ทักษะสำหรับอนาคตในบริบทไทย


ขอสรุปว่า "บริบท" ของไทย น่าจะแตกต่างจากต่างประเทศ ไม่มากก็น้อย เราควรนำเฉพาะ "ความจริงเชิงประจักษ์" และ "กระบวนการ" มาทดลองใช้ในประเทศเรา ไม่ควรนำผลการ "วิเคราะห์ สังเคราะห์" ซึ่งมีปัจจัยทาง "บริบท" เข้าไปเกี่ยวข้อง มา "สวม" ให้กับคนไทย เหมือนกับที่ทำกันมา "หลายปี"

ทักษะสำหรับอนาคต (21st century skills) ตามกรอบในหนังสือของ Ballanca & Brandt เป็นผลการ วิเคราะห์ วิพากษ์ สังเคราะห์ จากมุมมองเชิงกว้างในการเปลี่ยนแปลงของโลก  ผมเดาว่า เขาอาจจะมองในมุมการเปลี่ยนแปลงจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ (ทั้งวิทยาศาสตร์กายภาพ ชีวภาพ และวิทยาศาสตร์สังคม) แต่ยังไม่ได้รวมเอามิติของการเปลี่ยนแปลงทางจิตวิญญาณ ซึ่งเปลี่ยนแปลง (เสื่อมลง) อย่างมากเช่นกันในโลกปัจจุบัน ซึ่งผมขอเดาอีกว่า ถ้ามาลองทำ KM กัน โดยปิดรายละเอียดปลีกย่อยของทักษะแต่ละด้านไว้ (ไม่รีบเผยแพร่หรือบอกว่า ทักษะชีวิต ทักษะการเรียนรู้ และทักษะด้านเทคโนโลยี/การสื่อสาร เหล่านี้นั้นประกอบไปด้วยทักษะด้านใดบ้าง) แต่เก็บมาเฉพาะคำถามว่า ถ้าคนไทยหรือเด็กไทยจะเติบโตขึ้นมาในสังคมที่เปลี่ยนไป (ให้ความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงจริงที่เกิดขึ้นและแนวโน้มจากการวิเคราะห์) และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข เอาตัวรอดได้ จะต้องมีทักษะชีวิตด้านใดบ้าง ทักษะการเรียนรู้แบบไหนบ้าง และจะต้องฝึกฝนให้สามารถใช้เทคโนโลยีหรือสื่อสารอย่างไร  โยนคำถามเหล่านี้สู่ "ครูเพื่อศิษย์" ไม่แน่ ผมว่าอาจจะได้ทักษะในแต่ละด้านแตกต่างจากที่ Ballanca & Brandt (B&B) ว่าไว้

เมื่อใดที่ผมเสนอแนวคิดแบบนี้ "จิตใจ" ของผม จะคอยโทษตัวเองเสมอว่า "ก้าวร้าวไปแล้ว อวดดีไปแล้ว เป็นใครมาจากไหน ถึงได้บังอาจไม่เห็นด้วยกับแนวทางหรือวิธีการที่ส่วนใหญ่เห็นว่าดี 

แต่ผมเห็นความไม่สอดคล้องจริงๆ ครับ  วิธีการที่เรา เอาองค์ความรู้ (Explicit K) ของ Ballanca & Brandt มาเรียนกัน แล้ววิเคราะห์ตัวเองว่า เรามีทักษะตามนั้นหรือไม่ หรือทักษะที่เรามีสอดคล้องกับทักษะใดหรือไม่ วิธีแบบนี้ เป็นการเรียนรู้สิ่งใหม่ ด้วยวิธีเดิม คือ รับความรู้จาก"ภายนอก" (หมายถึงนอกบริบทของตนเอง) แล้วนำมาเป็นต้นแบบปรับตัวเองให้เหมือน "ภายนอก" นั้น น่าจะไม่สอดคล้องกับ KM ที่ผมเข้าใจ ปลายทางของวิธีแบบนั้นจะไม่ส่งเสริมความภูมิใจในตนเอง ชุมชนท้องถิ่นตนเอง สวนทางกับ KM ที่จะเสริม "พลัง" และความภาคภูมิใจในตนเอง

เพื่อให้แนวความคิดที่ผมเสนอไว้นี้ชัดเจนมากขึ้น ผมขอยกตัวอย่างให้ชัดขึ้น ถึงแม้ว่าจะออกมาจาก "ฐานคิด" แต่เมื่อนำมาถกเถึยง ก็น่าจะตกผลึกในเชิงปรัชญาการพัฒนาการศึกษาโดยใช้ KM ได้ในอีกทางหนึ่ง

ด้านทักษะการเรียนรู้ B&B บอกว่าประกอบด้วย 1) การคิดเชิงวิพากษ์และแก้ปัญหา 2) ทักษะการสื่อสาร 3) ทักษะการสร้างความร่วมมือ 4) ทักษะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

ไม่แน่ว่า ครูเพื่อศิษย์ไทย อาจจะคิดว่า ทักษะด้านการเรียนรู้น่าจะประกอบด้วย 1) ทักษะการคิดเชิงใคร่ครวญ (คิดด้วยใจที่ใคร่ครวญ คิดโดยแยบคาย ไม่เชื่อง่ายตามหลักกาลามสูตร 10) 2) ทักษะการสื่อสารความจริง ด้วยใจจริง (ถ่ายทอดเฉพาะเรื่องที่เป็นประโยชน์ รู้จักหักห้ามใจสื่อเฉพาะความจริง เพราะตระหนักว่า การเรียนรู้เกิดจากการสื่อสาร หากสื่อสารกันด้วยความจริง ไม่ผิดศีล สังคมดีขึ้น โอกาสที่จะทำให้คนอื่นได้เรียนรู้เฉพาะสิ่งดีๆ มากขึ้น)  3) ทักษะการแบ่งปันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะ ธรรมทาน การสอนให้โดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ 4) ทักษะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (อันนี้อาจเหมือนกัน) และ 5) ทักษะการเรียนรู้ธรรมชาติเชิงประจักษ์ด้วยตนเอง (เจริญสติ ภาวนา เรียนรู้กาย เรียนรู้ใจ จนสามารถเข้าใจความจริงของสรรพสิ่งได้)

ขอสรุปว่า "บริบท" ของไทย น่าจะแตกต่างจากต่างประเทศ ไม่มากก็น้อย เราควรนำเฉพาะ "ความจริงเชิงประจักษ์" และ "กระบวนการ" มาทดลองใช้ในประเทศเรา ไม่ควรนำผลการ "วิเคราะห์ สังเคราะห์" ซึ่งมีปัจจัยทาง "บริบท" เข้าไปเกี่ยวข้อง มา "สวม" ให้กับคนไทย เหมือนกับที่ทำกันมา "หลายปี"

หรือท่านเห็นว่าอย่างไรครับ

หมายเลขบันทึก: 454729เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2011 21:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2013 15:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีครับ อาจารย์  นำเรื่องนี้มาจุดประเด็นทางความคิด  ตอนนี้ ผมยังคิดอะไรไม่ออกครับ  ขอเก็บโจทย์นี้  ไปคิดต่ิอ  ไปหาข้อมูลเพิ่มเติม  ได้ความอย่างไร  จะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

ยินดีที่ได้รู้จักท่านรองฯ มากเลยครับ ขอบคุณที่ให้โอกาสได้เข้าไปแลกเปลี่ยนใน "ครูกัลยาณมิตร" ที่ FB ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท