การ "เมนท์" กับ คุณธรรม


ขออภัยที่ใช้ภาษาวิบัติ แต่เป็นภาษาจริงในโลก online เมื่อคำว่า "เมนท์" หมายถึง comment
นับวันเรายิ่งหลีกเลี่ยง โลก social network ยากขึ้น..เราสามารถอยู่กับมันได้อย่างสุขภาวะ (กาย ใจ สังคม) ได้หรือไม่ ?
เป็นคำถามที่น่าสนใจ ข้าพเจ้าลองสืบค้น สิ่งที่กล่าวไว้ในพุทธศาสนา เปรียบเทียบกับ หลักการในเวบไซต์ต่างประเทศ แล้วพบลักษณะร่วมกัน


ข้าพเจ้าเป็นคนชอบเดินสะดุดนั่นสะดุดนี่
พอๆ กับสะดุดความคิด กับความเห็นของ ท่าน ผศ.วิไล ในบันทึกนี้  เรื่อง Facebook
เราจะสามารถใช้ Facebook หรือ social network เช่น gotoknow, webboard ต่างๆ เพื่อสร้างเสริมจริยธรรมได้ไหม

สิ่งเหล่านี้ อาจพอเป็นแนวทางได้..

 "กัลยาณมิตรธรรม"    
.
มิตรที่ดี ไม่ได้หมายถึง เพียงเพื่อนร่วมชายคา เพื่อนร่วมงาน คนที่ไม่เคยเห็นตัวจริง ก็เป็นกัลยาณมิตร online ได้ หากมีคุณลักษณะคือ  ที่มา

  1. ปิโย : น่ารัก ในฐานเป็นที่สบายใจและสนิทสนม..
      ->  การเข้ามาทักทาย,มอบดอกไม้หรือกด like,ไต่ถามทุกข์สุข
    .
  2. ครุ : น่าเคารพ ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งใจ และปลอดภัย...
     -> การเข้ามาให้กำลังใจ ให้การสนับสนุนแนวทางที่ถูกต้อง
    .
  3. ภาวนีโย:  น่าเจริญใจ หรือน่ายกย่อง ในฐานทรงคุณ คือ ความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง...
    -> การเข้ามาเพิ่มเติม ในประเด็นที่ตกหล่น แนะนำแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม
    .
  4. วตฺตา จ : รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ คอยให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือน...
    -> การเข้ามาตักเตือนในสิ่งที่ชัดเจนว่าผิด  เช่น เขียนผิด เขียนตกหล่น (ข้าพเจ้าเป็นบ่อยๆ)  อ้างอิงผิดที่ เป็นต้น
    .
  5. วจนกฺขโม อดทนต่อถ้อยคำ รับฟังคำปรึกษาซักถามคำเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์...
    ->  การเข้ามาแสดงความเห็นต่าง ในประเด็นที่ไม่มีอะไรผิดอะไรถูกชัดเจน (controversy)
    ความสุภาพ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับสิ่งที่กล่าวไว้ก่อน หรือเขียนในบล็อกทั้งหมด 
    ขณะเดียวกัน การแสดงความไม่เห็นด้วย มิจำเป็นต้องนำด้วยคำไม่สุภาพ..
    การแสดงความเห็น มอง "ประเด็น" อย่าง "แตกต่าง" ทำให้เกิดการ "แตกหน่อ" ก่อปัญญา
    ต่างจากการวิจารณ์ "ตัวตน"ผู้อื่น อย่าง "แตกคอ" ทำให้เกิด "แตกแยก" ก่อปัญหา
    .
  6. คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา:  แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อน ให้เข้าใจ และให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป
    -> การเข้ามา ซักถาม ประเด็นที่เขียนไว้
        หรือช่วยทวนคำถาม หรือช่วยตอบคำถาม สิ่งที่ผู้อื่นถามไว้
       (ทั้งนี้ข้าพเจ้าคิดว่า ไม่เป็นการเสียมารยาทต่อเจ้าของ blog แต่ไม่ทราบท่านอื่นคิดว่าอย่างไร)
    .
  7. โน จฏฐาเน นิโยชเย : ไม่แนะนำในเรื่องเหลวไหล หรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย...
    -> ข้อนี้ชัดเจนในตัวอยู่แล้วคะ  เท่าที่สังเกต gotoknow ไม่มีปัญหาเรื่องนี้ มีแต่ชวนกันทำงาน ชวนกันช่วยเหลือสังคม

           

ภาพจาก www.blog.webtrendforum.com


The etchics of blog comment

ข้าพเจ้าขอสรุปตัดต่อ ดัดแปลง มาจาก เวบไซต์ของต่างประเทศนี้ ที่กล่าวถึง ลักษณะการแสดงความเห็นใน blog ที่ดี 
ขออนุญาตไม่แปล เพราะคิดว่าคำที่ผู้เขียนเลือกใช้นั้นสื่อความหมาย ได้ใจความดีแล้ว คะ


■“Thank You” is not enough :
  - explaining what exactly “waawed” you about the post?
  - sharing additional tips, links and information relevant to the original post
  - share a personal experience that supports the blog topic…etc.

 ■ Keep it simple :
  -  make it concise as possible, time in online world is so constrain.
  - If you have two additional tips to give on a certain blog post, picture, or video you name it, it’s better to place each of them in a separate comment

 ■ When you beg to differ, do it politely!

- Explained why you disagree with the blog writer’s "opinion" rather than attacking him/her on a "personal" level?!

****

หากถามข้าพเจ้าว่า คิดอย่างไรกับ ความเห็นในบล็อก ..ข้าพเจ้าคิดว่า ทุกความเห็นมีค่า..1 ใน 7 คุณลักษณะของกัลยาณมิตรทั้งสิ้น
โดยเฉพาะในกัลยาณมิตร ข้อ 3,4,5 นั้น เป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าต้องการยิ่ง..เรื่องสั้น ยาว ไม่เป็นปัญหา ขอเพียงมาจากใจจริง..

blog guru ท่านหนึ่งให้ข้อคิดว่า
การ  comment เป็นศิลปะ เป็นสิ่งที่สื่อถึงภาพลักษณ์ และคุณภาพของเราเอง ต่อสาธารณะ..

แล้วคุณละ คิดว่า "เม้นท์" อย่างไร สร้างสุขภาวะ ?

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 455170เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2011 02:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 08:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

ข้าพเจ้าไม่มีข้อใดคัดค้านคุณหมอบางเวลาแม้แต่ข้อเดียว

เพราะท่านได้ใช้ "กัลยาณมิตรธรรม" ได้ถูกต้องแล้ว

มันเป็นเช่นนั้นแล

คงจะมีแต่ "ต่อยอด" ให้มันยืดยาวออกไปอีก

ขณะนี้กำลังอยู่ในความคิดคำนึงของข้าพเจ้าในใจ

ยังมิใคร่ให้คุณหมอบางเวลาได้ยิน

ป.ล. ข้าพเจ้าขอส่งกระดาษคำตอบเปล่า เขียนเพียงแต่ชื่อไว้เท่านั้น ดังนั้น คะแนนตามสภาพจริงของข้าพเจ้าในครั้งนี้ คือ ศูนย์แท้ ;)...

comment ท่านอาจารย์ ล้ำลึกชวนคิด ชวนฉงนอีกแล้ว

ไม่เป็นไรคะ กระดาษเปล่ามีชื่อ ยังพอรอคำตอบได้

การส่งคำตอบไม่มีชื่อ (บัตรสนเท่ห์) น่ากลัวกว่านะคะ

I have only one ethic: be honest!

When I can't be honest - the topic is not worth commenting on.

(There you are. Your 'comments' have drawn comments.)

Hi Khun Sunthorn, glad to have you here.

Yes, being honest (to comment only topics we really want to discuss) would be efficient way to give great comments.

However, it depend on purpose of the blogs.

Some blogs are relationship-oriented, some are task-oriented and some not fall in any category (like mine).

I am not sure the task-oriented style comments will always work in Thai society.

เจ๋งอีกบันทึกแล้วค่ะคุณหมอ เห็นด้วยกับทั้ง ๗ เมนท์ เป็นแรงใจค่ะ

ตอนนี้บ่ค่อยมีเวลา ได้เพียง เมนท์จากใจ ส่งกำลังใจ ให้สุขใจ พอใจ ค่ะ

ชักไม่จะกล้าคอมเม้นท์ซิครับ

กลัวไม่ค่อยจะเป็นศิลปะเท่าใด อิอิ

ดาวได้อ่านบันทึกต่อยอดของอาจารย์เสือ...ติดอกติดใจ เลยต้องขอตามมาอ่านบันทึกต้นตอของหน่อความคิดค่ะอาจารย์หมอ

เห็นด้วยกับทุกข้อความเลยค่ะ

โดยเฉพาะที่ว่า "การ comment เป็นศิลปะ เป็นสิ่งที่สื่อถึงภาพลักษณ์ และคุณภาพของเราเอง ต่อสาธารณะ.."

ดาวเองมองว่า ถ้าหากเม้นท์ด้วยความจริงใจ ย่อมจะสื่อถึงตัวตนของผู้เม้นท์และคุณภาพของตัวเรา แต่หากเม้นท์อย่างเสแสร้งก็นับเป็นอีกหนึ่งศิลปะในการบิดเบือนภาพลักษณ์ของตนเองต่อสาธารณชนเช่นกัน...

ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆ นะคะ อ่านเพลิ่นแล้วยังได้ข้อคิดอีกด้วย ^v^

ขอบคุณค่ะ ทัศนะคติเชิงบวก ทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน คือการเชื่อมร้อยของคุณค่าในสื่อออนไลน์นะคะ พี่ใหญ่เชื่อเช่นนั้น. :)

ใช่คะ การส่งความปรารถนาดี มีเมตตา ส่งผลดีต่อทั้งตนเองและผู้อื่น

เป็นกำลังใจให้คะ

ศิลปะ มองได้หลายมุมมองคะ
โดยเนื้อแท้ของความเห็นนั้น น่าจะหมายถึง ระมัดระวังการใช้คำพูดที่หยายคาย
ก้าวร้าว เพราะสื่อให้รู้ว่าคนที่พูดนั้นเป็นคนอย่างไรคะ 

ขอบคุณคะ และขอบคุณอาจารย์เสือด้วยที่ทำให้มีแขกมาเยี่ยมเพิ่มอีกท่าน

แต่หากเม้นท์อย่างเสแสร้งก็นับเป็นอีกหนึ่งศิลปะในการบิดเบือนภาพลักษณ์ของตนเองต่อสาธารณชนเช่นกัน

น่าคิดนะคะ..

ในสังคมตะวันตก นิยมการแสดงภาพลักษณ์ตัวตนอย่างเปิดเผย เพราะมีค่านิยม "ตัวเราต้องไม่ง้อใคร" -- แต่สังคมตะวันออก มักพยายามสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ให้เป็นที่ยอมรับของคนอื่น -- การเสแสร้ง อาจเป็นสิ่งไม่ดี หากอยู่ในสังคมหนึ่ง แต่อาจจำเป็น ในสังคมหนึ่งก็เป็นได้



เหมือนคำว่า โลกเป็นอย่างไร อยู่ที่เรามองอย่างไร ใช่ไหมคะ :-)

สวัสดีครับคุณหมอ... แม้ไม่นานนักที่ได้แวะมาอ่านบันทึกคุณหมอ ก็ให้รู้สึกว่าคุณหมอมีบันทึกดีๆ มาฝากกัลยาณมิตรอยู่เสมอครับ  ผมชอบประโยชน์นี้มากมายครับ

มิตรที่ดี ไม่ได้หมายถึง เพียงเพื่อนร่วมชายคา เพื่อนร่วมงาน คนที่ไม่เคยเห็นตัวจริง ก็เป็นกัลยาณมิตร online

เพราะบางครั้ง ความเห็นของกัลยาณมิตรที่เราไม่เห็นตัวจริง ก็สามารถเป็นกระจกเงาสะท้อนให้เห็นแง่มุมดีๆ ได้มากมายครับ

ดีใจจังคะ ชอบแนวสะท้อนสังคมที่คุณป่าไม้เลื้อยเขียนเช่นกัน
จะพยายามหาหัวข้อที่ กัลยาณมิตร ช่วยคิดช่วยสะท้อน มาอีกเรื่อยๆ คะ 

การฝึกให้ข้อคิดเห็นเชิงบวก..มาเป็นเวลานาน

 ทำให้เราเปลี่ยนทัศนคติจากลบกลายเป็นบวกได้

ถึงแม้ว่าเราจะบรรจงแต่งถ้อยคำที่เราไปเม้นท์คนอื่น..ในช่วงแรกๆๆก็ตามค่ะ

 

สวัสดีค่ะIco48 ขอเสนออีกมุมมองหนึ่ง...มองว่าความสำคัญน่าจะอยู่ที่blogนะคะ...การเขียนblogควรคำนึงถึงความมีประโยชน์ มีเนื้อหาสาระตามหมวดหมู่ที่ทางblog กำหนดไว้...เข้าใจถูกต้องไหมค่ะ...เมื่อเขียนแล้วก็ต้องเปิดกว้างยอมรับความหลากหลายทางความคิดของผู้อ่านและจะต้องมีมารยาทในการตอบข้อ comment ของผู้อ่านทุกคน...บางครั้งอาจตอบไม่ถูกใจกันก็เป็นเรื่องของประสบการณ์ ค่านิยม ความเชื่อ ความชอบ ของแต่ละคน ...คราวหน้าก็ไม่ต้องเข้าไปอ่านblogนี้อีกต่อไป...ถูกต้องไหมค่ะ...เพราะการตอบเป็นการ feedback เพื่อสื่อสารให้มีความเข้าใจตรงกันในเรื่องนั้นๆ แต่ถ้าไม่ตอบก็แสดงว่าไม่ต้องการ interaction กับผู้อ่านคนนั้น...สรุปคือ เขียนblogไม่ดีคนไม่อ่าน...commentไม่ดีก็ไม่ต้องตอบค่ะ

  • เป็นอีกข้อคิดที่น่าฟังคะ
  • การฝึก (พยายาม) คิด พูด ในแง่บวก 
  • ทำบ่อยๆ เข้า เราก็กลายเป็นคนบวกจริงๆ โดยไม่ต้องคิด ในที่สุด 

ขออภัยที่มาตอบช้าไปนิดคะอาจารย์ เนื่องจากระบบอีเมล์แจ้งแปรปรวนอยู่พักหนึ่ง

เขียนblogไม่ดีคนไม่อ่าน...commentไม่ดีก็ไม่ต้องตอบค่ะ

เฉียบขาดเลยคะ อาจารย์

แต่..แหม..คนที่ comment ก็ถือว่าเขาเสียสละเวลา ถ้าเป็นไปได้ก็ควรพยายามตอบทุกคนอย่างที่อาจารย์ว่าตอนแรกคะ :-)  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท