โสภณ เปียสนิท
นาย โสภณ เปียสนิท ตึ๋ง เปียสนิท

เชิญร่วมประลองปัญญาหาความคิดเห็น "แนะมหาวิทยาลัยรวมหัวสู้รับประชาคมาอาเซียน"


“บัณฑิตของไทยมีจุดอ่อนเรื่องภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งมหาวิทยาลัยเองก็ต้องทำแผนปรังปรุงเรื่องดังกล่าวด้วย

ขอบคุณข้อมูลทั้งหมดจาก.......

ไทยโพสต์ ....19สิงหาคม2554


นายกสมาคมอาเซียน-ไทย-ที่ประชุมสภาคณาจารย์ เห็นพ้องให้มหาวิทยาลัยจับมือกันวางแผนรับมือประชาคมอาเซียน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ ชี้เป้าหมายเร่งด่วน ต้องรีบยกระดับความสามารถภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทย และเรียนรู้ภาษาประเทศเพื่อนบ้านเป็นภาษาที่ 3 ด้วย  


 สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสถาบันบัณฑิตพัฒนศาสตร์ จัดการประชุมวิชาการ ปอมท. ประจำปี พ.ศ.2554 เรื่อง “การเตรียมความพร้อมของอุดมศึกษาไทยกับการปรับตัวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน” โดย ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและพัฒนา (UNCTAD) กล่าวภายหลังการบรรยายพิเศษเรื่อง “ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจโลก อาเซียน และประเทศไทย” ว่า ตนอยากให้สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ของรัฐและเอกชน ร่วมมือกันพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย ให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้น และมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพราะการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจะทำให้เกิดการเปิดกว้างในการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ ทำให้นักลงทุนหันมาลงทุนในอาเซียนเพิ่มขึ้น และจะทำให้กลุ่มอาเซียนมีอำนาจในการต่อรองเจรจาในระดับโลกเพิ่มขึ้น ดังนั้น อยากให้สถานศึกษาต่างๆ ยอมรับการเปิดเสรีเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันในกลุ่มอาเซียน เพื่อจะก้าวสู่มาตรฐานของโลกต่อไป


 คุณหญิงลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ นายกสมาคมอาเซียน-ประเทศไทย กล่าวว่า ตนเห็นด้วยที่จะให้มหาวิทยาลัยมาร่วมมือกันวางแผนเตรียมรับประชาคมอาเซียน แทนการวางแผนเพื่อมาสู้ภายในกันเอง นอกจากนี้แต่ละมหาวิทยาลัยเองก็ต้องดำเนินการตามแผนกลยุทธ์อุดมศึกษา 15 ปี ที่ สกอ.ได้วางไว้อย่างเป็นรูปธรรมด้วย รวมถึงอยากให้แต่ละมหาวิทยาลัยกลับไปดูว่าการผลิตบัณฑิตมีคุณภาพและเพียงพอจะรองรับกับตลาดอาเซียนหรือไม่ และวิเคราะห์ถึงจุดอ่อนจุดแข็งของบัณฑิต เพื่อนำจุดอ่อนไปแก้ไขอย่างจริงจังต่อไป


 “บัณฑิตของไทยมีจุดอ่อนเรื่องภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งมหาวิทยาลัยเองก็ต้องทำแผนปรังปรุงเรื่องดังกล่าวด้วย ไม่ใช่บอกว่าเป็นจุดอ่อนมานานแล้วก็ปล่อยไป เพราะขณะนี้หลายชาติเริ่มส่งเสริมการเรียนภาษาที่ 3 แล้ว ซึ่งก้าวหน้ากว่าเราไปมาก ดังนั้น ดิฉันคิดว่าทางแก้ปัญหาดังกล่าว เราคงจะต้องไปปรับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษกันใหม่ โดยการไม่สอนแบบไวยากรณ์ แต่สอนแบบให้ใช้สื่อสารได้ก่อน” นายกสมาคมอาเซียน-ประเทศไทย กล่าวและว่า นอกจากนี้การจัดหลักสูตรก็ควรมีภาคเอกชนหรือภาคอุตสาหกรรมมาร่วมออกแบบหลักสูตรด้วย เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ ความสามารถตรงกับความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง


 รศ.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในฐานะกรรมการนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 กล่าวว่า มหาวิทยาลัยต้องเป็นหน่วยงานเตรียมความพร้อมให้ดีที่สุดในการเปิดเสรีอาเซียน เพื่อจะผลิตบัณฑิตให้ตรงตามความต้องการของตลาด ซึ่งตนก็มีข้อเสนอให้มหาวิทยาลัยต่อการผลิตบัณฑิตที่เหมาะสมดังนี้ ต้องผลิตบัณฑิตให้มีทักษะที่ดีทั้งภาษา คอมพิวเตอร์ การดำรงชีวิตให้รอด ต้องมีความรู้ในวิชาต่างๆ และที่สำคัญต้องมีทัศนคติที่ดี เพราะจากผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อการประสบความสำคัญในชีวิต อาทิ มีทักษะดี ความรู้ดี และมีทัศนคติดี ก็เกิดประโยชน์ที่แท้จริง หรือให้บัณฑิตเข้าใจว่าการทำงานคือการพัฒนาตน ไม่ใช่ทำงานเพื่อรอรับเงินเดือน เพื่อจะให้บัณฑิตมีกำลังใจและจะได้ตั้งใจทำงานเพิ่มทักษะมากขึ้น ดังนั้น เรื่องการสร้างทัศนคติที่ดีจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญมาก


  “การเรียนภาษาอังกฤษขณะนี้ก็มีความสำคัญมาก เพราะทั่วโลกเริ่มมีการเปิดเรียนออนไลน์ฟรีแล้ว อย่างมหาวิทยาลัยชื่อดังของอังกฤษ ซึ่งได้รับผลตอบรับจากผู้เรียนดีมาก เพียงแต่เด็กไทยอาจยังมีกำแพงกั้นอยู่ เพราะการเรียนดังกล่าวเป็นการเรียนการสอนแบบภาษาอังกฤษ ดังนั้น เราจะต้องฝ่าปัญหาดังกล่าวไปให้ได้ ก็จะทำให้การเรียนรู้เกิดได้รอบโลก นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยควรให้บัณฑิตได้เรียนรู้ภาษาเพื่อนบ้านด้วย อาทิ พม่า ลาว เขมร มันเป็นเรื่องจำเป็น เพราะขณะนี้คนไทยที่รู้ภาษาเพื่อนบ้านอย่างแตกฉานมีจำนวนน้อยมาก ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาได้หากมีการเจรจากัน” รศ.วรากรณ์กล่าว

หมายเลขบันทึก: 455880เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2011 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 19:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

Ico64เรียนคุณมะลิครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจ เป็นรายแรก

เรียนท่าน อจ.ที่เคารพ

- หมอเปิ้นมองหา อจ.ในรูปอยู่ตรงไหน คะ

- เห้นด้วยอย่างยิ่งๆๆๆๆๆ เรื่องภาษา Eng ต้องดีเยี่ยม (ทั้งการ อ่าน + พูด + ฟัง + โดยเฉพาะ การเขียน (ยาก สุด ๆๆๆๆๆๆๆ)

- ฝากแปล 2 คำนะคะ คือ wild-caught และ captive - born ==> OK ไหมคะ?

เรียนท่าน อจ.ที่เคารพ

- หมอเปิ้นมองหา อจ.ในรูปอยู่ตรงไหน คะ

- เห้นด้วยอย่างยิ่งๆๆๆๆๆ เรื่องภาษา Eng ต้องดีเยี่ยม (ทั้งการ อ่าน + พูด + ฟัง + โดยเฉพาะ การเขียน (ยาก สุด ๆๆๆๆๆๆๆ)

- ฝากแปล 2 คำนะคะ คือ wild-caught และ captive - born ==> OK ไหมคะ?

Ico48เรียนคุณหมอเปิ้นครับ

อยู่มุมขวาแถวหน้านะครับภาพล่าง (หาจนเจอจนได้)

คำแปลยากทั้งคู่เลยครับ

ขอแปลทั้งประโยคครับ (คือนำมาให้ดูด้วยครับ จะได้แปลไม่ผิดพลาด)

แต่ขอเดาก่อนนะครับ (verb to dao เดา)

wild-caught ที่จับมาจากธรรมชาติ

captive-born มาจากการเลี้ยง

วันก่อนผมไปสัมมนาเครือข่ายสื่อสร้างสรรค์ภาคกลางตะวันตกมีนักศึกษาต่างประเทศคนหนึ่งมาเรียนรู้ชุมชนที่ตำบลพังตรุ อ.พนมทวนกาญจนบุรี มาได้ไม่กี่เดือนพูดไทยเยอะมาก ทั้งที่เขาบอกว่าภาษาไทยเรายาก เป็นเพราะอะไรครับอาจารย์...

Ico48เรียนหนุ่มเอมครับ

  • ขอตอบแบบง่ายตามความรู้สึก
  • เลยนะครับว่า
  • ตั้งใจ และ ใช้ประโยชน์
  • ครับแค่นี้แหละ
  • หวัดดีจ้ะท่านอาจารย์
  • สมัยเป็นนักเรียน คุณมะเดื่อชอบภาษาอังกฤษนะ
  • แต่เดี๋ยวนี้ A ไปไม่ถึง Z แล้วจ้ะ
  • ก็ยังเสียดายอยู่เหมือนกัน ไม่ได้ต่อเนื่องจ้ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท