เมื่อเกษตรกรเป็นนักวิจัย


"อยากทำให้เป็นตัวอย่าง เพราะเราไปดูงานจากที่อื่นๆ เช่นที่โคราชตลอด ทำไมเราคนกำแพงเพชรไม่คิดที่จะนำเอาความรู้ต่างๆ มาทำแล้วให้คนที่อื่นมาดูงานเราบ้าง"...

       ต่อจากบันทึกก่อน เมื่อผมเป็นพ่อสื่อ  ที่ผมได้มีโอกาสนำเกษตรอำเภอและนักส่งเสริมการเกษตรต่างพื้นที่ให้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน  อันเป็นบทบาทหนึ่งของนักส่งเสริมการเกษตรในระดับจังหวัด  หากเรียกตามภาษานักจัดการความรู้เรียกว่าผมทำหน้าที่เป็นคุณอำนวย คอยเชื่อม(ช่างเชื่อม)โยงระหว่างคนกับความรู้ให้เลื่อนไหล  ถ่ายเท  หมุนเกลียวความรู้จากคนสู่คน ผ่านการปฏิบัติ แล้วยกระดับความรู้/สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ตามบริบทและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

           


นักส่งเสริมการเกษตรต่างพื้นที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาดูงานซึ่งกันและกัน

 

          บันทึกนี้ขอนำเสนอแปลงการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกร  ที่เป็นผลงานร่วมกันระหว่างเกษตรกรคือคุณสุชานันท์  จันทร์ปลี และนักส่งเสริมการเกษตรคือคุณสวัลย์  ขาวทอง นักส่งเสริมการเกษตรของสำนักงานเกษตรอำเภอคลองลาน  ที่ได้นำเอาองค์ความรู้เกี่ยวกับการปลูกมันสำปะหลังจากที่ต่างๆ นำมาปฏิบัติ-ทดสอบ/ทดลอง ในพื้นที่การปลูกจริงของเกษตรกร

          หลังจากที่ได้มีการทดลอง แบบลองผิดลองถูกมา 3 ปี จึงได้เชื่อมั่นในองค์ความรู้หรือสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำจริงในพื้นที่  ส่งผลให้ผลผลิตมันสำปะหลังที่ได้สูงขึ้นกว่าเดิม   ถือว่าเป็นตัวอย่างของการพัฒนาคุณภาพการผลิตมันสำปะหลังที่ดีในระดับหนึ่งในเขตพื้นที่ของอำเภอคลองลาน หรือพื้นที่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชรก็ว่าได้

           ต่อจากนี้ไปขอนำเสนอภาพในแปลง  ทีได้บันทึกเมื่อวันที่  26  กรกฏาคม  2554 ที่ผ่านมา


ภาพถ่ายเปรียบเทียบแปลงพี่สุชานันท์(ขวามือ) และแปลงเกษตรกรข้างเคียง (ซ้ายมือ)

 


ระยะปลูกแปลงนี้ ระหว่างต้นประมาณ 1.2 เมตร (ระหว่างแถว 1.5 เมตร)

 


แปลงของเกษตรกรข้างเคียง(และทั่วๆ ไป) ระหว่างต้นไม่น่าจะเกิน .30 เมตร

 

          ผมสอบถามพี่สุชานันท์ เพิ่มเติมว่าทำไมถึงยอมรับและนำองค์ความรู้ต่างๆ จากทางวิชาการมาปฏิบัติ  ได้คำตอบว่า "อยากทำให้เป็นตัวอย่าง เพราะเราไปดูงานจากที่อื่นๆ เช่นที่โคราชตลอด  ทำไมเราคนกำแพงเพชรไม่คิดที่จะนำเอาความรู้ต่างๆ มาทำแล้วให้คนที่อื่นมาดูงานเราบ้าง"...เห็นไหมละแค่คำตอบนี้ก็เห็นชัดเลยว่าเป็นเกษตรกรหัวไวใจสู้จริงๆ ทดสอบทดลองจนคิดว่าความรู้ที่ได้ 3 ปี น่าจะเชื่อถือและมันใจในสิ่งที่ทำมา  สามารถบอกต่อเพื่อให้เกษตรกรคนอื่นๆ นำไปขยายผลได้

 


แปลงนี้อายุ 3 เดือนเศษ

 


ผมลองยืนเทียบดูสูงท่วมหัวก็เป็นอันว่าใช้ได้ (ระหว่างแถว 1.5 เมตร)ต้นเริ่มชิดกันแล้ว

 


แปลงนี่เสียงบ่นว่าถี่ไปนิด เพราะมีปัญหาเรื่องการปรับผานในการยกร่อง

 


ทุกแปลงจะเอี่ยม สะอาด ไม่มีวัชพืชให้รกตา(ใช้แรงคนเก็บ)


ทดสอบพันธุ์ห้วยบง

 


ต้นนี้สำหรับส่งหัวเข้าประกวด

 


นี่ก็เตรียมประกวด

 


ต้นนี้ 4 เดือนกว่า สูงใหญ่มาก

 

          ไม่แปลกใจเลยว่าเมื่อเดือนพฤษภาคม  2554  ที่ผ่านมาหัวมันสำปะหลังของพี่สุชานันท์  จันทร์ปลี เกษตรกรท่านนี้จะชนะเลิศการประกวดมันสำปะหลังหัวใหญ่ในวันเกษตรกรของจังหวัดกำแพงเพชร ปี 2554  (ต้นเดียวน้ำหักหัว 106  กิโลกรัม) 

          นอกจากนี้แล้วข้างๆ บ้านยังปลูกข้าวแบบธรรมชาติ ไม่ไถแต่หว่านข้าวแล้วฟันหญ้าให้คลุมดิน ตอนนี้ข้าวกำลังเจริญเติบโต หากมีโอกาสจะนำผลที่ได้มาบอกเล่าผ่านบล็อกกันต่อไปนะครับ

 


แปลงปลูกข้าวเลียนแบบธรรมชาติ

 

          เท่าที่สรุปได้จากการสอบถามข้อมูลจากคุณสวัลย์ ขาวทอง นักส่งเสริมการเกษตรและคุณสุชานันท์  เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง  พบว่าหลักการปลูกเพื่อพัฒนาคุณภาพการผลิตมันสำปะหลังของคุณสุชานันท์  มีหลักการโดยย่อๆ คือ

  • เน้นการปรับปรุงบำรุงดินเป็นหลัก

  • ใช้ปุ๋ยชีวภาพคือน้ำหมักจากรกหมู

  • จัดระบบแปลงปลูกโดยใช้ระยะปลูกที่ห่าง ตั้งแต่ 1x1 เมตร ไปจนถึง 1.5x1.2 เมตร หลายรูปแบบ บางอย่างก็ยังอยู่ระหว่างการทดลอง แต่สรุปว่าห่างได้ผลผลิตมากกว่าถี่

  • ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า แต่จะใช้ยาคุมหญ้า ต่อจากนั้นจะใช้การถอนเป็นหลักเพื่อมาทำปุ๋ยหมัก

  • ฯลฯ  คอยติดตามรายละเอียดในบันทึกต่อๆ ไปก็แล้วกันนะครับ

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

สิงห์ป่าสัก  5  สิงหาคม  2554

 

หมายเลขบันทึก: 452475เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2011 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)

ยังน่าติดตามเสมอนะครับ

ต่อไปราคาคงแพงขึ้นกว่านี้มาก


-สวัสดีครับ.

-แวะมาชมไร่มัน...

-วันเกษตรกรปีหน้า สงสัยมันไร่นี้..คงได้เข้าประกวด "มันหัวใหญ่" นะครับ 55555

-การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด....จริง ๆ

-ขอบคุณครับ

 

ตามมาชื่นชมเกษตรกรตัวอย่างครับ 

อย่างนี้ผมจะเรียกว่า ไม่ทำแบบ "ตบหัวแล้วลูบหลัง" 

คือว่าส่วนใหญ่ จะฉีดยาฆ่าหญ้า(ต้นพืชเฉา) แล้วเอาปุ๋ยมาใส่บำรุงต้น 

สวัสดีค่ะ

มาเรียนรู้การดูแลพืช

แบบไม่ใช้ยาฆ่าแมลงค่ะ

ขอบคุณค่ะ

  • มีบันทึกงานวิจัย...ดีใจที่หาเจอเพราะใส่คำสำคัญ R2R
  • หากมีท่านมาช่วยขับเคลื่อนให้เป็นชุมชนนักปฏิบัติ รวมตัวกันเพื่อพูดคุยหารือกันในเครือข่ายนี้...ในการพัฒนางานประจำ
  • ความรู้ยิ่งจะต่อยอดออกไปเป็นประโยชน์ต่อสาธารณมากยิ่งยิ่งขึ้นไป
  • โปรดช่วยใส่คำสำคัญ R2R อีกในบันทึกงานวิจัยที่ท่านเขียนผ่านมาด้วยค่ะ
  • เชิญชวนมาร่วมกิจกรรมนี้ด้วยกันนะคะ
  • ที่ http://www.gotoknow.org/blog/kapoomr2r/452007

 

  • สวัสดีครับ อ.โสภณ เปียสนิท
  • ราคาดีเกษตกรกรก็ชื่นใจ
  • เราก็พลอยดีใจไปด้วย
  • ขอบพระคุณที่แวะมาครับ
  • น้อง เพชรน้ำหนึ่ง
  • เรียนรู้ตลอดชีวิตนะครับ
  • ช่วงไหนว่างจะไปเยี่ยมกลุ่มยุวนะครับ
  • แต่อาทิตย์หน้าไปอยุธยาครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับน้อง ต้นกล้า
  • ตามไปดูทีมเสวนาร่วมกับอาม่าแล้ว
  • ขอชื่นชมครับ
  • วันก่อนแวะไปดูแปลงข้าวที่หนองปิ้งไก่
  • ข้าวกำสวยครับ
  • สวัสดีครับ ศน.ลำดวน
  • แปลงนี้ใช้สารเคมีน้อยมากครับ
  • ผมแวะไปเยี่ยมเขาจะพาเราชมทุกแปลงอย่างมีความสุขครับ
  • ขอบคุณที่แวะมาครีับ
  • สวัสดีครับคุณ ✿อุ้มบุญ ✿
  • มีหลายบันทึกที่ผมยังไม่ได้ใส่
  • เดี๋ยวจะตามไปเพิ่มเติมครับ
  • ยินดีที่ได้ร่วมชุมชนแนวปฏิบัติ R2R ครับ
  • ต่อไปคงเขียนรายละเอียดได้มากขึ้น
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ
  • สวัสดีค่ะ
  • มาอีกครั้งเพื่อให้กำลังใจงานวิจัยค่ะ
  • เป็นวิจัยปฏิบัติการที่คู่ขนานกับการทำงานโดยปกติที่ขอชื่นชมค่ะ
  • สวัสดีครับ ศน.ลำดวน
  • งานที่ทำ R2R มีหลายวงครับ
  • หากเราทำ R2R เองคงไม่ยาก
  • แต่จะสร้างคนให้เข้าใจและทำ R2R อย่างเป็นธรรมชาตินั้นยากพอสมควร
  • เพราะทำด้วยใจ (หาแรงเสริมหนุนยากครับ)
  • ตอนนี้เริ่มเห็นรางๆ แล้วครับว่าคนทำงานเริ่มสร้างความรู้ขึ้นใช้เอง(R2R)
  • แม้จะมีไม่มาก แต่ก็ทำให้งานพัฒนา"คน"ที่ทำมาอย่างยาวนาน
  • ตอนนี้กำลังจะออกผล คงต้องให้กำลังใจและเสริมหนุนกันต่อไป
  • ขอบคุณมากๆ ครับ

*** ชอบเรื่องราวการเกษตรมากค่ะ

*** ขอบคุณที่แบ่งปัน

  • สวัสดีครับ อ.กิติยา เตชะวรรณวุฒิ
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียน
  • สบายดีนะครับ
  • โอกาสต่อไปจะแวะไปทักทายนะครับ
  • ครูเก่า
  • ลำดับเหตุได้ดี
  • เกษตรกรเก่งนะ
  • สวัสดีครับท่าน หนุ่ม ร้อยเกาะ
  • ของดีๆ ในพื้นที่มีเยอะนะครับ
  • ค้นหา แลกเปลี่ยน แบ่งปัน
  • งานก็สนุกนะครับ

เพิ่งมาจากบันทึกที่แล้ว เอ่ยชมคุณต้นกล้าไปด้วยเพราะเป็นคนหนุ่มทำงานจริงใจ มีพลังเหมือนกันกับคุณสิงห์ป่าสัก มาเห็นว่าคุณต้นกล้าก็มาเยี่ยมทักทายกัน ดีใจค่ะ

การทำงานที่ใช้ทั้งใจและกายลงมือทำจริงทำให้ซึ้งในบริบท มองเห็นทั้งปัญหาและทางออกนะคะ เกลียวความรู้หมุนไปได้ไม่รู้จบ

รักษาสุขภาพเพื่อลุยงานต่อไปอย่างเข้มแข็งนะคะ

พี่ครับ มาให้กำลังใจ พอดีงานยุ่งๆๆครับ แต่มีความสุขดีครับ...

สวัสดีค่ะคุณสิงห์

  • คุณยายจะบอกพี่ๆให้ลองทำตามดูนะคะ ขอบคุณมากๆค่ะ
  • สวัสดีครับอาจารย์ คุณนายดอกเตอร์
  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจ
  • ตอนนี้กำลังสนุกครับ
  • ผมก็ตามรอยน้องต้นกล้าไปหลายๆ ที่
  • ส่วนมากผมจะเป็นเกษตรกรหัวไวใจสู้
  • R2R กำลังเห็นภาพชัดขึ้น
  • ค่อยๆ ฉายและติดตามในบันทึกต่อๆ ไปนะครับ
  • สวัสดีครับ อ.ขจิต ฝอยทอง
  • อาจารย์ไปหลายที่ หลายงาน
  • เป็นธรรมดาครับที่จะต้องยุ่งบ้าง
  • อิอิ
  • ขอบคุณที่แวะมาครับ

 

  • สวัสดีครับคุณยายมนัสดา
  • ยังมีความรู้เรื่องมันสำปะหลังอีกนะครับ
  • อย่าลืมติดตาม
  • ขอบคุณที่แวะมาครับ

เยี่ยมเลยค่ะ...กะปุ๋มตามคำสำคัญมาจนเจอคะ

ดีจังเลยค่ะพี่ สิงห์ ป่าสัก  จะได้เป็นปราฏการณ์ R2R ที่ไร้วงจำกัด

พูดกันภาษาเดียวหากแต่ได้องค์ความรู้ที่มีคุณค่ามาแลกเปลี่ยนกัน

ช่วยกันถอดบทเรียนหาคุณค่าจากกระบวนการคิดจนมาเป็นองค์ความรู้

...

กะปุ๋ม

ขออนุญาตแปะไว้หนึ่งบันทึกค่ะ  ความเข้าใจใน R2R

Large_zen_pics_007

สวัสดีครับ

ยังเป็น "คุณอำนวย" เบอร์หนึ่งเสมอมา ..
คิดถึงเรื่องราวชีวิตผมเอง เติบโตมาจากท้องไร่ ท้องนา
ในอดีตปิดเทอมต้องไป "กู้มัน" (ถอนมันสำปะหลัง)  ขุด ดึง ตัด แบกหามขึ้นรถอีแต๋น ไปชั่งขาย ได้เงินมาก็แบ่งๆ กัน

งานหนักมากครับ สวนๆ หนึ่งแบ่งตังค์ได้ร้อยบาทเศษๆ แต่เป็นความสุขอย่างยิ่งใหญ่  เก็บเงินที่ได้ไปซื้อกระเป๋าใบใหม่ไปโรงเรียน

ทุกวันนี้ ไรมันสำปะหลัง แปรสภาพเป็นไร่ยางพาราก็เยอะเลยทีเดียวครับ

 

  • สวัสดีครับ ดร.Ka-Poom
  • ไม่ได้เจอกันนานมาก
  • ยังระลึกถึงเสมอครับ
  • ท่ายชายขอบก็เงียบไป
  • ... R2R ที่ไร้วงจำกัด
  • จะพยายามนำมาบันทึกแลกเปลี่ยนนะครับ
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ
  • สวัสดีครับ อ.แผ่นดิน
  • เดี๋ยวนี้คนปลูกมันค่อยยิ้มได้บ้าง
  • น่าเห็นใจเกษตรกรนะครับ
  • ชีวิตมีแต่ความไม่แน่นอน
  • ผมชอบที่จะทำงานเพื่อให้คนได้ ลปรร.
  • ทำงานแล้วมีความสุข
  • แม้ว่าจะเป็นเพียงจุดเล็กๆ ก็ตาม
  • ขอบคุณที่แวะมานะครับ

 

ค่ะ...พี่ยุทธไม่ได้สนทนานานมากเลยค่ะ

กะปุ๋มก้เพิ่งเจอพี่แอ๊ดเมื่อเดือนที่แล้ว ส่วนคุณชายขอบก็ไม่ได้เจอมาห้าหกปีแล้วค่ะ หายหน้าไปจากวง KM เลยค่ะ

ที่เหลืออยู่นี่ก็ยังคงเหนียวแน่นนะคะ...555

Large_zen_pics_007 

  • สวัสดีครับน้อง Ka-Poom
  • คุณชายขอบล่าสุดเจอกันเมื่องาน g2k ที่หาดใหญ่ปีก่อน
  • โอนไปแป็นอาจารย์ที่ มรภ.สงขลา
  • ขออภัยที่เข้ามาตอบช้าไปหน่อย
  • ขอบคุณที่แวะมาครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท