ผู้นำที่ผมประทับใจ "เติ้งเสี่ยวผิง"


ประเทศจีนภายใต้การนำของเติ้ง เสี่ยวผิง

            ประเทศจีนภายใต้การนำของเติ้ง เสี่ยวผิง ได้ปฏิรูปเศรษฐกิจของจีนจากปลายปี ค.ศ. 1978 ยังผลให้เศรษฐกิจของจีนเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งมีการคาดการณ์ว่าจีนจะมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปในต้นศตวรรษหน้า    ดังนั้น ความสำเร็จของการปฏิรูปเศรษฐกิจจีนโดยนโยบายของ เติ้ง เสี่ยวผิง ครั้งนี้กล่าวได้ว่ามีความสำคัญเท่ากับเป็น"การปฏิวัติครั้งที่สอง" ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน กล่าวคือ การปฏิวัติครั้งที่หนึ่ง ในปี ค.ศ. 1949 เป็นการปฏิวัติของท่านประธานเหมา เจ๋อตุง เป็นการปฏิวัติทางการเมือง แต่การปฏิวัติครั้งที่สองของเติ้ง เสี่ยวผิง ในปี ค.ศ. 1978  เป็นการปฏิวัติทางเศรษฐกิจ การปฏิวัติทั้งสองครั้งนี้ ได้เปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของจีนอย่างมากมายและมีผลกระทบต่อประชาชนทุกคนในประเทศ

          เติ้ง เสี่ยวผิง ได้ริเริ่มปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยศึกษาบทเรียนความล้มเหลวของนโยบายก้าวกระโดดไกล และการปฏิวัติวัฒนธรรมของฝ่ายซ้าย   ซึ่งเป็นการดำเนินนโยบายปฏิรูปก่อนประเทศสหภาพโซเวียตและประเทศสังคมนิยมอื่นๆ ในยุโรปตะวันออก ลักษณะเด่นของการปฏิรูปเศรษฐกิจของเติ้ง เสี่ยวผิง คือ การใช้แรงจูงใจแก่เกษตรและชาวนาในชนบท  การทดลองใช้กลไกการตลาดแบบค่อยเป็นค่อยไปและการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษสำหรับการลงทุนของต่างชาติ  ที่สำคัญคือ พรรคคอมมิวนิสต์จีนยังคงรักษาอำนาจควบคุมทางการเมืองอยู่ในมืออย่างเหนียวแน่น เพื่อที่จะควบคุมนโยบายเศรษฐกิจต่างๆ ให้อยู่ในทิศทางที่รัฐบาลต้องการได้

          การดำเนินนโยบายดังกล่าวข้างต้นนี้  ถ้าพิจารณาโดยผิวเผินอาจคิดว่าเป็นเรื่องไม่ยุ่งยาก แต่ในสภาพความเป็นจริง เติ้ง เสี่ยวผิง และคณะผู้สนับสนุนการปฏิรูปเศรษฐกิจของเขาต้องประสบปัญหาต่างๆ นานัปการในการที่จะผลักดันนโยบายต่างๆ ออกมาได้ หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 8 บท ใน 3 บทแรกได้แสดงให้เห็นแนวความคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนภายหลังการปฏิวัติ  ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรก่อนที่เติ้ง เสี่ยวผิงจะเสนอแนวทางปฏิรูปเศรษฐกิจของเขาให้เป็นที่ยอมรับของสมาชิกพรรคได้สำเร็จ   ได้อธิบายความหมายและ เป้าหมายของพัฒนาเศรษฐกิจตามนโยบายสี่ทันสมัย     และการดำเนินนโยบายต่างประเทศให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาสี่ทันสมัย  ใน  4  บทหลังได้กล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับประเทศอาเซียนทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและการทหาร และเป้าหมายการดำเนินนโยบายต่างประเทศระยะยาวของจีนต่ออาเซียน และวิกฤติการณ์เทียนอันเหมิน จากการศึกษาวิจัยจนกลายมาเป็นหนังสือเล่มนี้ ผู้วิจัยได้พบว่า

เติ้ง เสี่ยวผิง และกลุ่มผู้นำจีนที่สนับสนุนการปฏิรูปนโยบายเศรษฐกิจของเขามีเป้าหมายที่แน่วแน่และสำคัญยิ่งยวดคือ   การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายสี่ทันสมัย เพื่อให้จีนเป็นประเทศที่เจริญก้าวหน้าและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการป้องกันประเทศ ทัดเทียมกับประเทศมหาอำนาจตะวันตกอื่นๆ ให้ได้ภายในระยะเวลา 30-50 ปีข้างหน้า

นโยบายการเมืองและต่างประเทศอื่นๆ  มีความสำคัญรองลงมา ดังนั้น เป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนจึงเป็นนโยบายหลักที่เป็นปัจจัยกำหนดนโยบายอื่นๆ    ให้ต้องปรับปรุงเพื่อตอบสนองเป้าหมายเศรษฐกิจของจีนให้ สำเร็จลุล่วง ดังนั้น ผู้นำจีนจึงต้องการรักษาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองที่ดีกับประเทศอาเซียน และกับประเทศต่างๆ   ทั่วโลกให้ดีและมั่นคงที่สุดเท่าที่จะทำได้  แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบต่ออำนาจอธิปไตย หรือผลประโยชน์ร้ายแรงอื่นๆ ของจีน เช่น ปัญหาชนกลุ่มน้อยในประเทศ ปัญหาพรมแดนและปัญหาเกาะไต้หวัน เป็นต้น ผู้นำจีนได้แก้ไขปัญหาหลายประการที่เคยเป็นอุปสรรคในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ระหว่างจีนกับอาเซียนมาช้านาน เช่นเรื่องปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับพรรคคอมมิวนิสต์ต่างๆ  ในอาเซียน  ปัญหาชาวจีนในโพ้นทะเล และปัญหาความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น

สิ่งที่เกิดขึ้นสมัยเติ้งเสี่ยวผิง
           ประการแรก คือสรุปบทเรียนจากประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่ยุคสาธารณรัฐ และแก้ไขก้าวย่างที่พลาดพลั้งจากการปฏิวัติวัฒนธรรม วิพากษ์แนวคิดและฐานะทางประวัติศาสตร์ของท่านประธานเหมาเจ๋อตงอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
           ประการที่สอง คือสร้างแนวคิดสังคมนิยมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะแบบจีน(ทฤษฎีเติ้งเสี่ยวผิง) เป็นผู้ออกแบบนโยบายปฏิรูปที่นำพาประเทศสู่ความเป็นสังคมนิยมอันทันสมัย


การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงสมัยผู้นำเติ้ง เสี่ยวผิง
- มีการสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ เซินเจิ้น ซัวเถา จูไห่ เซี่ยเหมิน
- มีการใช้หนึ่งประเทศสองระบบ (One Country Two Systems)
- มีเมืองมหานครและตึกระฟ้าอย่างปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กว่างโจว
ผลกระทบในด้านลบคือมีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่กว้างขวาง
ไม่ว่าแมวขาวหรือแมวดำ ขอเพียงจับหนูได้ก็คือแมวที่ดี
          ประโยคยอดนิยมของท่านผู้นำเติ้ง เสี่ยวผิงที่คุ้นหูกันเป็นอย่างดีนี้ ท่านได้กล่าวอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อปีค.ศ.1962 ซึ่งขณะนั้น จีนกำลังประสบกับปัญหาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ และบรรดาผู้บริหารของประเทศต่างระดมความคิดเพื่อแก้วิกฤติที่เกิดขึ้น
          ทัศนะของเติ้ง เสี่ยวผิงขณะนั้นคือ “ในการจะฟื้นคืนอุตสาหกรรมเกษตร     มวลชนจำนวนมากเรียกร้องขอได้รับการจัดสรรพื้นที่ทำกินของตนเอง และผลการสำรวจยังได้สนับสนุนแนวคิดนี้ ซึ่งในช่วงระยะก้าวผ่านของแต่ละยุคสมัย หากวิธีการใดเป็นผลดีแก่อุตสาหกรรมการเกษตร ก็ให้ใช้วิธีการนั้น กล่าวคือ ควรยึดแนวทางการปฏิบัติตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่คิดหรือปฏิบัติกันอย่างสูตรตายตัว”

ปลดปล่อยความคิด ยึดติดความจริง
              ในบรรดาทฤษฎีด้านสังคมนิยมแบบฉบับจีนของเติ้งเสี่ยวผิง “การปลดปล่อยความคิด ยึดติดความจริง” ถือเป็นแก่นแกนความคิดสูงสุด ที่สะท้อนทัศนะการพัฒนาและปรัชญาองค์รวมของเติ้ง
              การจะนำพาประเทศจีนสู่ความทันสมัยนั้น เติ้งมองว่า ต้องก่อเกิดจากความคิดที่ทันสมัยก่อน นั้นคือต้องคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลตามหลักวิทยาศาสตร์ เคารพกฎแห่งการพัฒนาของสรรพสิ่ง ตลอดจนยึดมั่นแนวคิดการพัฒนาที่เป็นจริงเชิงปฏิบัติ เป็นไปอย่างรอบด้าน และมีความเป็นมหาชน

ข้าพเจ้า คือลูกชายของมวลชนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
              คำพูดเรียบง่ายแต่ตรึงใจ สะท้อนถึงความเป็นลูกผู้ชาย ที่เปี่ยมล้นด้วยหัวใจรักชาติ ของอดีตผู้นำรุ่นที่ 2 เติ้งเสี่ยวผิง (ค.ศ.1904-1997) ผู้ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวจีนในศตวรรษนี้ได้สัมผัสกับคำว่า ‘ มั่งคั่งร่ำรวย ’
ประเทศสองระบบ (One Country Two Systems)
              เติ้งเสี่ยวผิงคิดหลักการ  “ 1 ประเทศ 2 ระบบ “ มาใช้แก้ปัญหาการรวบรวมเกาะฮ่องกง อ้าวเหมิน(มาเก๊า) และไต้หวัน โดย 1 ประเทศที่ว่า คือความเป็นจีนเดียวโดยสมบูรณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่บรรพบุรุษชาวจีนต้องสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อพิทักษ์มาตุภูมิไว้ ส่วน 2 ระบบ คือความปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระหว่างการปกครองด้วยระบบสังคมนิยมของแผ่นดินใหญ่ กับระบบทุนนิยมของฮ่องกง อ้าวเหมิน และไต้หวัน ที่ถึงแตกต่าง แต่ก็เป็นชาติเดียวกัน

หมายเลขบันทึก: 452474เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2011 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาเยี่ยมให้กำลังใจในการเรียนรู้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท