุณภาพ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และค่าใช้จ่าย
 
6.ควรมีการประชาสัมพันธ์หลายๆทาง เช่น การแนะนำตัวต่อตัว การจัดบอร์ดความรู้ เว็บไซต์ Internet เสียงตามสาย รายการวิทยุหรืออาจจะทำเป็นเอกสารให้ความรู้
การทบทวนหลังการทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1 (DAR1)
การคัดเลือกหัวข้อที่สำคัญ 1 หัวข้อ ในหัวข้อเรื่อง นวัตกรรม จะทำอย่างไรให้นวัตกรรมที่คัดเลือกมาทั้งหมดเป็นนวัตกรรมที่อเนกประสงค์ โดยนวัตกรรมนั้นต้องมีประโยชน์ในการใช้อยู่ไฟหลังคลอดด้วยตนเองได้ ให้เป็นการบ้านสำหรับทุกคนคิด ออกแบบ ค้นคว้า ค้นหา หรือสอบถามจากผู้ที่มีประสบการณ์ เพื่อมาทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครั้งต่อไป
 
สำหรับตอนที่ 2 การพัฒนาชุดอยู่ไฟหลังคลอดอเนกประสงค์ ในหัวข้อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1 ก็จบลงไปแล้ว ขอขอบคุณสำหรับผู้ที่ติดตามในตอนที่ 2 นี้ และสามารถร่วมแสดงความคิดได้นะครับว่าควรจะมีอะไรเพิ่มเติมเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อให้คุณแม่หลังคลอดมีสุขภาพที่ดีขึ้น
 
____________________________________Xมอตั๋J__________________
หมายเลขบันทึก: 459939เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2011 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 20:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท