กุญแจไขใจ


 

ชื่อเหมือนเพลงลูกทุ่ง..แต่เป็นเรื่องจริงจังคะ (นี่คือคำเตือน)..
ลูกกุญแจหนึ่งดอก จะมีสองด้าน 
หากหันด้านผิด แม้เป็นลูกกุญแจที่ถูก
ก็ไขไม่เข้า..
คำพูดเพื่อเปิดใจคน ก็เช่นกัน
การกลับเพียงเล็กน้อย 
สามารถทำให้ เปิดได้ หรือ ไม่ได้
****
ครั้งหนึ่ง เมื่อข้าพเจ้าเป็นอาจารย์ใหม่แกะกล่อง
ได้รับคำบัญชาให้ทำหน้าที่รวบรวมคะแนนของทุกวิชาที่ภาคดูแล
บ่ายวันหนึ่ง ขณะนั่งลงคะแนนจากกระดาษลง worksheet
ภายในห้องพัก ที่ไม่มีใครอยู่..นอกจากตัวข้าพเจ้า
...นั่งคิดเวทนาตัวเอง ว่าทำไมเรา ต้องมาทำอะไรแบบนี้หนอ
.. "ทุกข์" กับการรับงานที่ไม่ถนัด ไม่ชอบ..แต่ก็พูดไม่ได้
... ยิ่งคิด ยิ่งหดหู่ ยิ่งลังเลใจ..หรือเราเลือกทางผิด
จนมีอาจารย์อาวุโสกว่า ท่านหนึ่งเข้ามาห้อง
ท่านคงสังเกตเห็นสีหน้าข้าพเจ้า
จึงเดินมานั่ง แล้วถามว่า
" หนูคิดอะไรในใจอยู่หรือ ?"
....
และนั่นคือจุดเปลี่ยน
....
ข้าพเจ้า นั่งคุยกับอาจารย์ท่านนั้น เป็นชั่วโมง
แต่เป็นหนึ่งในชั่วโมงที่มีค่าที่สุดในชีวิต
เมื่อความอึดอัด คับข้อง ที่คุกรุ่นในจิตใจถูกระบายออก
ข้าพเจ้าก็มีเนื้อที่ ในการมองโลกแบบใหม่..
****
ย้อนกลับมาคิดดูอีกที
หากอาจารย์ท่านนั้น ถามข้าพเจ้าว่า
"หนูมีอะไรในใจไหม ?"
ข้าพเจ้าอาจตอบโดยอัตโนมัติวิสัยว่า "ไม่มีอะไรคะ"
บางอย่างสอนให้ข้าพเจ้า เกิดสัญชาตญาณเพื่อความอยู่รอด ในฐานะผู้น้อย..
คือตอบ ในสิ่งที่ "คนอื่นอยากฟัง"  
มากกว่าตอบในสิ่งที่ "ตัวเราอยากบอก" 
การถาม "do you have question"
จึงเปิดใจได้น้อยกว่า "what question do you have"  
                  ภาพจาก  http://www.life-ins.co.uk/
......

ข้าพเจ้า    : "นักศึกษามีอะไรสงสัยไหม"
นักศึกษา   : " ไม่มีครับ/คะ"  ( แต่ตัว question mark ชัดเจนบนใบหน้า)
ข้าพเจ้า    : "อะไรที่เธอกำลังสงสัย "
นักศึกษา   :  " เอ่อ..."
..สงสัย ต้องใช้วิธีสะเดาะกุญแจแทน ซะแล้ว  :-)
.
**************
.
.
เล่าสั้นๆ  แต่อยากฟังความเห็นท่านอื่นเยอะๆ 
วันนี้ "บ่มีแฮง"   ต้องเร่งเตรียมงานส่งคุณครูพรุ่งนี้คะ  
หมายเลขบันทึก: 455974เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2011 04:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 23:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

สวัสดีค่ะอาจารย์

ยินดีที่รู้จักค่ะ

แม้จะใกล้เคียงกันแต่คำถามที่เข้าถึงใจ ทำให้กล้าเล่ากล้าบอกความรู้สึกได้มากกว่า เป็นกุญแจใจจริงๆค่ะ

จากประสบการณ์ในการพูดคุยกับญาติผู้ป่วย พบว่าบ่อยครั้งที่คำถามที่เปิดใจเขาได้มากกว่ากลับเป็นคำถามว่า"เหนื่อยมั้ย"แทนคำถามว่า"รู้สึกอย่างไร"ค่ะ

ชื่นชมอาจารย์หมอที่เก็บประสบการณ์มาถ่ายทอดในแง่มุมดีๆมีประโยชน์ ต่อยอดความคิดได้ดีมากๆค่ะ

เมื่อคืนนั่งดูละครไทยเรื่องหนึ่ง

พระเอกบอกว่า "เพื่อความถูกต้องและดีงาม เราจึงเลือกทำในสิ่งที่ควรทำ มากกว่า เลือกทำในสิ่งที่เราอยากทำ"

ผู้ร้ายนอกจอก็เลยบอกว่า "อืมม จริง"

..........................................................................................................

ข้อสันนิษฐานข้อแรกสำหรับคำตอบของนักศึกษาที่บอกว่า "ไม่มีอะไรสงสัยครับ/ค่ะ"

๑. เราสอนดีที่สุดในโลก เพราะไม่มีสงสัยอะไรเลย

๒. เราสอนไม่รู้เรื่องเลย เพราะไม่รู้จะสงสัยอะไร

๓. เราสอนดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เพราะรู้บ้าง ไม่รู้บ้าง แต่ไม่อยากสงสัยตอนนี้

เด็กไทย เราเป็นคนขี้เกรงใจอาจารย์ ;)...

.............................................................................................................

คุณหมอบางเวลา สามารถรำลึกถึงความหลังครั้งก่อนได้

แสดงว่า การเขียนบันทึกช่วยได้ ?

ความรัก ความศรัทธา สามารถรังสรรค์สิ่งดีดีมากมายนะครับ คงสนุกกับการสะเดาะกุญแจนะครับ

ขอบคุณค่ะ การสนทนาเชิงบวกจะกระตุ้นต่อมความคิดให้แก่ ผู้ถาม และผู้ตอบ อย่างไหลลื่น และสร้างคุณค่ามากมาย เช่น :

หลานชาย : " ป้าครับ ทำอาชีพอะไร จึงจะรวยเร็ว ?

ป้า : " เธอมีความถนัด และมีความสุขที่จะทำอะไร ?

หลานขอลาไปคิดคำตอบทบทวนตัวเอง .. เดี๋ยวนี้เลิกคิดเรื่อง "รวยเร็ว" แล้วค่ะ :)

สวัสดีค่ะ

ใช่เลยค่ะแค่เปลี่ยนคำถามก็จะได้รับคำตอบที่ตรงกับใจ

เข้าท่าดีนะคะที่นำมาเปรียบกับกุญแจ  เพราะกุญแจบางลูกไขเท่าไหร่ก็ไข

ไม่ออก  มันไม่ลงล็อคนี่เอง  บางลูกก็ไขออกอย่างง่ายดายเพียงแค่หยอดน้ำมัน

เพิ่มเล็กน้อย

การใช้คำพูดของคนเรานี่ก็สำคัญนะคะ  แค่ใช้ให้ถูกที่ถูกคนเท่านั้นรับรองงาน

เดินหน้า...ฟันธง

ยินดีที่แวะเข้าไปทักทายและให้กำลังใจกัน....


จากประสบการณ์ในการพูดคุยกับญาติผู้ป่วย  พบว่าบ่อยครั้งที่คำถามที่เปิดใจเขาได้มากกว่ากลับเป็นคำถามว่า"เหนื่อยมั้ย"แทนคำถามว่า"รู้สึกอย่างไร"ค่ะ

สวัสดีคะ คุณพยาบาลใจดี

  • น่าคิดคะ การถามว่า "รู้สึกอย่างไร" เป็นคำถามปลายเปิด ซึ่งโดยหลักการสื่อสารแล้วน่าจะดี แต่การที่ผู้ป่วยอ้ำอึ้ง อาจเพราะกำลังคิดว่า จะตอบอย่างไรหนอ ไม่ให้คุณหมอ คุณพยาบาล เสียกำลังใจ เป็นห่วงเป็นวิตก (คนไข้ไทยน่ารักที่สุดในโลก..:-)
  • พอถามว่า "เหนื่อยมั้ย" นอกจากเป็นการจำกัดคำตอบให้ง่ายขึ้นแล้ว  ยังแสดงออกถึงความห่วงใย เอื้ออาทร ด้วย

"เพื่อความถูกต้องและดีงาม เราจึงเลือกทำในสิ่งที่ควรทำ มากกว่า เลือกทำในสิ่งที่เราอยากทำ"

  • เพิ่งรู้นะเนี่ย ว่าอาจารย์ติดละครกับเขาเหมือนกัน...แต่ พระเอก ก็คือพระเอกคะ ในละคร สิ่งที่ "ควรทำ" มีผู้กำกับบอก แต่ในชีวิตจริง ใครเป็นคนบอกหนอ
  • สำหรับสันนิษฐาน..อืมม์ สำหรับตัวเองสมัยเป็นนักเรียน ตกในข้อ 3 บ่อยที่สุดคะ แต่ไม่ใช่เพราะคุณครูหรอก เพราะ หลับบ้าง ตื่นบ้าง เองต่างหาก

 


เห็นด้วยคะ เมื่อมีความรัก ความศรัทธาในสิ่งใดแล้ว เราก็จะอดทนหาลูกกุญแจ ดอกแล้วดอกเล่า ไขใจคนที่เรารัก/ศรัทธา จนได้ :-)

 " เธอมีความถนัด และมีความสุขที่จะทำอะไร ?

ตัวอย่างคำถามที่พี่ใหญ่ยกมา เป็นบทเรียนที่ดีมากคะ

ใครๆ ก็สบายใจที่จะบอกด้านบวก ของตัวเอง

เอ ได้ความคิดปิ๊ง! ขึ้นมา เราน่าจะหันมาถามนักศึกษาว่า
"เธอรู้อะไร" มากกว่า "มีอะไรสงสัยมั้ย" นะคะ

  • ขอบคุณคะ krugui
  • ติดใจเรื่อง "ตายละ เล็บออกดอก" ของคุณครูจนต้องมาทำภาคต่อ
  • ฮั่นแน่..มีมุกหมอลักษณ์ด้วยนะคะ ;-)

การใช้คำพูดของคนเรานี่ก็สำคัญนะคะ  แค่ใช้ให้ถูกที่ถูกคนเท่านั้นรับรองงานเดินหน้า...ฟันธง

 

พี่หมอคะ

กรณีศึกษานี้ชัดเจนมาก เห็นภาพเลยค่ะ

ไขใจได้จริงๆ นะค่ะ เพราะลักษณะคำถาม ทำให้รู้สึกว่าผู้ถามพร้อมที่รับฟัง คำถามนี้จึงน่าตอบมากค่ะ

"คำถามไขใจที่งดงาม" ^_^

ถ้าเราสามารถมีกุญแจที่ไขใจได้ทุกดวงคงดี

แต่นี่นอกจากมีกุญแจแล้ว

ยังใส่ password อีกด้วย

เลยยากมากที่จะไขใจใคร

แม้กระทั่ง........ใจตัวเอง

บางครั้งคำถาม คำพูด ที่ออกไปมันไม่ได้กรองก่อน

ก็ดีนะครับคุณหมอหากจะพูดจะถามอะไรต้องไขกุญแจก่อน

ขอยืมกุญแจด้วยคน

อุ๊บ!!! ทำกุญแจหล่นหาย....หากุญแจสำรองยังไม่เจอค่ะ.... *^_^*

  • จับประเด็นได้ตรงใจอีกแล้วคะ :-)
  • "มีคำถามอะไรไหม" เราได้ยินประจำ หลังการนำเสนอต่างๆ เป็น routine  
    แต่ "อะไรเป็นคำถามของเธอ" นั่นหมายถึง เรามองเข้าไปในตา พิจารณาภาษากาย ผู้ฟัง ว่ากำลังสงสัย..จึงแตกต่างกันคะ

ยังใส่ password อีกด้วย

ความซับซ้อน แห่งโลกดิจิตอลคะ คุณครู

เป็นกำลังใจให้ถอดรหัส โดยเฉพาะใจตัวเอง ได้ในที่สุดนะคะ

  • ยินดีให้ยืมคะ :-)  
  • เห็นด้วยคะ คำพูด นั้นสำคัญ หากเราสามารถพิจารณา กลั่นกรอง ได้ก่อน ทุกครั้งคงดี
  • มาฝึกสติไปด้วยกันนะคะ

*** กำลังให้นักเรียนฝึกถาม และหาสาเหตุของการไม่อยากถามอยู่พอดีเลยค่ะ

*** คงต้องช่วยกันค้นหาอีกต่อไป

มาแบบมีนัยยะ  "กุญแจสำรอง"  ;-)

 

พี่หมอคะ

คำพูดมันสื่ออะไรได้หลายๆ อย่าง

เพียงแค่ประโยคเดียว ทำให้เราเปิดใจเล่าได้

คุณหมอท่านนั้น ท่านมีเมตตามากเลยนะค่ะ พี่

ใจปิดจึงเลยต้องไข

ถ้าใจมันเปิดโล่งโจ้ง

ไฉนเลยต้องไขให้เหงื่อโพร่ง

ชิมิ ชิมิ อิอิ

เป็นหัวข้อวิจัยการศึกษาที่น่าทำมากเลยคะ

ไม่ทราบว่ามีใครทำบ้างหรือไม่..
บางที ที่คิดว่า เพราะเด็กเกรงใจ อาจมีอะไรลึกๆ กว่านั้น ที่เราปรับนิดหนึ่งก็เข้าล็อคได้ :-)

  • จุดประกายได้น่าคิดเป็นอย่างยิ่งคะ
  • อะไรหนอ ทำให้สังคมเราไม่กล้าที่จะคุยกันอย่างเปิดใจ
  • หากพบ element ต้นเหตุได้ คงไม่ต้องหากุญแจกันเหงื่อตกอย่างทุกวันนี้ :-)

ครั้งก่อนทำหน้าเปล...

ครั้งนั้นถูกเปลี่ยนงานเพราะสุขภาพ มาทำงานเอกสาร

เลิกงานแล้ว ทุกคนกลับบ้านแล้ว

แต่คนแก่คนหนึ่ง ก้มหน้าก้มตา เรียงหน้ากระดาษ เย็บปกเข้าเล่ม.....ด้วยสายพร่ามัว

น้องพยาบาล เวรบ่ายเดินผ่านมา ถามว่า"ทำอะไร..บัง"

กุญแจตอบไปโดยไม่ได้คิด"ว่า รวบเอกสาร วรรณกรรมทางวิชาการ ไว้ใช้งานประชุม HA ในพรุ่งนี้"

ไม่น่าเชื่อ.....น้องพยาบาลไปตามเพื่อนอีกคนมาช่วยทำปกเข้าเล่มเรียบร้อย โดยไม่ต้องร้องขอ

เพราะ ทั้งลูกกุญแจและแม่กุญแจ มีสิ่งที่ทำให้ตรงล็อค

คือ "เห็นแก่ส่วนรวม"..ชื่นชมคะ  อ่านแล้วรู้สึกดีจริงๆ

สวัสดีครับ อาจารย์

กุญแจใจต้องมีไว้ประจำตัวพวกเราทุกคนครับ เพราะถ้าจะเข้าถึงคนได้ต้องเปิดใจเขาก่อนเสมอ เพราะคนส่วนใหญ่ตั้งกำแพงปิดกั้นตัวเองไว้ก่อนเสมอ "กำแพงเมืองจีนว่ายาว ใหญ่ ผ่านยาก เปิดยาก แต่ถ้าเทียบกับกำแพงใจแล้ว สำหรับบางคนยังเปิดและผ่านยากมากกว่ากำแพงเมืองจีนอีกนะครับ"

สมบูรณ์ เงาส่อง

ขอบคุณค่ะพี่สมบูรณ์ แอบมาเห็นทีหลัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท