การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามี ส่วนร่วมฯ


สร้างพลังขับเคลื่อนชุมชน ด้วย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ผล การดำเนินงานการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมฯ ประจำปี 2554

ในปีงบประมาณ พ.ศ.2554 กระบวนงานคลินิกเทคโนโลยี ได้รับเลือกให้เป็นกระบวนงานในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมฯ โดยใช้ประเด็นความต้องการที่เกิดจากช่องทางการประชุมเชิงปฏิบัติการบูรณาการ งานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม กับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ครั้งที่ 1 ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์และสุรินทร์) เมื่อวันที่ 16 - 18 มกราคม 2554 ณ จังหวัดบุรีรัมย์ เรื่อง "การย้อมสีไหมจากวัสดุธรรมชาติ"
สำนัก ส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 710,000 บาท เพื่อให้ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ จำนวน 4 ครั้ง ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และชัยภูมิ ดำเนินการโดยคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และจังหวัดบุรีรัมย์ ดำเนินการโดยคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มีผลการดำเนินงานมีดังนี้

ครั้งที่ 1 พื้นที่อำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา


สืบเนื่องจากการเสนอความ ต้องการฯ ของนางนิภาพรรณ เทียมธรรม พัฒนาการอำเภอลำทะเมนชัย ซึ่งกลุ่มทอผ้าในพื้นที่อำเภอลำทะเมนชัย ยังไม่มีพื้นฐานในการย้อมสีผ้า/ไหมจากวัสดุธรรมชาติ และที่ผ่านมามีการย้อมไหม/ผ้าด้วยสีเคมีมาโดยตลอด จึงต้องการเรียนรู้เทคนิค/วิธีการ การย้อมไหมจากสีธรรมชาติไม่ให้สีตก ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย ผศ.ศิริพร หงส์พันธุ์ ร่วมกับ อาจารย์สัญญา พันธุ์ไสว และนางชูศรี คะเรียงรัมย์ ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2554 ณ กลุ่มทอผ้า อำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยมีเจ้าหน้าที่จากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ ในฐานะคณะทำงานการมีส่วนร่วมฯ เข้าร่วมกิจกรรมด้วย
ผู้เข้ารับการการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการย้อมสีไหมจากวัสดุธรรมชาติ ในครั้งนี้ จำนวน 41 คน โดยมีหลักสูตร/เนื้อหาในการถ่ายทอดฯ ดังนี้
1. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพไหม
2. กระบวนการย้อมสี การผสมสี
3. การทำให้สีธรรมชาติติดทน
ซึ่งจากการประเมินผลความพึงพอใจ พบว่า ผู้เข้ารับการถ่ายทอดฯ มีความพึงพอใจเฉลี่ยร้อยละ 96.97 และการนำไปใช้ประโยชน์คิดเป็นร้อยละ 100


ครั้งที่ 2 พื้นที่จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอเมืองและคอนสวรรค์)


สืบ เนื่องจากการเสนอความต้องการ ของกลุ่มทอผ้าในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่
1. นางจุไรรัตน์ เค้านาวัง กลุ่มอาชีพทอผ้าไหมบ้านนาเสียว ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งทางกลุ่มฯ มีการย้อมสีจากวัสดุธรรมชาติ แต่เกิดปัญหาตอนล้างสีจะเปลี่ยนไป คือ สีซีด/ไม่เข้มเหมือนตอนที่ย้อม และเกิดปัญหาในการย้อมแต่ละครั้งจะได้สีไม่เหมือนกัน และแม้ว่าจะใช้สีเดียวกันแต่ความเข้ม/อ่อนจะแตกต่างกัน จึงต้องการเรียนรู้เทคโนโลยีการย้อมไหมจากสีธรรมชาติไม่ให้สีตก และเทคโนโลยีการสาวไหมให้ได้คุณภาพ
2. นางวิไลวรรณ์ ใจเย็น กลุ่มทอผ้ามัดหมี่บ้านยางหวาย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ เนื่องจากทางกลุ่มฯ มีการใช้สีเคมีในการย้อมไหม/ผ้า ยังไม่มีพื้นฐานในการย้อมไหม/ผ้าจากวัสดุธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะทอผ้าด้วยเส้นด้าย/เส้นไหมประดิษฐ์ จึงต้องการเรียนรู้การย้อมเส้นด้าย/เส้นไหมประดิษฐ์ และการย้อมผ้ามัดหมี่ด้วยสีธรรมชาติ
ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย ผศ.ศิริพร หงส์พันธุ์ ร่วมกับ อาจารย์สัญญา พันธุ์ไสว และนางชูศรี คะเรียงรัมย์ ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2554 ณ กลุ่มอาชีพทอผ้าไหมบ้านนาเสียว ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยมีเจ้าหน้าที่จากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในฐานะคณะทำงานการมีส่วนร่วมฯ เข้าร่วมกิจกรรมด้วย
ผู้เข้ารับการการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการย้อมสีไหมจากวัสดุธรรมชาติ ในครั้งนี้ จำนวน 54 คน โดยมีหลักสูตร/เนื้อหาในการถ่ายทอดฯ ดังนี้
1. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพไหม
2. กระบวนการย้อมสี การผสมสี
3. การทำให้สีธรรมชาติติดทน
ซึ่งจากการประเมินผลความพึงพอใจ พบว่า ผู้เข้ารับการถ่ายทอดฯ มีความพึงพอใจเฉลี่ยร้อยละ 83.54 และการนำไปใช้ประโยชน์คิดเป็นร้อยละ 100


ครั้งที่ 3 พื้นที่อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา

สืบเนื่องจากการเสนอความต้องการ ของนางนิยม เทศชารี กลุ่มเกษตรกรบ้านห้วยทราย ตำบลหนองมะนาว อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา โดยทางกลุ่มฯ มีการย้อมสีจากวัสดุธรรมชาติบางส่วน แต่ยังขาดทักษะและความเชี่ยวชาญในเรื่องการย้อมสีไหมจากวัสดุธรรมชาติ จึงต้องการความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีการย้อมไหมจากสีธรรมชาติไม่ ให้สีตก ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย ผศ.ศิริพร หงส์พันธุ์ ร่วมกับ อาจารย์สัญญา พันธุ์ไสว และนางชูศรี คะเรียงรัมย์ ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2554 ณ กลุ่มเกษตรกรบ้านห้วยทราย ตำบลหนองมะนาว อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา โดยมีเจ้าหน้าที่จากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในฐานะคณะทำงานการมีส่วนร่วมฯ เข้าร่วมกิจกรรมด้วย
ผู้เข้ารับการการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการย้อมสีไหมจากวัสดุธรรมชาติ ในครั้งนี้ จำนวน 46 คน โดยมีหลักสูตร/เนื้อหาในการถ่ายทอดฯ ดังนี้
1. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพไหม
2. กระบวนการย้อมสี การผสมสี
3. การทำให้สีธรรมชาติติดทน
ซึ่งจากการประเมินผลความพึงพอใจ พบว่า ผู้เข้ารับการถ่ายทอดฯ มีความพึงพอใจเฉลี่ยร้อยละ 90.83 และการนำไปใช้ประโยชน์คิดเป็นร้อยละ 97.50

 

ครั้งที่ 4 พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอหนองหงส์ ห้วยราช และกระสัง)

สืบเนื่องจากการเสนอความต้องการ ของกลุ่มทอผ้าในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่
1. นางทองพันธุ์ สุปะมา กลุ่มทอผ้าไหมบ้านม่วงเจริญ ตำบลสระทอง อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยทางกลุ่มฯ มีปัญหาเกี่ยวกับผ้า/ไหมที่ย้อมด้วยวัสดุธรรมชาติแล้วเป็นด่าง คือ สีไม่ติดหรือติดไม่สม่ำเสมอ และในการมัดหมี่เวลาที่จะเปลี่ยนสีผ้า/ไหม จากสีหนึ่งเป็นสีอื่น จะย้อมไม่ติด เนื่องจากไม่ทราบวิธีการล้างสีเดิมออกก่อน จึงต้องการเรียนรู้วิธีการย้อมไหมด้วยสีธรรมชาติไม่ให้สีตก และเทคนิคการทอผ้าให้ได้ลายและริมผ้าที่สวย
2. นางบุญมี พลมาศ กลุ่มทอผ้าไหมนายาว-นาอุดม อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยทางกลุ่มฯ มีปัญหาในการย้อมผ้า/ไหมมัดหมี่ ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นสีอื่นได้ เนื่องจากล้างสีเดิมไม่ออก จึงต้องการเรียนรู้เทคนิคการย้อมสีผ้า/ไหมให้สามารถล้างสีตอนมัดหมี่ได้และ ทำให้สีคงที่
3. นางสนั่น เจริญรัมย์ กลุ่ม สมุนไพรสวายเจริญ อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ และนางอรรถยา พิริรัมย์ กลุ่มทอผ้าไหมบ้านตาฮ้อ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยทั้ง 2 กลุ่ม มีปัญหาในการย้อมผ้า/ไหมมัดหมี่ ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นสีอื่นได้ และการย้อมสีจากวัสดุธรรมชาติ เกิดปัญหาตอนล้างสีจะเปลี่ยนไป คือ สีซีด/ไม่เข้มเหมือนตอนที่ย้อม จึงต้องการเรียนรู้เรื่องการฟอกย้อมเส้นไหมด้วยสีธรรมชาติ
ดำเนินการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีโดย ผศ.นันทนัช พิเชษฐวิทย์ และทีมงาน ในวันที่ 20 - 21 สิงหาคม 2554 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีเจ้าหน้าที่จากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และนางนิยม เทศชารี กลุ่มเกษตรกรบ้านห้วยทราย ตำบลหนองมะนาว อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา ในฐานะคณะทำงานการมีส่วนร่วมฯ เข้าร่วมกิจกรรมด้วย
ผู้เข้ารับการการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการย้อมสีไหมจากวัสดุธรรมชาติ ในครั้งนี้ จำนวน 80 คน โดยหลักสูตร/เนื้อหาในการถ่ายทอดฯ ดังนี้
1. ความรู้ในเรื่องการนำหลักทางวิทยาศาสตร์มาใช้ เช่น การชั่ง ตวง วัด เป็นต้น
2. เทคนิคการฟอกย้อมไหม ได้แก่ การลอกกาวไหมและการฟอกขาวไหม
3. การย้อมสีไหม ได้แก่ การย้อมด้วยสีแอสิค การย้อมด้วยสีธรรมชาติ โดยได้เพิ่มเติมเทคนิคการผสมสี การลอกสี และเทคนิคการย้อมสีไหมไม่ให้ตก ให้ด้วย
4. ตัวอย่างวิธีการย้อมด้วยสีธรรมชาติชนิดต่างๆ ได้แก่ กลีบดอกดาวเรืองแห้ง ใบมะกรูด เปลือกมะพร้าว ใบสบู่แดง โคลนดำ/แดง เปลือกประดู่ เปลือกนนทรี และใบหูกวาง

หมายเลขบันทึก: 459254เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2011 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2015 12:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท