Basic Qualitative Research 18-21 Jun 2006(วันที่ 2)


"เมื่อใจพร้อม กายก็พร้อม" เพราะเมื่อใจต้องการเรียนรู้ การเรียนรู้ก็ทำให้มีความสุข ขณะเดียวกันถ้าไม่ต้องการเรียนรู้ การเรียนรู้ก็ทำให้เป็นทุกข์ได้เช่นกัน

20 Jun 2006

     เช้าวันที่ 2 ของการอบรม เป็นเช้าที่มีความตื่นตัวและต้องการเรียนรู้มาก ตื่นแต่เช้าลงมาทานอาหารเช้าที่ชั้น 1 อาหารอร่อยมาก โดยเฉพาะอาหารประเภทปลา และขนมปังที่ทางศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาล "บ้านผู้หว่าน"ทำเอง 

1. Basic Communication

Rapport คือการสร้างความสัมพันธ์เชิงสนิท ไว้วางใจได้ ประกอบด้วย

  • การต้อนรับ(Greeting)
  • ถามเพื่อทักทาย(Small talk)
  • นั่งฉาก(Squarely)มองเห็นแต่ไม่เผชิญหน้า แต่ก็เห็นหน้า สบายใจ
  •   ท่าทีของผู้นำการสนทนา ดูเปิดเผย จริงใจ(Open)
  • Lean+Movement (Body+Facial) แสดงความเปิดเผย จริงใจ และความใส่ใจ โดยการโน้มตัวไปข้างหน้าบ้าง และแสดงสีหน้าท่าทางประกอบการฟัง
  • สบตา(Eye contract)
  • Relax ท่าทีผู้นำการสนทนา สบาย ๆ แสดงโดยภาษากาย น้ำเสียง การแต่งกาย

Active Listening ฟังอย่างตั้งใจ ให้รับรู้สาระ และความรู้สึกของเขาด้วย

  • สื่อสารสองทาง
  • ตั้งใจฟังเนื้อหาสาระ อารมณ์ ความหมายที่แท้จริง มีสมาธิ
  • NO bias ไม่มีเงื่อนไข/อคติ

การให้กำลังใจ แสดงความสนใจ เข้าใจสิ่งที่เขาพูด และสนับสนุนให้รับรู้ว่าเขาเป็นที่เข้าใจ และได้รับการยอมรับจากเรา

การเงียบ ช่วงเวลาที่คู่สนทนาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเงียบ ไม่มีการสื่อสารด้วยวาจา แต่มีความหมายที่รับรู้ได้

การสะท้อน (Reflection)การให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้เขาเข้าใจความรู้สึกของเขาในเรื่องนั้น

การทวนซ้ำ (paraphrasing)พูดในสิ่งที่เขาพูดโดยไม่เปลี่ยนแปลงภาษา ไม่ใส่ความเห็นหรือตีความ เพื่อกระตุ้นให้พูดถึงความคิดของเขา สื่อความในใจ ตรวจสอบสิ่งที่ได้ยิน

การถาม เน้นการถามคำถามปลายเปิด แต่สามารถกระตุ้นให้ผู้ตอบสื่อสารให้เข้าใจยิ่งขึ้นได้ทุกชนิดของคำถาม เช่น คำถามปิด คำถามเปิด+คำถามปิด คำถามชี้นำ คำถามเชิงตัดสิน เป็นต้น

การสรุปความ รวบรวมประเด็นที่เกิดจากการสนทนาเป็นคำพูดที่ได้ใจความสำคัญ ทั้งเนื้อหา และความรู้สึก

แกะรอย(Tracking) ติดตามข้อมูลและเนื้อหาของเขา และแสดงความเข้าใจในเรื่องของเขาอย่างมีเป้าหมาย

ล้วงข้อมูล ความ(ในใจ) (Prob) เมื่อรู้สึกว่าคำตอบขาดประเด็นสำคัญ ขาดบางประเด็นหรือไม่สมบูรณ์

การสังเกต การใส่ใจเพื่อทำความเข้าใจคู่สนทนาด้วยการสังเกตกิริยาท่าทาง คำพูด ภาษาที่ใช้

Field Notes บันทึกข้อมูลดิบเชิงคุณภาพในสนามการวิจัย ซึ่งเขียนด้วยลายมือ format การบันทึก ต้องทำความเข้าใจและตกลงกับทีมงานทั้งหมด ก่อนการเก็บข้อมูล 

การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth interview) เป็นการสนทนาอย่างมีเป้าหมายและต้องใช้เทคนิค

อาจารย์ทวีศักดิ์ ได้สาธิตการทำ IDI กับพี่สาวผู้ร่วมอบรมที่มาจากจังหวัดหนองบัวลำภูให้ทั้งห้องดู ทั้ง ๆ ที่ฉันลงความเห็นแล้วว่า บุคคลิกของอาจารย์ก็ดูเครียด บรรยากาศก็ไม่เป็นส่วนตัว ไม่น่าจะได้อะไรมากนัก แต่ผิดคาด อาจารย์สามารถล้วงความในใจลงไปถึงเรื่องค่าตอบแทน และปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการ ทั้ง ๆ พี่สาวไม่ได้ตั้งใจจะพูด แต่ด้วยเทคนิคและกระบวนการที่มีคุณภาพทำให้เล่าออกมาทั้งหมด

การฝึกสัมภาษณ์กันเอง

การทำ FGD (Focus Group Discussion)

เป็นการเก็บข้อมูลที่ไม่ใช่การสัมภาษณ์ แต่ผู้เก็บข้อมูลเป็นผู้โยนคำถามเข้าใส่กลุ่ม เป็นผู้ทำหน้าที่ให้เขาไปมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในระหว่างการโยนคำถามเข้าใส่กลุ่มว่ามีความเห็นด้วย(pro)หรือเห็นขัดแย้ง(con)อย่างไร ที่นั่งจัดเป็นวงกลมเสมอ  facilitatorจะอยู่ในวงเดียวกันเพื่อไม่ให้มีความแตกต่าง ควรมีของขบเคี้ยวช่วยสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย

ทั้งสามคนต้องทำงานเป็นทีม ประกอบด้วย conductor(facilitator) Note taker และ assistant   จำนวนผู้เข้ากลุ่มที่เหมาะสม คือ 6-8 คน

อาจารย์สาธิตการทำ FGD โดยอาจารย์เป็น fac. และสมาชิกในกลุ่มเป็นผู้ตอบคำถาม เทคนิคการถาม และการมี Inter act. ต่อกันของกลุ่มทำให้ได้ข้อมูลที่พรั่งพรูมาก รู้เลยว่าที่ผ่านสิ่งที่เราไม่ค่อยนึกถึงเวลาทำ FGD  คือ การมี Inter act. ต่อกันของกลุ่มนี้เอง

การสังเกต(Observation in Qualitative Research) ประกอบด้วย

  • องค์ประกอบสิ่งแวดล้อม(Setting)
  • การกระทำของแต่ละบุคคล(act)
  • กิจกรรม(Activity)
  • การมีส่วนร่วม(participation)
  • ความสัมพันธ์(relationship)
  • ความหมาย(meaning)

ช่วงบ่ายเป็นการตั้งคำถาม เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลคุณภาพ เป็นการตั้งคำถามกว้าง ๆ ไว้ แต่ให้ครอบคลุมปัญหาการวิจัย

คำถามวิจัย คือ ระบบการทำงานร่วมกับชุมชนและ PCU โดยให้แบ่งกลุ่มฝึกตั้งคำถาม

ผลการทำกลุ่มก็ได้คำถามเหล่านี้ เพื่อเป็นแนวในการลงฝึก Field work ต่อไป จบภาคกลางวันค่ะ อาจารย์นัดสอนต่อ 19.00 น.มีเวลาสำหรับพักผ่อนเล็กน้อยชวนพี่สาวผู้น่ารักจาก สสจ.พิษณุโลก (พี่ช่อทิพย์)เดินชมความสวยงามของสถานที่

อาคารที่พัก

บริเวณกว้างขวาง ร่มรื่น อากาศดีมาก ๆ

ขอถ่ายภาพเป็นที่ระลึกหน่อยนะค่ะ เสียดายจังไม่ได้นำรองเท้าสำหรับใส่วิ่งมา

ภาคค่ำ  ต่อด้วยเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล(Content Analysis) การใช้ตัวย่อ การนำคำและประโยคมาเรียงต่อกันโดยไม่เปลี่ยนแปลงความหมายเดิม

  เลิกเวลา 21.00 น. กว่า ๆ แต่ก็รู้สึกว่าเข้าใจมากขึ้น ไม่รู้สึกเหนื่อยหรือเบื่อเลย ทำให้นึกถึงคำโฆษณาผลิตภัณฑ์ยี่ห้อหนึ่งที่ว่า "เมื่อใจพร้อม กายก็พร้อม" เพราะเมื่อใจต้องการเรียนรู้ การเรียนรู้ก็ทำให้มีความสุข ขณะเดียวกันถ้าไม่ต้องการเรียนรู้ การเรียนรู้ก็ทำให้เป็นทุกข์ได้เช่นกัน

หมายเลขบันทึก: 45402เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2006 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
     รู้สึกดีจังเลยครับ ที่มีคนสนใจงานวิจัยเชิงคุณภาพมากขึ้น แต่ใช่ว่าเชิงปริมาณจะไม่สำคัญนะครับ

ดีใจที่อ้อยเก็บเกี่ยวความรู้มาได้แบบนี้ แต่ต้องฝึกหัดทำด้วยไม่ว่าจะเป็นในการวิจัยหรือกับคนรอบข้าง เราว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับงานของอ้อยและตัวอ้อยเอง เป็นกำลังใจให้เสมอนะ

ได้เข้ามาดู website นี้โดยบังเอิญ ดีใจนะที่มี website ของพยาบาลในลักษณะนี้ ถ้ามีอะไรก็แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท